ผลวิจัยล่าสุดเผยบุหรี่คร่าชีวิตผู้คนเกือบ 8 ล้านรายในปี 2019 พบนักสูบหน้าใหม่ถึง 90% ติดบุหรี่เมื่ออายุไม่ถึง 25 ปี
จำนวนผู้สูบบุหรี่ทั่วโลกยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีผู้เสียชีวิตจากบุหรี่เป็นจำนวนเกือบ 8 ล้านรายในปี 2019 หรือคิดเป็นหนึ่งในห้าของผู้ชายทุกคนที่เสียชีวิตนักสูบหน้าใหม่ถึง 90% ติดบุหรี่เมื่ออายุไม่ถึง 25 ปี การป้องกันไม่ให้คนวัยหนุ่มสาวเริ่มสูบบุหรี่จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการเปลี่ยนทิศทางของการลุกลามให้คนรุ่นหลังประเทศต่าง ๆ จำเป็นต้องทำตามพันธสัญญาเพื่อวางกรอบและบังคับใช้นโยบายควบคุมยาสูบ ซึ่งรวมถึงการเพิ่มภาษีผลิตภัณฑ์ยาสูบ โดยการห้ามโฆษณายาสูบ รวมถึงผ่านช่องทางสื่อโซเชียล และส่งเสริมสภาพแวดล้อมไร้บุหรี่นั้น อาจช่วยไม่ให้คนวัยหนุ่มสาวคิดอยากเริ่มสูบได้แม้อัตราความชุกของการสูบบุหรี่เมื่อปรับมาตรฐานอายุทั่วโลกนั้นลดลงอย่างมากในช่วงปี 1990 และ 2019 แต่ไม่พบความคืบหน้าในทางเดียวกันนี้กับยาสูบแบบเคี้ยว โดยในเอเชียใต้นั้นมีอัตราการใช้ยาสูบแบบเคี้ยวเมื่อปรับตามอายุสูงถึง 25% ในกลุ่มผู้ชายอายุมากกว่า 15 ปี
ข้อมูลเจาะแนวโน้มการสูบบุหรี่ทั่วโลกที่ศึกษามาอย่างครอบคลุมที่สุดนั้น ได้ชูให้เห็นผลร้ายมหาศาลในเรื่องของสุขภาพ ปัจจุบัน จำนวนผู้สูบบุหรี่ทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะหลัก 1.1 พันล้านรายในปี 2019 โดยมีผู้เสียชีวิตจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบมากถึง 7.7 ล้านคน หรือคิดเป็นหนึ่งในห้าของผู้ชายทุกคนที่เสียชีวิต
สิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่งคืออัตราการสูบบุหรี่ในกลุ่มคนวัยหนุ่มสาวซึ่งยังคงอยู่ในระดับสูง ประเทศต่าง ๆ กว่าครึ่งหนึ่งทั่วโลกยังไม่มีความคืบหน้าในการลดการสูบบุหรี่ในกลุ่มคนอายุ 15-24 ปี โดยนักสูบหน้าใหม่ถึง 89% ติดบุหรี่เมื่ออายุไม่ถึง 25 ปี การป้องกันไม่ให้คนวัยหนุ่มสาวติดสารนิโคตินในช่วงเวลาสำคัญเช่นนี้ จะเป็นสิ่งสำคัญในการกำจัดการใช้ยาสูบในหมู่คนรุ่นหลัง
ผลการศึกษาใหม่ 3 ฉบับที่เผยแพร่ในวารสาร The Lancet และ The Lancet Public Health โดยองค์กร Global Burden of Disease ซึ่งนำโดยสถาบัน Institute for Health Metrics and Evaluation นั้น ใช้ข้อมูลจากการสำรวจที่เป็นตัวแทนระดับประเทศ 3,625 รายการ รายงานเหล่านี้ให้ตัวเลขประเมินอัตราความชุกของการสูบบุหรี่ทั่วโลก ครอบคลุม 204 ประเทศในกลุ่มชายและหญิงอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งรวมถึงอายุที่เริ่มสูบ โรคที่เกี่ยวข้อง และความเสี่ยงทั้งกับผู้ที่ยังสูบอยู่และเลิกสูบไปแล้ว เช่นเดียวกับการวิเคราะห์แนวโน้มในการใช้ยาสูบแบบเคี้ยวทั่วโลกที่มีขึ้นเป็นครั้งแรก
รายงานวิจัยดังกล่าวได้เผยแพร่ก่อนที่จะถึงวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคมนี้ โดยผู้เขียนรายงานได้เรียกร้องให้ทุกประเทศ เร่งวางกรอบและบังคับใช้นโยบายที่มีหลักฐานรองรับอย่างครอบคลุม เพื่อลดความชุกของการใช้ยาสูบและป้องกันไม่ให้มีคนคิดอยากเริ่มสูบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนวัยหนุ่มสาวและวัยรุ่น
ศาสตราจารย์ Emmanuela Gakidou ผู้นิพนธ์หลักประจำสถาบัน Institute for Health Metrics and Evaluation (IHME) ในสังกัดมหาวิทยาลัยวอชิงตัน กล่าวว่า [1] "การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่คุกคามสุขภาพของผู้คนทั่วโลก ทว่าหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกยังไม่มีการควบคุมยาสูบอย่างเพียงพอ การที่หลาย ๆ ประเทศมีความชุกในการสูบบุหรี่ค่อนข้างสูงในกลุ่มวัยรุ่น ขณะที่ยังคงมีผลิตภัณฑ์ยาสูบและนิโคตินใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องนั้น แสดงให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการยกระดับการควบคุมยาสูบอีกเท่าตัว หากคน ๆ หนึ่งไม่ติดการสูบบุหรี่เป็นประจำภายในอายุ 25 ปีนั้น คนเหล่านั้นก็ไม่น่าจะกลายเป็นผู้สูบบุหรี่ สิ่งนี้แสดงให้เห็นโอกาสสำคัญในการเข้าแทรกแซง เพื่อป้องกันไม่ให้วัยรุ่นคิดเริ่มสูบบุหรี่และช่วยให้พวกเขามีสุขภาพดีขึ้นตลอดทั้งชีวิตที่เหลือ"