
ภาพโดย Emilian Robert Vicol จาก Pixabay
จากการระบาดของไวรัสโควิด – 19 ที่ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 และยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้ส่งผลให้สภาวะเศรษฐกิจไทยมีความแปรผันและไม่มีใครรู้ได้เลยว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้งเมื่อไหร่ จากสถานการณ์โควิด – 19 ที่ผ่านมาส่งผลให้ผู้คนหลากหลายอาชีพต่างต้องพากันตกงานและมีรายได้ลดลงจากเดิม มีผู้คนมากมายหลากหลายอาชีพผันตัวมาเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ทำฟาร์มปศุสัตว์กันอย่างแพร่หลาย เพราะนอกจากจะสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนแล้วยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายทั้งยังเป็นอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากการแปรผันของเศรษฐกิจไทยในครั้งนี้ค่อนข้างน้อย
พูดถึงการทำฟาร์มปศุสัตว์แล้วสุกรก็เป็นอีกหนึ่งสัตว์เศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและช่วยยกระดับเศรษฐกิจไทยได้ดีเลยทีเดียวสุกรเป็นสัตว์กระเพาะเดียวที่เลี้ยงง่ายใช้พื้นที่น้อยสร้างผลกำไรงอกงาม เนื้อสุกรถือว่าเป็นวัตถุดิบอาหารที่เป็นที่นิยมรับประทานกันในหลายๆ ครัวเรือนเกษตรกรสามารถเลี้ยงสุกรได้ทั้งฟาร์มเล็กฟาร์มใหญ่ การเลี้ยงสุกรให้มีผลผลิตเป็นที่ต้องการของท้องตลาดนอกจากมีพ่อแม่พันธุ์ที่ดีแล้วการเลี้ยงดูให้สารอาหารก็เป็นส่วนสำคัญ เกษตรกรต้องศึกษาและรู้ถึงประโยชน์และโทษจากวัตถุดิบและอาหารสัตว์ต่าง ๆ เพื่อให้สุกรในฟาร์มได้รับสารอาหารเต็มที่เหมาะสมกับช่วงอายุและวัย โดยทั่วไปวัตถุดิบ
อาหารสุกร จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
วัตถุดิบที่ให้สารอาหารประเภทพลังงาน วัตถุดิบที่ให้สารอาหารประเภทพลังงานสูง เป็นวัตถุดิบที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบหลักประมาณ 70 – 80 % แต่มีโปรตีนต่ำประมาณ 8 – 1 2 % โดยทั่วไปจะพบสารอาหารประเภทนี้ได้จาก
•
ข้าวโพด มีพลังงานใช้ประโยชน์ในสุกรได้ 3,168 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม มีโปรตีน กรดอะมิโนไลซีนทรฟโคเฟนและเมทไทโอนีนต่ำ ทั้งฟอสฟอรัสสูง
ข้อควรระวัง:ควรเลือกซื้อข้าวโพดที่มีคุณภาพ ไม่มีเชื้อราเพราะเชื้อราจะสร้างอันตรายต่อสัตว์ได้อย่างมาก ส่งผลกระทบต่อตับ ไต ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ รวมถึงระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งอาจทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติได้ •
ปลายข้าว มีพลังงานใช้ประโยชน์ในสุกรได้ 3,596 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม ปลายข้าวประกอบไปด้วยแป้งที่ย่อยง่าย ช่วยให้สัตว์เจริญเติบโตได้ดี
ข้อควรระวัง:ปลายข้าวที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงสัตว์ควรเป็นปลายข้าวที่มีขนาดเล็กและกลางเท่านั้น หากเป็นปลายข้าวขนาดใหญ่จะทำให้สัตว์ย่อยได้ยาก และหากเป็นปลายข้าวเหนียวควรผสมกับวัตถุดิบที่มีเยื่อใยสูง เช่น รำละเอียด ซังข้าวโพด เพราะหากเป็นปลายข้าวเหนียวล้วน ๆจะทำให้สัตว์ย่อยได้ยากมีผลต่อระบบขับถ่าย •
ข้าวเปลือกบด มีพลังงานใช้ประโยชน์ในสุกรได้ 2,360 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม มีเยื่อใยสูงประมาณ 10 %
ข้อควรระวัง:ข้าวเปลือกบดมีเยื่อใยสูง ไม่เหมาะสำหรับใช้ในสูตรอาหารสัตว์เล็ก และไม่ควรใช้ข้าวเปลือกบดใน การผสมสูตรอาหารมากเกินไปเพราะข้าวเปลือกบดมีลักษณะเป็นฝุ่นก่อให้เกิดการระคายเคืองทางเดินอาหาร ทำให้สัตว์กินอาหารได้น้อยลง •
รำละเอียด มีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อน ๆ ควรใช้ในสุกรในระยะเจริญเติบโตและควรใช้ไม่เกิน 30 % ของอาหารสัตว์
ข้อควรระวัง:ควรใช้รำละเอียดไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหารเพราะจะทำให้อาหารมีลักษณะฟ่ามทำให้สัตว์ กินอาหารได้น้อยลงส่งผลต่อการเจริญเติบโต •
ข้าวฟ่าง พลังงานใช้ประโยชน์ในสุกรได้ 3,140 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม
o สุกรเล็กใช้ได้ในระดับ 20 – 30 % ในสูตรอาหาร
o สุกรรุ่นใช้ได้ในระดับ 40 – 60 % ในสูตรอาหาร
o สุกรขุนใช้ได้ในระดับ 60 – 80 % ในสูตรอาหาร
o สุกรพันธุ์ใช้ได้ในระดับ 50 – 70 % ในสูตรอาหาร
ข้อควรระวัง:ข้าวฟ่างมักจะมีสารพิษที่เรียกว่าแทนนิน (Tannin) ซึ่งอาจมีรสขมหรือฝาดส่งผลให้สัตว์กินอาหาร ได้น้อยลง อัตราการเจริญเติบโตลดลง •
มันสำปะหลัง มีแป้งประมาณ 75 – 80 % มีพลังงานใกล้เคียงกับข้าวโพด
ข้อควรระวัง:มันสำปะหลังที่นำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ควรผสมกับโปรตีนจากแหล่งต่าง ๆ เช่น โปรตีนจากกากถั่ว เหลืองและปลาป่น ไม่ควรใช้มันสำปะหลังในปริมาณมากโดยเฉพาะในสูตรอาหารสัตว์เล็ก วัตถุดิบที่ให้สารอาหารประเภทโปรตีน โดยปกติสัตว์ต้องการโปรตีนตลอดเวลา เพื่อสร้างการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างฮอร์โมน เอ็นไซม์ หายใจ ให้พลังงาน และองค์ประกอบเกี่ยวกับการสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ วัตถุดิบที่ให้สารอาหารประเภทโปรตีนได้แก่
•
ปลาป่น มีโปรตีนสูงประมาณ 50 – 60% ขึ้นอยู่กับชนิดของปลาและขั้นตอนการผลิต ไม่ควรใช้ปลาป่นเกิด 10% ของอาหาร
ข้อควรระวัง:ปลาป่นมีราคาค่อนข้างแพงจึงมักมีการเจือปน ทรายละเอียด เปลือกหอยบด ยูเรีย แกลบกุ้ง ดังนั้นการซื้อปลาป่นจึงควรตรวจสอบทุกครั้งและซื้อจากแหล่งผลิตที่ได้คุณภาพ •
แกลบกุ้งหรือเศษกุ้ง มีโปรตีนประมาณ 33 – 37 % มีเกลือในปริมาณค่อนข้างสูง สามารถใช้ในสูตร
อาหารสุกรรุ่นและขุนได้ในปริมาณไม่เกิน 10% ของอาหารสัตว์
ข้อควรระวัง:ไม่ควรใช้แกลบกุ้งในสูตรอาหารมากเกินไปเพราะจะทำให้สัตว์ได้รับแคลเซียมมากเกินไป ส่งผลให้ สัตว์เกิดอาการขับถ่ายเรื้อรัง การเจริญเติบโตลดต่ำลง •
กากถั่วเหลือง อุดมไปด้วยแหล่งโปรตีน มีโปรตีนสูงถึง 34 เปอร์เซ็นต์ และเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูงมีกรดอะมิโนจำเป็น (Essential amino acid) หลายชนิด ช่วยให้สัตว์มีการเจริญเติบโตดี
ข้อควรระวัง:ควรใช้กากถั่วเหลืองที่ได้คุณภาพมีความสดใหม่ไร้สิ่งเจือปน ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน เลือกใช้
วัตถุดิบอาหารสัตว์ และอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพดี ไรสิ่งเจือปนเพื่อการเจริญเติบโตที่ดีของสุกรในฟาร์ม เลี้ยงสุกรให้โตไวสร้างผลกำไรงอกงามสู้เศรษฐกิจไทยที่กำลังแปรผัน