ผศ.ณรงค์เดช พัฒนไพบูลย์อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)หัวหน้าโครงการ และคณะทำงานประกอบด้วย ผศ.ณรงค์เดช พัฒนไพบูลย์รศ.สถาพรชาตาคม ผศ.ดร.กิตติภัฎ รัตนจันทร์ผศ.ดร.สุนทร สิทธิสกุลเจริญผศ.วัชระ ลายลักษณ์ผศ.ดร.ศรายุทธ เงินทองผศ.ประมุข เจนกิตติยนต์ และอาจารย์ภาวัช จันทสรต้นแบบปืนเล็กยาวขนาด 5.56มิลลิเมตรเป็นปืนเล็กยาวจู่โจม(Assault Rifle) ระบบการทำงานด้วยแก๊ส
ลูกสูบช่วงชักยาว (Gas-operated Long-stroke piston) ระยะการยิงหวังผลเป็นจุด 550 เมตร ระยะการยิงหวังผลเป็นพื้นที่ 800 เมตรส่วนอายุการใช้งานลำกล้องและเครื่องลั่นไก 20,000 นัดใช้ซองกระสุนความจุ 30 นัดสำหรับกระสุนหัวแข็ง M855 FMJ(Full Metal Jacket) อัตราการยิงต่อเนื่องอัตโนมัติ 600-800 นัด มีรูปแบบการยิง ห้ามไก (Safe) สามารถทำการยิงทีละนัด (Semi-Auto) และยิงแบบอัตโนมัติ(Full-Auto)มีน้ำหนักเบา การใช้งานสามารถถอดประกอบเพื่อบำรุงรักษาในเบื้องต้นได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มิลลิเมตรกระบอกนี้คือผลงานการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก(Army Research and Development Office) กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
ผศ.ณรงค์เดชเล่าให้ฟังว่า การคิดค้นการพัฒนาต้นแบบปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มิลลิเมตรมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร ที่เป็นต้นแบบที่เหมาะกับสรีระ และภารกิจของกองทัพบกไทย และการพัฒนาปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร ต้นแบบที่มีประสิทธิภาพทัดเทียมกับประเทศมหาอำนาจต่างๆที่ผลิตปืนเล็กยาวขนาด 5.56x45 มิลลิเมตร นาโต้ (5.56x45 mm. NATO) จัดเป็นปืนเล็กยาวมาตรฐานประจำกองทัพประเทศในกลุ่มนาโต้ รวมถึงสหรัฐอเมริกา และมีประจำการในกองทัพต่างๆ เกือบทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยที่มีประจำการอยู่ประมาณ 200,000-300,000 กระบอก ปืนเล็กยาวเป็นอาวุธประจำกายของทหารในกองทัพ โดยเฉพาะทหารราบ ซึ่งต้องฝากชีวิตไว้กับปืนเล็กยาวประจำกายในการปฏิบัติการ ไม่ว่าภูมิประเทศ ภูมิอากาศจะเป็นอย่างไร ปืนเล็กยาวประจำกายต้องสามารถปฏิบัติการได้อย่างไม่ขัดข้อง และแน่นอน เพราะความขัดข้องเพียงเล็กน้อยที่เกิดกับปืนเล็กยาวประจำกายนั้นอาจจะหมายถึงชีวิตของทหารที่ฝากชีวิตไว้กับปืนกระบอกนั้น และภารกิจของหน่วยปฏิบัติการเลยทีเดียว
ปัจจุบันกองทัพบกได้มีการจัดซื้อปืนเล็กยาว ขนาด 5.56มิลลิเมตรTAVOR และอะไหล่ในการบำรุงรักษาที่มีราคาสูง จากประเทศอิสราเอล เข้ามาประจำการทดแทนปืนเล็กยาว M16 เดิม ที่หมดอายุการใช้งานไปตามเวลาด้วยงบประมาณของประเทศจำนวนหลายล้านบาท และจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ และการเมืองระหว่างประเทศ ทำให้การจัดหาปืนเล็กยาว เข้าประจำการในกองทัพทำได้ยากซึ่งคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการออกแบบ พัฒนา และผลิตปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร ขึ้นเองภายในประเทศ เพื่อเกียรติภูมิของประเทศชาติที่จะมีปืนเล็กยาวขนาด 5.56มิลลิเมตร ที่ออกแบบ และผลิตขึ้นเองประจำการในกองทัพ เพื่อเพิ่มศักยภาพของกองทัพในการป้องกันราชอาณาจักร และอธิปไตยของประเทศชาติ เสริมสร้างสมรรถนะของกองทัพ
การพัฒนาต้นแบบปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มิลลิเมตร ลักษณะงานวิจัยเป็นแบบวิจัยเชิงทดลองเป็นการศึกษาข้อมูลการยุทธศาสตร์ของทหารไทยและการศึกษาเทคโนโลยีของปืนเล็กยาวแบบต่างๆ ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการลูกกลิ้งหน่วงเวลาถอยหลังระบบปฏิบัติการแบบแก๊ส แบบแก๊ส –ลูกสูบ และแบบสปริงแรงเฉื่อย (Inertia spring) เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ในการออกแบบปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มิลลิเมตร เป็นการออกแบบเบื้องต้นเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบทางเทคนิคของปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร โดยตั้งเป้าหมายในการออกแบบไว้ 2-3 แบบ และคัดเลือกแบบที่เหมาะสมมาทำการพัฒนาประสิทธิภาพและทำการทดสอบการใช้งานภาคสนาม แบบที่ 1การจัดทำข้อมูลสรุป ประกอบด้วย ข้อมูลการออกแบบพิมพ์เขียวของปืนยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร ต้นแบบ แบบพิมพ์เขียวของเครื่องมือที่ใช้ในการผลิต ระบบปฏิบัติการการที่นิยมกันในปืนเล็กยาวมี 3 แบบ ระบบปฏิบัติการที่นิยมในปืนเล็กยาวมีรูปแบบ คือ แบบที่ 1 ใช้แรงสะท้อนถอยหลัง (Recoil)จะใช้แรงสะท้อนถอยหลังของชุดลำกล้องมาดันชุดลูกเลื่อนให้ถอยหลังพร้อมกับทำการคัดปลอกกระสุนทิ้งจากนั้นแรงจากสปริงที่รองรับชุดลูกเลื่อนอยู่จะดันชุดลูกเลื่อนกลับพร้อมกับป้อนกระสุนแบบที่ 2โบลว์แบ็ก (Blowback)จะใช้แรงดันที่แก๊สกระทำต่อปลอกกระสุนให้ปลอกกระสุนดันชุดลูกเลื่อนถอยหลังพร้อมกับทำการคัดปลอกกระสุนทิ้ง จากนั้นแรงจากสปริงที่รองรับชุดลูกเลื่อนอยู่จะดันชุดลูกเลื่อนกลับพร้อมกับป้อนกระสุนแบบที่ 3ปฏิบัติการด้วยแก๊ส (Gas operate) จะใช้แรงดันแก๊สในรังเพลิงมาทำหน้าที่ขับเคลื่อนชุดลูกเลื่อนโดยตรง หรือผ่านชุดลูกสูบ ซึ่งมีการเจาะรูเล็กที่ลำกล้อง เพื่อเอาแก๊สมาใช้ และต้องมีท่อส่งแก๊ส หรือชุดลูกสูบ กลไกแบบนี้มีข้อดีคือรับแรงได้สูงจึงเป็นที่นิยมใช้ในปืนไรเฟิลจู่โจมในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามขั้นตอนการออกแบบอย่างเป็นระบบPahlและ Beitzแบ่งขั้นตอนการออกแบบอย่างเป็นระบบ 4 ขั้นตอน การวางแผนผลิตภัณฑ์ และการศึกษารายละเอียดให้ชัดเจน ขั้นตอนการออกแบบแนวคิด การออกแบบเบื้องต้น และขั้นตอนการดำเนินการออกแบบรายละเอียดต้นแบบปืน สรุปผลจากผลการวิจัย การพัฒนาต้นแบบปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มิลลิเมตร สามารถใช้งานได้จริงตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ มีความแม่นยำอยู่ในระดับ (กลุ่มกระสุนที่ดีที่สุด) 0.7-3 MOA ที่ระยะยิง 50 -100 เมตร ซึ่งความแม่นยำนี้ขึ้นอยู่กับผู้เล็ง กล้องเล็ง และอุปกรณ์จับยึดเป็นสำคัญ
นอกจากนี้แล้ว ได้นำต้นแบบปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มิลลิเมตร ไปแสดงที่กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม กระทรวงกลาโหม ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defense and Security 2019 ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 18-21 พฤศจิกายน 2562 งานมหกรรมการวิจัยด้านยุทโธปกรณ์ สู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เพื่อศักยภาพของกองทัพและการปกป้องประเทศ (Thailand’s Armament and National Defense Research and Industry) ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ จัดโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563
และการนำเสนอผลงานวิจัยต่อ ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงอุดมศึกษาฯ ในโอกาสที่เยี่ยมชมมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา
สอบถามรายละเอียดได้ที่ ผศ.ณรงค์เดช พัฒนไพบูลย์ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) โทรศัพท์.0-2555-2000 ต่อ6406หรือ 096-829-5695