หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ส่องกล้องทางเดินอาหาร - ส่องให้รู้ ส่องให้หาย คลายกังวล  (อ่าน 1 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 7 ต.ค. 22, 12:46 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

โชคดีที่เราเกิดในยุคที่วิวัฒนาการทางการแพทย์พัฒนาไปอย่างยิ่งยวด ปัจจุบันแพทย์สามารถส่งกล้องไฟเบอร์ออพติกขนาดเล็กพร้อมไฟฉายที่ติดอยู่ที่ปลาย สอดเข้าไปในทางปากหรือทางทวารหนักเพื่อส่งภาพออกมาแสดงที่จอได้ทันที ส่งผลให้แพทย์วินิจฉัยและรักษาความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ โดยที่ผู้ถูกส่องกล้องไม่ต้องถูกผ่าตัดและแทบไม่รู้สึกเจ็บปวดเลย

กระบวนการนี้เรียกว่า “การส่องกล้องทางเดินอาหาร” ซึ่งแบ่งย่อยเป็น 2 แบบ คือ การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น (Upper Gastrointestinal Endoscopy, Esophagogastroduodenoscopy) และการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนปลาย (Lower Gastrointestinal

การส่องกล้องทางเดินอาหาร แบ่งย่อยเป็น 2 แบบ
การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น

เป็นการส่องตั้งแต่ช่องคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อวินิจฉัยโรคหรืออาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ได้แก่ อาการปวดท้องเรื้อรังที่เกิดร่วมกับน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร ท้องอืด แน่นท้อง ท้องบวมโต โรคกรดไหลย้อนเรื้อรังที่รักษาไม่หาย อาเจียนหรืออุจจาระมีสีแดงหรือดำปน ท้องเสียเรื้อรัง กลืนลำบาก ผู้ป่วยโลหิตจางเพราะขาดธาตุเหล็กจากการเสียเลือดที่มีผลส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่างปกติ เด็กที่มีอาการไม่สบายตัวงอแงโดยไม่มีสาเหตุอื่น ส่องกล้องดูความเสียหายในทางเดินอาหารจากการกลืนสารกัดกร่อน และส่องกล้องเพื่อเฝ้าระวังเนื้อร้าย

นอกจากเพื่อการวินิจฉัยแล้ว การส่องกล้องยังใช้เพื่อการรักษาไปพร้อมกันได้ด้วยการตัดส่วนที่ผิดปกติออกจากจุดที่พบได้ทันที มีประโยชน์ในการห้ามเลือดในทางเดินอาหาร ใส่อุปกรณ์หรือยาผ่านกล้องส่องตรวจ รักษาเส้นเลือดโป่งขอดที่หลอดอาหาร และอื่น ๆ

การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนปลาย
จะใช้การสอดกล้องเข้าทางทวารหนักเพื่อส่องดูลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กส่วนปลาย การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนปลายมีประโยชน์มากในค้นหาความผิดปกติของผนังลำไส้ ตัดชิ้นเนื้อ และเก็บตัวอย่างที่อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จากสถิติพบว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งทวารหนักมักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ดังนั้นผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งประเภทนี้ด้วยการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนปลาย และหากไม่พบความเสี่ยงใดแนะนำให้ตรวจซ้ำทุก ๆ 10 ปี แต่ถ้ามีความเสี่ยง เช่น มีประวัติทางเดินอาหารอักเสบ มีคนในครอบครัวที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือมะเร็งทวารหนักเมื่ออายุต่ำกว่า 60 ปี หรือประวัติครอบครัวอื่น ๆ แนะนำให้ตรวจคัดกรองก่อนอายุ 50 ปี และตรวจซ้ำถี่ขึ้นเป็นทุก 1- 5 ปีแล้วแต่แพทย์จะเห็นควร



ขบคุณข้อมูลจาก >> https://www.topsvita.com/blog/post/gastrointestinal-endoscopy.html

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:  ท็อปส์วีต้า  topsvita ส่องกล้องทางเดินอาหาร ทางเดินอาหาร  

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม