เรื่องล่าสุดของหมวด
ดื่ม "น้ำมะพร้าว" อย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
ลดความอ้วนด้วยเมนู “ยำ” ทุกวัน จะอันตรายต่อร่างกายหรือไม่?
10 พืชผักสมุนไพรช่วยลดอาการอักเสบ ดีต่อร่างกาย
วิธีง่ายๆ ในการทาน “ยาเม็ด” ให้ง่ายขึ้น
อันตรายจากการทาน “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” มากเกินไป
5 โรคร้ายถามหา หากไม่ทาน "อาหารเช้า"
เช็ก 9 พฤติกรรมสัญญาณเตือน "โรคซึมเศร้า"
6 สัญญาณที่บอกว่าคุณกำลังเครียดจนเกินรับมือไหว
ภาวะ “มีโซโฟเนีย” รำคาญเสียงเคี้ยว หายใจ เดิน หรือแม้กระทั่งเข็มนาฬิกา
10 สาเหตุทำ "สมองล้า" เสี่ยง "สมองเสื่อม" ก่อนวัย
11 สัญญาณอันตราย เสี่ยง "ภาวะซึมเศร้าจากการทำงาน"
4 เทคนิค “จดจำแม่นยำ” เมื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
รู้จักคาโรชิ ซินโดรม "ทำงานหนักจนตาย" โรคฮิตชาวญี่ปุ่น และมนุษย์ทำงานทั่วโลก
จริงหรือไม่? ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ จะอ้วนขึ้น?
ปวดหัวแบบนี้ เป็น “ไมเกรน” หรือแค่ “เครียด”?
4 สาเหตุ "โรคไต" ที่ไม่ได้มาจากการ "กินเค็ม"
“ปวดหัว” จนนอนไม่หลับ สัญญาณเตือนสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม
5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโรคเบาหวานที่คุณอาจไม่เคยรู้
กินยากับเครื่องดื่มอื่น ที่ไม่ใช่น้ำเปล่า ได้ไหม?
ต้านฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยการกิน 5 สมุนไพร
"ฟ้าทะลายโจร" ใครที่ควร-ไม่ควรกิน และกินอย่างไรถึงจะรักษาโรคได้
11 สมุนไพร อันตรายกับผู้ป่วย “โรคไต”
อันตรายจากการทาน “แคลเซียมเสริม” มากเกินไป
ไขข้อสงสัย! “พาราเซตามอล” ทานเม็ดเดียว หรือ 2 เม็ด?
หน้า: 1
แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?
สำหรับคนที่มีโอกาสติดตามข่าววิทยาศาสตร์หลายคนอาจเคยได้ยินมาบ้าง ว่าในปัจจุบันเราสามารถพบชิ้นส่วนของพลาสติกได้แม้แต่ในชิ้นเนื้อ อวัยวะ และเลือดของมนุษย์แล้วนัน ล่าสุดนักวิจัยได้ค้นพบว่ามนุษย์บริโภคพลาสติกเข้าไปในร่างกายน้ำหนักเท่ากับบัตรเคดิต 1ใบ/สัปดาห์ แต่เคยสงสัยกันไหมว่าพลาสติกเหล่านี้มันเข้าไปในร่างกายของเราแต่อย่างไร? และมนุษย์เรารับพลาสติกเข้าไปขนาดนั้นจริงๆ เหรอ? เพราะล่าสุดนี้เองนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยการแพทย์เวียนนาก็เพิ่งจะค้นพบว่า มนุษย์เราจะบริโภค "อนุภาคไมโครและนาโนพลาสติก" (MNPs) เข้าไปต่างๆ มากถึงเกือบ 5 กรัมต่อสัปดาห์ หรือพอๆ กับน้ำหนักของบัตรเครดิตได้เลย และในจำนวนนี้หลายส่วนไม่น้อยก็มาจากน้ำดื่มด้วยโดยในงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Exposure and Health นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า คนที่ดื่มน้ำโดยเฉลี่ยวันละ 1.5-2 ลิตรจากขวดพลาสติก จะได้รับอนุภาคพลาสติกเข้าไป โดยเฉลี่ยถึง 90,000 หน่วย ซึ่งอาจเพิ่มลดได้แล้วแต่ประเภทของขวด ยี่ห้อน้ำ และพื้นที่อยู่อาศัยโดยตัวเลขนี้ ถูกระบุโดยนักวิทยาศาสตร์ว่าจะสามารถลดลงได้มากถึง 50,000 หน่วย หากผู้คนหันไปดื่มน้ำจากแหล่งที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับพลาสติก เช่นน้ำประปา (ซึ่งคงจะเป็นไปได้ยากในหลายประเทศ รวมถึงไทย) จริงอยู่ว่าในปัจจุบันเราจะยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดนักว่า การมีอนุภาคพลาสติกมากขนาดนี้ในตัวจะเป็นอันตรายหรือไม่แต่การค้นพบค้นพบดังกล่าวก็สร้างความไม่สบายใจแก่นักวิทยาศาสตร์ไม่น้อย เพราะเปลี่ยนแปลงในระบบทางเดินอาหารเช่นนี้ก็อาจจะสงผลกระทบต่อสุขภาพคนได้ไม่ยาก โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีโรคเรื้อรังอยู่แล้วดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงออกมาเรียกร้องว่าเราจะต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของอนุภาคพลาสติกต่อผู้คนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะปัญหาเช่นนี้ถือเป็นเรื่องที่ดูจะเริ่มเร่งด่วนขึ้นทุกวันแล้วนั่นเองขอบคุณที่มาlink.springer.com/article/10.1007/s12403-022
แจ้งเตือน
ภาพและเนื้อหาต่อไปนี้ ไม่เหมาะสมแก่เด็ก และเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี