เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอเนื้อหาและโฆษณา คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม‘นโยบายคุกกี้’ และ ‘นโยบายความเป็นส่วนตัว’
เรื่องล่าสุดของหมวด
2 วัน 1 คืน เที่ยวเกาะหมากแบบ Low Carbon กินซาซิมิปลาย่ำสวาท ชมธรรมชาติทะเลตะวันออก
สิ้นสุดการรอคอย! วัดจุฬามณี ท้าวเวสสุวรรณ เตรียมกลับมาเปิดให้เที่ยวชม 1 มิ.ย. นี้
สวนนงนุชใจปล้ำ เปิดขายตั๋วเข้าชมแบบ 1 แถม 1 ตกคนละ 150 บาท เท่านั้น!
ตื่นตาปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำ เหนือจุดชมกระทิงป่าเขาแผงม้า โคราช
เทศกาลขนหัวลุก อีเวนท์ท่องเที่ยวสุดหลอนจากททท. @โรงงานรถไฟมักกะสัน
เกาะขายหัวเราะ - เกาะกระดาด จุดท่องเที่ยวสุดอันซีนแห่งทะเลตราด
ชื่นชมน้ำใจ! THE KALA SAMUI เปิดห้องพักให้ผู้ลี้ภัยชาวยูเครนในราคาคืนละ 200 บาท
บ้านธารชีวี ที่พักและร้านกาแฟริมลำธารกลางป่า บ้านแม่แมะ เชียงดาว
Make Awake แคมป์ละมุน ที่สวนละไม จ.ระยอง
KATOB Chiang Dao ที่พักดีไซน์เท่กลางป่าเชียงดาว พักผ่อนให้ธรรมชาติโอบกอด
เที่ยวหัวหิน ที่เดียวจบ ครบทุกความสุข
แม่ค้าทุเรียนสุดแซ่บ ไอเดียเก๋คิดค้นบัวลอยทุเรียนไข่ดาวไซซ์บึ้ม!
ป้าบุญคาเฟ่ ร้านอาหารมุมถ่ายรูปสวยสดชื่น เหมือนนั่งอยู่กลางป่าธรรมชาติ
ง่ายๆ ได้ทุกวัน ที่ Simply Cafe BKK ประชาชื่น
อัปเดต 9 ร้านทุเรียนเดลิเวอรีขายดีปี 2022 เอาใจชาวทุเรียนเลิฟเวอร์
7-11 เปิดจองทุเรียนพันธุ์กบชายน้ำ ราคาลูกละ 12,900 บาท!!!
ไส้อั่วเห็ดถอบ ของดีเมืองเชียงใหม่ หาทานได้ปีละ 1 ครั้ง
ญี่ปุ่นประกาศเปิดประเทศ รับบริษัททัวร์แล้ว รวมประเทศไทยด้วย!
เปิดภาพ "กามธิปุระ" แหล่งค้าประเวณีชื่อดังของอินเดีย โลเคชันจากหนังคังคุไบ
ต้องไป! 5 ที่เที่ยว อียิปต์ อยากชวนคนฮิปไปเช็กอิน
5 สถานที่ ‘พักร้อน’ ที่ ‘หนาว’ ที่สุดในโลก
Air Asia เปิดขาย SUPER+ ตั๋วบินบุฟเฟต์ทั่วอาเซียนและในไทยในราคา 5,555 บาท!
เที่ยวเกาหลี ฤดูไหนดี กับ 4 ช่วงเวลาที่สนุกตรงใจสุดๆ
หน้า: 1
แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?
นายวราวุธ ศิลปอาชา แถลงผลงานปี 64 เตรียมยกระดับความคุ้มครองสัตว์ป่าและสัตว์สงวนหายาก เน้นเพิ่มสัตว์ป่าคุ้มครองอีก 7 ชนิด ลงในกฏหมาย พร้อมมีผลบังคับใช้ได้ทันทีในอดีตประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมาก ผืนป่าอันกว้างใหญ่ไพศาลยังไม่ถูกรกราน ชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ต่อมาเมื่อมีการค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาติ สัตว์ป่าจึงเป็นสินค้าส่งออกที่ได้รับความนิยม จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏว่า มีการส่งนอ- งาช้าง และของป่าไปขายยังต่างประเทศเป็นจำนวนมากในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ชีวิตสัตว์ป่าเริ่มถูกรุกรานทำให้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จนถึงกับต้องออกกฎหมายมาควบคุม โดยกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าฉบับแรกเกิดขึ้นในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อบังคับใช้ในการล่าช้างป่าในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ราษฎรยังมีการคล้องช้างป่า เพื่อนำช้างมาใช้งานเป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงปัญหาที่ตามมา จึงได้ทรงตราพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า รศ. 119 (พ.ศ. 2443) ขึ้น เพื่อให้ช้างป่าไม่ถูกทอดทิ้งให้อดอยากหรือได้รับความทรมานจนถึงยุคมืดของสัตว์ป่า เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อาวุธยุทโธปกรณ์อันทันสมัยที่ใช้ในสงคราม ได้ถูกแปรเปลี่ยนมาเป็นอาวุธของผู้ชื่นชอบการล่าสัตว์ป่า ขณะที่การพัฒนาประเทศและการเพิ่มจำนวนประชากร ทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่ามากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้จึงทำให้จำนวนของสัตว์ป่าลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึงขั้นที่สัตว์ป่าบางชนิด เช่น สมัน ต้องสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ พระยศของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในขณะนั้น ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ลงนามในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ขึ้น เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2503 เพื่อเป็นกฎหมายแม่บทในการปกป้องทรัพยากรสัตว์ป่าของประเทศฉบับแรกของไทย ซึ่งภายหลังได้มีการปรับปรุงเป็นพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2535 และอีกหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ทันต่อสมัยและเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สัตว์ป่าถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย โดยขึ้นกับกระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเป็นประธานคณะนโยบายและยุทธศาสตร์ ของพรรคชาติไทยพัฒนา ได้พิจารณา วันที่ 24 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา มอบหมายให้ รองปลัดกระทรวงฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนากฎหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2/2564 ร่วมกับผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยการพิจารณา ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ….. ตามมาตรา 5 และมาตรา 7 ของ พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ให้มีการปรับสถานะ ดังนี้เพิ่มรายการสัตว์ป่าคุ้มครอง จำนวน 7 รายการ ได้แก่- ค่างตะนาวศรี- งูหางแฮ่มกาญจน์- ปลากระเบนปีศาจหางเคียว- ฉลามหัวค้อนยาว- ฉลามหัวค้อนสีน้ำเงิน- ฉลามหัวค้อนใหญ่- ฉลามหัวค้อนเรียบทั้งนี้ ได้ปรับลดรายการสัตว์ป่าคุ้มครอง จำนวน 20 รายการ เช่น ค้างคาวกินแมลงนิ้วสั้น ค้างคาวปีกขนเหนือ พญากระรอกบินหูขาว นกกระเต็นน้อยหลังแดง ตะพาบพม่า และ ปลาฉนากฟันเล็ก เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่าและสัตว์น้ำในปัจจุบันรวมถึงมีการปรับเปลี่ยนชื่อภาษาไทย และชื่อวิทยาศาสตร์ ในลำดับชั้นสกุล หรือในลำดับชั้นชนิด ในบางรายการ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลทางอนุกรมวิธานปัจจุบัน ซึ่งร่างกฎกระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังกล่าว กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ดำเนินการจัดรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมฯ มาแล้วระหว่างวันที่ 1-15 สิงหาคม 2564 โดยมีผู้มีส่วนได้เสีย ผู้เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน และประชาชน เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมด้วยนอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบผลการดำเนินการตามแผนพัฒนากฎหมาย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปี พ.ศ. 2562 – 2564 จำนวน 245 ฉบับ โดยฝ่ายเลขานุการ จะทำการตรวจสอบและแก้ไขความคืบหน้าร่างกฎหมาย พร้อมรายงานปัญหาอุปสรรคที่พบให้ทราบอีกครั้ง ตลอดจนเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนพัฒนากฎหมาย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในช่วงปี พ.ศ. 2565-2567 โดยขอให้แต่ละหน่วยงานจัดทำระยะเวลาการดำเนินงานของการพัฒนากฎหมายแต่ละฉบับให้ชัดเจนต่อไป พร้อมกันนี้ยังมีโครงการ"ส่งสัตว์ป่าคืนวนา เพื่อป่าสมบูรณ์" ปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติผืนป่าภูเขียว 6 ชนิด 360 ตัว สืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทุ่งกะมัง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ในโครงการปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ " ส่งสัตว์ป่าคืนวนา เพื่อป่าสมบูรณ์" เพื่อเป็นการสืบสานพระราชปณิธานในการอนุรักษ์สัตว์ป่าของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินธรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพื้นที่ป่าภูเขียวแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เคยเสด็จมาทรงปล่อยเนื้อทรายคืนสู่ธรรมชาติ จนได้สืบต่อสายพันธุ์และอยู่อาศัยกระจายทั่วทั้งผืนป่ามาถึงปัจจุบันโดยในครั้งนี้ มีสัตว์ป่าที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ 6 ชนิด 360 ตัว ได้แก่ ละองหรือละมั่งพันธุ์ไทย 7 ตัว เนื้อทราย 20 ตัว เก้ง 10 ตัว นกยูงไทย 23 ตัว ไก่ฟ้าพญาลอ 200 ตัว และไก่ฟ้าหลังขาว 200 ตัว โดยได้คัดเลือกสัตว์ป่าจากสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ เป็นสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ ผ่านการเตรียมความพร้อมปรับสภาพให้สัตว์ป่าสามารถดำรงชีวิตในธรรมชาติได้ และได้เก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจโรค ติดเครื่องหมายประจำตัวสัตว์เพื่อศึกษาและติดตามพฤติกรรมสัตว์ป่าหลังปล่อยคืนสู่ธรรมชาติด้วย พร้อมทั้งสั่งเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ดูแลสัตว์คุ้มครองที่กล่าวมาทั้งหมดติดตามพฤติกรรมและติดเครื่องหมายที่จะสามารถรู้ได้ว่าสัตว์คุ้มครองที่มีอยู่เหลือจำนวนเท่าไหร่ เพิ่มหรือลดลงหรือขาดตกหล่นชนิดไป และ สัตว์ชนิดไหนควรรีบต้องรักษาและอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานคนไทยได้รู้จักต่อไป
แจ้งเตือน
ภาพและเนื้อหาต่อไปนี้ ไม่เหมาะสมแก่เด็ก และเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี