หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: "Together Possible" จับมือไปด้วยกัน ก้าวสู่ Net Zero Emission  (อ่าน 30 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 4 ส.ค. 22, 12:47 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

เมื่อวันพุธที่ 3 กรกฎาคม 2565 เวลา 14.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ร่วมกล่าวปาฐกถา ในหัวข้อ "Thailand's Climate Commitment and Decarbonization Journey" ในงานเสวนา Shell Forum 2022 "Decarbonization The Journey Towards Law - Carbon Economy" ณ โรงแรม Siam Kempinski กทม. ร่วมด้วย นายปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการและกรรมการบริหารฝ่ายการเงิน บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยมี ผู้บริหารจากภาครัฐและภาคเอกชนชั้นนำทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วม เพื่อระดมความคิดและความร่วมมือจากพันธมิตรทุกภาคส่วน เดินหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ บรรลุเป้าหมาย Net Zero Emission สู่โลกที่ยั่งยืน
ทางด้านนายวราวุธ ศิลปอาชา ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือกับนานาชาติและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการร่วมกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 ดังที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้ ในที่ประชุม COP26 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ซึ่งเชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทยว่าเราทำได้ ถ้าร่วมมือกัน “Together Possible” โดยในวันที่ 5 -6 สิงหาคม นี้ จะมีการจัดประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย หรือ TCAC โดยมี นายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวปาฐกถาพิเศษ ณ รอยัล พารากอนฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ซึ่งเป็นการจำลองรูปแบบของการจัดประชุม COP มาเป็น COP Thailand ถือเป็นประเทศแรกของโลก ตอกย้ำประชาคมโลก ว่า ประเทศไทยตื่นตัวและดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ตามที่ได้ให้สัญญาไว้ต่อนานาอารยประเทศ ถึงเวลาแล้วที่นานาอารยประเทศจะต้องทำตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้เช่นกัน
ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ใช้หลักการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบาย BCG Economy ของรัฐบาล เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบาย ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี CCS (Carbon Capture and Storage) ที่ต้องเร่งขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เนื่องจากในท้ายที่สุดแล้ว จะเป็นหัวใจสำคัญในระยะยาวของการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกของประเทศ นอกจากนี้ ยังรวมถึงด้านการลงทุน ด้านพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิต ด้านกฎหมาย และด้านการเพิ่มแหล่งกักเก็บและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ที่มีความพร้อมให้เอกชนร่วมปลูกป่า และแบ่งปันคาร์บอนเครดิต ในพื้นที่ของรัฐแล้วประมาณ 6 แสนไร่ เพื่อส่งเสริมพื้นที่สีเขียวของประเทศไทยให้ได้ ร้อยละ 55 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่จะช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
#MNRE #ก๊าซเรือนกระจก



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม