Sanook.commenu

ค้นหา ตรวจหวย ข่าว อีเมล์ ดูทีวีออนไลน์ ฟังเพลงออนไลน์ คลาสสิฟายด์ ริงโทน เกมส์ ดูทั้งหมด »

สนุก! เว็บบอร์ด > หมวดหมู่ > ชุมชนสนุก! > ร่วมเทิดไท้องค์ราชันย์ > เทิดทูนสถาบัน
หน้า: 1 ... 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 ... 153
ชนิดกระทู้ ผู้เขียน เทิดทูนสถาบัน  (อ่าน 45151 ครั้ง)
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2025: 27 มี.ค. 13, 09:46 น

13 เพลงพระราชนิพนธ์ (อัครศิลปิน)
ในคืนวันส่งท้ายปี 2494 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเพลง “พรปีใหม่” เป็นของขวัญชิ้นใหญ่ให้กับพสกนิกร แต่นั่นไม่ใช่บทเพลงแรกที่องค์อัครศิลปินได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องดนตรีนานาชนิด มาแต่เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช และเมื่อมีโอกาสจึงได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงของพระองค์เอง โดยทรงพระราชนิพนธ์เพลงแสงเทียน อันมีทำนองเป็นเพลงบลูส์ขึ้นเป็นเพลงแรก เมื่อ พ.ศ.2489 และนับจากนั้นเป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงใหม่ๆ โดยในระยะแรกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานให้ครูเอื้อ สุนทรสนาน นำไปบรรเลงในวงดนตรีสุนทราภรณ์
สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสถาบันให้กับพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐออสเตรีย อย่างเป็นทางการ ในปี 2507  นับเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับการยกย่องจากสถาบันแห่งนี้ อันเป็นเครื่องยืนยันถึงพระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ที่ได้แซ่ซ้องไปไกลถึงนครแห่งดนตรีคลาสสิกอันลือชื่อของทวีปยุโรป สมกับที่พสกนิกรชาวไทยน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญา “อัครศิลปิน” โดยแท้

Tags:
 
Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2026: 27 มี.ค. 13, 09:47 น

13 เพลงพระราชนิพนธ์ (อัครศิลปิน)
ในคืนวันส่งท้ายปี 2494 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเพลง “พรปีใหม่” เป็นของขวัญชิ้นใหญ่ให้กับพสกนิกร แต่นั่นไม่ใช่บทเพลงแรกที่องค์อัครศิลปินได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องดนตรีนานาชนิด มาแต่เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช และเมื่อมีโอกาสจึงได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงของพระองค์เอง โดยทรงพระราชนิพนธ์เพลงแสงเทียน อันมีทำนองเป็นเพลงบลูส์ขึ้นเป็นเพลงแรก เมื่อ พ.ศ.2489 และนับจากนั้นเป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงใหม่ๆ โดยในระยะแรกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานให้ครูเอื้อ สุนทรสนาน นำไปบรรเลงในวงดนตรีสุนทราภรณ์
สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสถาบันให้กับพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐออสเตรีย อย่างเป็นทางการ ในปี 2507  นับเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับการยกย่องจากสถาบันแห่งนี้ อันเป็นเครื่องยืนยันถึงพระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ที่ได้แซ่ซ้องไปไกลถึงนครแห่งดนตรีคลาสสิกอันลือชื่อของทวีปยุโรป สมกับที่พสกนิกรชาวไทยน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญา “อัครศิลปิน” โดยแท้

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2027: 27 มี.ค. 13, 09:48 น

15 พระราชนิพนธ์
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ“ในหลวง” ของพวกเรา
“ ถึงวัดเบญจมบพิตร รถแล่นเร็วขึ้นได้บ้างตามทางที่ผ่านมาได้ยินเสียงใครคนหนึ่งร้องขึ้นมาดังๆ ว่า อย่าละทิ้งประชาชน อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่าถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าจะละทิ้งได้อย่างไร “
บทพระราชนิพนธ์ “ เมื่อข้าพเจ้าจากสยามสู่สวิตเซอร์แลนด์ “ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ในรูปแบบของการบันทึกความทรงจำ ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อทีประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ และได้พระราชทานให้ตีพิมพ์ลงในนิตยสารวงวรรณคดี นี่คือพระอัจฉริยภาพด้านวรรณกรรม ที่พระองค์สนพระราชหฤทัยมาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์
พ.ศ. 2537 ทรงแปลหนังสือเรื่อง นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ของวิลเลียม สตีเวนสัน จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ เรื่อง A Man called Intrepid
ในปีต่อมาพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัวทรงแปลหนังสือเรื่อง ติโต จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ของฟิลลิส ออติ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวประวัติของนายพลติโต
พระราชนิพนธ์แปล ทั้ง 2 เรื่อง สะท้อนถึงพระวิริยะอุตสาหะของพระองค์ และ พระปรีชาสามารถด้านภาษาที่โดดเด่น
นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ และ ติโต เป็นหนังสือที่มียอดการพิมพ์ซ้ำอย่างต่อเนื่อง และมียอดจัดจำหน่ายรวมกันมากกว่า 250000เล่ม

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2028: 27 มี.ค. 13, 09:49 น

16 พระอัจฉริยภาพด้านการช่าง
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

ที่พระตำหนัก วิลล่าวัฒนา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เจ้านายพระองค์น้อยทรงเอาพระหทัยใส่ประดิษฐ์ของเล่นด้วยพระองค์เองอยู่เสมอ และนี่คือ ที่มาของความที่ทรงเป็นนักประดิษฐ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อเจริญพระชันษา ความสนพระราชหฤทัยในกีฬาเรือใบ ได้ชักนำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดที่จะต่อเรือใบพระที่นั่งด้วยพระองค์เอง
เริ่มจากเรือใบลำแรกที่ทรงต่อเอง เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2507 เป็นเรือใบประเภทเอ็นเตอร์ไพรส โดยทรงต่อตามแบบสากล และพระราชทานชื่อว่า เรือราชปะแตน
นับจากเรือราชปะแตน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงต่อเรือใบอีกหลายลำ แต่ก็ล้วนเป็นการต่อเรือตามแบบสากลทั้งสิ้น จนกระทั่งในปี 2509 ก็ได้ทรงออกแบบและต่อเรือใบประเภทม็อธด้วยพระองค์เอง ที่ชาวไทยรู้จักดีในชื่อ เรือมด ตามมาด้วยเรือซุปเปอร์มด และไมโครมด ในเวลาต่อมา
นับได้ว่า ทรงเป็นแบบฉบับให้นักประดิษฐ์ไทยได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ในการคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ อันจะนำไปสู่การพึ่งตนเองอย่างมีประสิทธิภาพตลอดไป

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2029: 27 มี.ค. 13, 09:50 น

โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา
17 พระมหากษัตริย์นักกีฬา
วันที่ 16 ธันวาคมของทุกปี ถือเป็นวันสำคัญของปวงชนชาวไทย เพราะนอกจากจะเป็นวันกีฬาแห่งชาติแล้ว ยังเป็นวันที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ จัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ขึ้น เมื่อ พ.ศ.2510
และในวันนั้นเอง พสกนิกรชาวไทยก็ได้มีโอกาสชื่นชมพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะนักกีฬาเรือใบทีมชาติไทย ตลอดระยะเวลาการแข่งขัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติพระองค์เยี่ยงนักกีฬาทั่วไป จนกระทั่งในวันที่ 16 ธันวาคม 2510 พระมหากษัตริย์นักกีฬาของปวงชนชาวไทย ก็ได้ทรงยืนบนแท่นรับรางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง ร่วมกับนักกีฬาที่ชนะที่ 2 และที่ 3 จากการแข่งขันกีฬาเรือใบ ยังความปลาบปลื้มยินดีแก่พสกนิกรชาวไทยเป็นล้นพ้น
และนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์วงการกีฬาโลก ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ และทรงได้รับเหรียญทอง พระปรีชาสามารถในด้านกีฬาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงกีฬาเรือใบเท่านั้น แต่ทรงสนพระราชหฤทัยในกีฬาอีกหลายประเภท โดยทรงศึกษาข้อมูลของกีฬาแต่ละประเภทอย่างละเอียด รวมทั้งทรงฝึกฝน จนสามารถปฏิบัติได้อย่างดีอันเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักกีฬารุ่นหลัง

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2030: 27 มี.ค. 13, 09:51 น

โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา
18 โครงการแก้มลิง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักสังเกตธรรมชาติที่เปี่ยมด้วยพระ อัจฉริยภาพ ทั้งยังทรงพระปรีชาสามารถในการนำสิ่งที่ทรงสังเกตเห็นมาประยุกต์ใช้ในการ พัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆอยู่เสมอ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือแนวพระราชดำริโครงการแก้มลิง ซึ่งพระราชทานแก่คณะเจ้าหน้าที่ที่ดูแลปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพและ ปริมณฑล เมื่อวันที่14 พฤศจิกายน 2538 อันเป็นปีที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
ในครั้งนั้นพระองค์ทรงพระราชทานพระราชดำริไว้ว่า “…ลิงโดยทั่วไปที่เราส่งกล้วยให้ ลิงก็จะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว ๆ แล้วเอาไปเก็บที่แก้ม จะกินกล้วยเข้าไปไว้ที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี แล้วนำออกมาเคี้ยวและกลืนกินเข้าไปภายหลัง การนำเอากล้วยหรืออาหารมาสะสมไว้ที่กระพุ้งแก้มก่อนการกลืนนี้ เป็นพฤติกรรมตัวอย่างที่จะนำมาใช้ในการระบายน้ำท่วมออกจากพื้นที่ ที่น้ำท่วมขังบริเวณทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ”
โครงการแก้มลิง เป็นระบบการบริหารจัดการน้ำในฤดูน้ำหลาก เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วม ในพื้นที่เขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยการขุดลอกคูคลองต่างๆเพื่อระบายน้ำส่วนเกินออกจากพื้นที่ลุ่มให้ไหลมารวม กันในบ่อพักน้ำ ลักษณะเดียวกับที่ลิงสะสมกล้วยไว้ที่กระพุ้งแก้ม จนเมื่อน้ำในทะเลลดลงจึงค่อยระบายน้ำลงทะเล โดยการใช้ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก
นอกจากนี้ โครงการแก้มลิงตามแนวพระราชดำริ ยังมีประโยชน์ในการบำบัดน้ำเน่าเสีย ซึ่งเป็นปัญหาด้านสภาวะแวดล้อม โดยน้ำที่ปล่อยลงจากแก้มลิงจะช่วยเจือจางน้ำเน่าเสียในคลองต่างๆ ให้เบาบางลง แล้วจึงผลักออกสู่ทะเล
โครงการแก้มลิง จึงถือได้ว่าเป็นโครงการที่อาศัยธรรมชาติในการแก้ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริที่แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยะภาพในพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีความรู้จริงในธรรมชาติของน้ำ และสภาพภูมิประเทศในท้องที่ต่างๆ อย่างลึกซึ้ง

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2031: 27 มี.ค. 13, 09:53 น

โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา
19 ทฤษฎีใหม่
ใน ประเทศไทย มีเกษตรกรจำนวนมากมายมีที่ดินไม่ถึง20ไร่ และผูกติดชีวิตไว้กับฟ้าฝนเพียงอย่างเดียว พื้นที่เกษตรเล็กๆเหล่านั้นจึงไม่อาจผลิตพืชผลเพื่อขายเพียงพอที่จะเลี้ยง ปากท้องได้ทำอย่างไร ผืนดินจำนวนน้อยนิดอันเป็นต้นทุนเพียงอย่างเดียวของเกษตรกร จะสามารถหล่อเลี้ยงชีวิตของผู้เป็นเจ้าของได้อย่างพอเพียง ขณะเดียวกันก็สามารถป้องกันความเสี่ยงจากธรรมชาติที่ไม่แน่นอนได้ด้วยเหตุ นี้ พระพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระราชดำริเรื่องทฤษฎีใหม่ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ทุกข์ร้อนให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตพระราชดำริ ทฤษฎีใหม่ เป็นวิธีการที่จะช่วยให้เกษตรกรที่มีที่ดินจำนวนน้อย ใช้เป็นแนวทางในการจัดการที่ดินและน้ำ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแนวคิดของทฤษฏีใหม่ ใช้สำหรับการจัดการที่ดินแปลงเล็ก ประมาณ 10-15 ไร่ เพื่อช่วยให้เกษตรกรเลี้ยงตัวได้ มีข้าวพอกินตลอดปีโดยทรงกำหนดให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น4 ส่วน คือส่วนที่1 ขุดเป็นสระน้ำ 3 ไร่ส่วนที่2 ใช้ทำนาข้าว 5 ไร่ส่วนที่3 ให้ปลูกพืชชนิดต่างๆ 5 ไร่ เพื่อใช้เป็นอาหาร ให้เพียงพอตลอดทั้งปี หากเหลือจึงนำไปจำหน่ายส่วนที่4 ใช้เป็นที่อยู่อาศัย และเลี้ยงสัตว์อีก 5 ไร่ แนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนี้ ได้กลายมาเป็นประจักษ์ถึงความสำเร็จอันเกิดจากพระอัจฉริยภาพ และสายพระเนตรอันยาวไกลของพระองค์ ที่สามารถช่วยเหลือพสกนิกรให้พ้นทุกข์ยากในการดำรงชีวิตได้

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2032: 27 มี.ค. 13, 09:54 น

20 เขื่อน : ปราการ , พลังงาน และสายธารชีวิต
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระทัยในเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำ ดังจะเห็นได้จากทุกครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพภูมิประเทศและ เยี่ยมพสกนิกร ก็จะทรงสังเกตเส้นทางเดินของน้ำ การดำเนินชีวิตของมนุษย์และระบบนิเวศ ก่อนพระราชทานคำแนะนำให้ข้าราชการและราษฎรนำไปปฏิบัติ จนเกิดเป็นฝายกั้นน้ำ และเขื่อนหลายแห่งทั่วประเทศ
เขื่อนบางแห่งก็ได้รับพระราชทานชื่อตามพระ ปรมาภิไธย เช่น “เขื่อนภูมิพล” บางแห่งก็เป็นนามพระราชทาน เช่นเขื่อนรัชชประภา ที่มีความหมายว่าแสงสว่างแห่งรัชกาล เขื่อนขุนด่านปราการชล ที่เป็นชื่อรำลึกถึงวีรชนไทยในอดีต ยังมี เขื่อน***ัดสมบูรณ์ชล ซึ่งสร้างตามพระราชดำริ เขื่อนป่าสักชลสิทธ์ และอีกมากมาย ทั่วพระราชอาณาจักร
ประโยชน์ของเขื่อนตามพระราชดำรินั้น นอกเหนือจาก เพื่อนำพลังน้ำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อสนองความต้องการของประเทศแล้ว ยังส่งผลดีในในด้านการชลประทาน สามารถปล่อยน้ำในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ระบายออกไปใช้ในการเกษตร รวมทั้งเป็นปราการช่วยบรรเทาอุทกภัยในช่วงฤดูฝน และหลายแห่งยังอำนวยประโยชน์ ในด้านการประมงอีกด้วย
ผลพลอยได้อีกประการหนึ่ง ก็คือ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ นำรายได้สู่ชุมชนใกล้เคียง
การ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการมีเขื่อน และมีพระราชดำริสนับสนุนการทำงานเพื่อจัดการทรัพยากรน้ำ จึงเป็นคุนานุประการแก่ประเทศชาติและพสกนิกรไทยโดยทั่วกัน

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2033: 3 เม.ย. 13, 09:30 น

01 พระมหากษัตริย์นักพัฒนา
ตลอดระยะเวลาแห่งการครองสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ชนบททั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จึงทำให้ทรงทราบปัญหาความทุกข์ยากที่บังเกิดแก่พสกนิกรของพระองค์ และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดการดำเนินงานพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ปรากฏอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เป็นจำนวนมากมายเกินกว่าจะพรรณนาได้หมดสิ้น
งานพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวทุกโครงการ ล้วนตั้งอยู่บนหลักการที่ทรงพระราชทานว่า “ทำให้ง่าย และให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ” แต่เบื้องหลังความง่ายดังกล่าวนั้น คือการกลั่นกรอง “ความรู้” และ”ความคิด” จากการค้นคว้าทดลองตามหลักวิชา นำมาปรับจากทฤษฎีให้เป็นทางปฏิบัติ ที่มีประสิทธิภาพสูง สอดคล้องกับสภาพของประเทศและเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในแต่ละภูมิภาค และเพราะปัญหา ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเฉพาะภูมิภาคใดภาคหนึ่งเท่านั้น
โครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงปรากฏให้เห็นแม้ในท่ามกลางมหานครของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงานด้านใดก็ตาม ข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่เป็นที่ประจักษ์มาโดยตลอดคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างที่ล้ำเลิศของงานพัฒนา ด้วยทรงให้ความสำคัญกับการค้นคว้า วิเคราะห์และทดลองครั้งแล้วครั้งเล่า ก่อนที่จะนำผลลัพธ์ที่ได้มาพระราชทานแก่ประชาชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ต่อไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือพระมหากษัตริย์ที่ทรงทำงานหนักที่สุด ทรงตรากตรำพระวรกาย
เพื่อ พสกนิกรของพระองค์ เพื่อเป็นแนวทางสำคัญสำหรับประชาชาติไทย ในการริเริ่มสร้างสรรค์คุณประโยชน์ให้แก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติสืบไป
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2034: 3 เม.ย. 13, 09:33 น

02 ความพอเพียง
ในการพัฒนาประเทศนั้น จำเป็นต้องทำตามลำดับขั้นเริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือ ความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน ด้วยวิธีการที่ประหยัด ระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อพื้นฐานเกิดมั่นคงพอควรแล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญขั้นที่สูงขึ้นตามลำดับต่อไป
พระบรมราโชวาท เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2517
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของ การพึ่งตนเอง ความพอมีพอกิน พอมีพอใช้และการรู้จักความพอประมาณ ทรงเตือนสติประชาชนไม่ให้ประมาท มีคุณธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งแนวคิดดังกล่าว เป็นที่รู้จักกันดีภายใต้ชื่อว่า เศรษฐกิจพอเพียงทรงเน้นหลักการพึ่งตนเองในระดับครอบครัว ผสานกับความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างความเข้มแข็งในระดับท้องถิ่น ก่อนที่จะเชื่อมโยงสู่ระบบธุรกิจในสังคมภายนอก
อีกทั้งยังพระราชทาน แนวพระราชดำริ ให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและภาคประชาชนเข้าร่วมมือกัน เพื่อศึกษาและพัฒนากิจการเกษตรกรรมของไทยอย่างจริงจัง ด้วยทรงตระหนักดีว่า การเกษตรนี้เองที่เป็นรากฐานอันแท้จริง ให้กับพัฒนาการที่ยั่งยืนของประเทศดังพระราชดำรัสที่ว่า “ ถ้าชนบทอยู่ได้ บ้านเมืองก็อยู่ได้”
ผลลัพธ์จากสายพระเนตรอัน ยาวไกลของพระองค์ สำแดงให้เป็นที่ประจักษ์ชัดทุกครั้งที่เศรษฐกิจของประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤติ และประชาชนชาวไทยทุกฝ่ายทุกระดับ ต่างก็ต้องหันมาทบทวนทิศทางของการพัฒนาประเทศเท่าที่ผ่านมา
ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงพระราชทาน จึงนับเป็นแบบอย่างที่ดีให้คน ไทย ได้ดำเนินชีวิตบนทางสายกลาง มีความขยันหมั่นเพียรในการประกอบสัมมาชีพ รู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รักการประมาณตน และดำรงชีวิตอย่างรู้จัก คิด อยู่ ใช้ กิน อย่างพอเพียง
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2035: 3 เม.ย. 13, 09:35 น

