เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาปั้นดินกระดาษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย จุฬาพร ชื่นใจ
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาปั้นดินกระดาษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาปั้นดินกระดาษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาปั้นดินกระดาษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาปั้นดินกระดาษ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาลบูรพาอุบล สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุบลราชธานี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t (t-test Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1 จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปรากฏผลดังนี้
1.1 ผลจากการศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด และมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และเป้าหมายในการพัฒนานักเรียน พบว่า หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกําลังของชาติ ให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสํานึกในความเป็นพลเมืองไทย และเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จําเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุ มาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้นจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ คือ 1) ความสามารถในการสื่อสาร 2) ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา 4) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และ5) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
1.2 ผลการสัมภาษณ์ครูวิชาการ และครูผู้สอนวิชาศิลปะ เกี่ยวกับแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนและเป้าหมายในการพัฒนานักเรียน พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ควรมีลักษณะที่อ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายไม่ซับซ้อน และพัฒนาขึ้นจากแนวคิดทฤษฎีที่หลากหลาย โดยสรุปเป็นแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการสอนที่สามารถสนองความต้องการของผู้เรียน โดยต้องมีการสอบถามความต้องการของผู้เรียน จะทำให้ทราบข้อมูลความต้องการที่แท้จริง เนื้อหาที่สอนควรเป็นเนื้อหาที่เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ทันสมัย กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากรู้ อยากเรียน และผู้เรียนต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในการดำเนินชีวิตประจำวัน และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน คือ ทักษะพิสัย (Psycho-motor domain)
1.3 ผลการสอบถามนักเรียนในด้าน ความต้องการความสนใจเกี่ยวกับเนื้อหาวิชา และความสนใจในวิธีการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ความต้องการความสนใจเกี่ยวกับเนื้อหาวิชา และความสนใจในวิธีการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มี
คะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.70, S.D.=0.57)
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาปั้นดินกระดาษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการ คือ หลักการ เนื้อหา กิจกรรม บทบาทผู้เรียน บทบาทครูผู้สอน และการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วยกิจกรรม 5 ขั้นตอน (PPCSE MODEL) ได้แก่ 1) ขั้นที่ 1 ชี้ปัญหาและระบุปัญหา (Problem Skills) 2) ขั้นที่ 2 การเตรียมและรวบรวมข้อมูล (Preparation and gathering Skills) 3) ขั้นที่ 3 การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking Skills) 4) ขั้นที่ 4 การสังเคราะห์รวบรวมข้อมูล (Synthetic Skills) และ 5) ขั้นที่ 5 การประเมินผล (Evaluation Skills) เมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาปั้นดินกระดาษ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เท่ากับ 86.28/85.90 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาปั้นดินกระดาษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
มีผลสรุปดังนี้
3.1 นักเรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 82.05 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
3.2 นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาปั้นดินกระดาษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาปั้นดินกระดาษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 พบว่า คะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.76, S.D.=0.03)
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาปั้นดินกระดาษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนทั้ง 4 ด้านโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D.=0.45)