03 นาข้าวของในหลวง
รากฐานของสังคมไทยเป็นสังคมแบบเกษตรกรรม ข้าว คือสายใยชีวิตที่สร้างความอยู่เย็นเป็นสุขมาช้านาน“ ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาและทดลองทำนามาบ้าง และทราบดีว่าการทำนานั้นมีความยากลำบาก และเป็นอุปสรรค์อยู่ไม่น้อย..”
พระราชปณิธานหนึ่งขององค์พระ มหากษัตริย์มีอยู่ว่า จะทำอย่างไรให้ชาวนาอยู่ได้ตามอัตภาพ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกนักที่เราจะเห็น พระองค์ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจอันเกี่ยวข้องกับการเกษตรอย่างมากมาย และยิ่งได้ทราบว่าในสวนจิตรลดา ซึ่งเป็นเขตพระราชฐานมีทุ่งนาอันเป็นโครงการส่วนพระองค์แล้ว ยิ่งย้ำชัดว่าพระองค์ทรงให้ความสำคัญเพียงไรกับการเกษตรกรรม
ย้อนกลับไป ในช่วงปี พุทธศักราช 2479 – 2502 พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญได้ว่างเว้นไป เพียงจัดให้มีพระราชพิธีพืชมงคลเท่านั้น จนกระทั่งในปี พุทธศักราช 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ ทรงโปรดให้ฟื้นฟูพระราชพิธี จรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นอีก และปรับปรุงให้เหมาะกับยุคสมัย และปฏิบัติสืบมามิได้ขาด ด้วยทรงเห็นว่า เป็นการรักษาพระราชประเพณีอันดีงาม มีผลในการบำรุงขวัญและจิตใจของคนไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร
จนถึงวันนี้ เป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว ที่ความรู้ และเมล็ดพันธุ์พระราชทานจากโครงการนาข้าวสาธิต ได้แจก่ายไปยังเกษตรกรทั่วประเทศเพื่อเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคล ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมต่อไป
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

Tags:
 
Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2036: 3 เม.ย. 13, 09:37 น

04 กังหันน้ำชัยพัฒนา
จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ซึ่งนับวันมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้น บางพื้นที่น้ำเน่าเสีย จนทำให้สัตว์ตายเป็นจำนวนมาก ประชาชนเองก็ไม่สามารถนำน้ำมาอุปโภคบริโภคได้
ด้วยพระเมตตาที่ทรงห่วงใย ในความทุกข์ของประชาชน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานแนวพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบประหยัดค่าใช้ จ่ายที่สามารถผลิตขึ้นได้เองในประเทศไทย โดยมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่ง เบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสีย
พระองค์ทรงนำภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่เรียกว่า “หลุก” มาเป็นต้นแบบในการพัฒนา โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมในมูลนิธิชัยพัฒนา และกรมชลประทานสนองพระราชดำริในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี จนกลายมาเป็นที่รู้จักกันดี ในนามของ “กังหันน้ำชัยพัฒนา”
สิ่งหนึ่งที่พสกนิกรไทยภูมิใจ ก็คือ สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้เกิดขึ้นจากฝีพระหัตถ์ และพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่ปวงชนชาว ไทย ทั้งยังได้รับสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นระดับโลก จากงานนิทรรศการแสดงสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ครั้งที่ 49 ณ ราชอาณาจักรเบลเยี่ยมถึง 5 รางวัล
พระเกียรติคุณนี้มิเพียงขจรขจายไปทั่วแผ่นดินไทยเท่านั้น แต่ยังแพร่ขยายไปสู่ชุมชนชาวโลกอย่างกว้างขวางอีกด้วย
จาก สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ซึ่งนับวันมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้น บางพื้นที่น้ำเน่าเสีย จนทำให้สัตว์ตายเป็นจำนวนมาก ประชาชนเองก็ไม่สามารถนำน้ำมาอุปโภคบริโภคได้
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2037: 3 เม.ย. 13, 09:41 น

05 หญ้าแฝก กำแพงที่มีชีวิต
จากสภาพความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน อันเนื่องมาจากฝนตกหนัก และน้ำไหลบ่าอย่างรุนแรง ทำให้ผิวดินถูกกัดเซาะจนสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ เป็นเหตุให้ดินพังทลาย ส่งผลเสียหายต่อพื้นที่ทำการเกษตร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงปัญหา และสาเหตุที่เกิดขึ้น จึงทรงศึกษาศักยภาพของ “หญ้าแฝก” ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และช่วยรักษาความชุ่มชื้นของน้ำใต้ดินไว้
หญ้าแฝก เป็นพืชพื้นบ้านที่ทำหน้าที่เสมือนกำแพงธรรมชาติที่มีชีวิต ช่วยชะลอการไหลของน้ำ และแรงปะทะของลม คอยกักกั้นตะกอนดิน ไม่ให้หน้าดินพังทลาย ซึ่งเกษตรกรสามารถนำมาปลูกโดยไม่ต้องดูแลมากนัก อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าจ่าย
สถาบัน international erosion control association หรือ IECA ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล international merit award และธนาคารโลก ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายรางวัลรากหญ้าชุบสำริด แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการสดุดีพระเกียรติคุณ และพระปรีชาสามารถในฐานะที่ทรงเป็นนักอนุรักษ์ดินและน้ำ
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2534 มาจนถึงปัจจุบัน ผลสำเร็จของโครงการพระราชดำริเรื่อง “หญ้าแฝก” ไดพลิกฟื้นคืนชีวิตให้กับแผ่นดิน นำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์อีกครั้ง
วันนี้หญ้าแฝกจึงมิได้เป็นเพียงต้นหญ้าที่ไร้ค่า แต่เป็น “ต้นหญ้ามหัศจรรย์” ที่มีอเนกอนันต์ต่อผืนแผ่นดินไทย
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2038: 3 เม.ย. 13, 09:52 น

06 สายฝนแห่งน้ำพระราชหฤทัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ทุรกันดารหลากหลายจังหวัดอย่างไม่เคยว่าง เว้น ด้วยทรงตระหนักดีถึงปัญหาความแห้งแล้ง จากภาวะฝนทิ้งช่วงที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนของฤดูกาล
ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ขณะที่พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณเทือกเขาภูพานนั้น ทรงสังเกตเห็นว่าบนท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมอยู่มาก แต่ไม่สามารถรวมตัวกันเกิดฝนได้ ด้วยพระปรีชาญาณอันลึกซึ้ง จึงทรงมีพระราชดำริที่จะค้นหาวิธีการทำฝนตกด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ ที่เรียกว่า “ฝนเทียม” และได้มีการจัดตั้ง “สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง” ขึ้น ใน พ.ศ. 2512 โดยทรงร่วมศึกษาทดลอง และติดตามการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดด้วยพระองค์เอง ไม่เว้นแม้แต่การทดลองปฏิบัติการจริงบนท้องฟ้าครั้งแรก ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ยังความปลื้มปีติ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแก่คณะผู้ปฏิบัติการ และอาณาประชาราษฎร์อย่างหาที่สุดมิได้
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2039: 3 เม.ย. 13, 09:53 น

07 มูลนิธิโครงการหลวง
กว่า 30 ปีแล้ว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่สูง ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารที่สำคัญของประเทศ และเป็นที่อยู่อาศัยของชาวไทยภูเขา
ด้วยพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกล จึงก่อให้เกิด “มูลนิธิโครงการหลวง” ตามแนวพระราชประสงค์ เพื่อลดปัญหาการปลูกฝิ่น และการตัดไม้ทำลายป่า อนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร และช่วยชาวเขาที่มีฐานะยากจนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ให้ยั่งยืน
การดำเนินงานของโครงการหลวง จากอดีตถึงปัจจุบัน ได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ ที่เคยถูกบุกรุกทำลายจากการปลูกฝิ่น ให้กลายเป็นผืนดินที่ได้รับการปกป้อง เป็นป่าอนุรักษ์ และแหล่งผลิตพืชเศรษฐกิจอันอุดมสมบูรณ์ ที่ให้ผลผลิตงดงาม ผู้คนมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีที่ดินทำกินอย่างถาวร โดยไม่ต้องอพยพ เร่รอนอีกต่อไป
ผลงานของมูลนิธิโครงการหลวงเป็นที่แพร่หลายและยอมรับ ถึคงความสำเร็จในการกำจัดสารเสพติดโดยสันติวิธี ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขา การส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ ประจำปี 2531
ปัจจุบันโครงการ หลวงมีการค้นคว้าวิจัยทางการเกษตรในที่สูง ซึ่งเป็นเกษตรสาขาใหม่ที่ช่วยพัฒนาให้สามารถปลุกพืชเมืองหนาวที่มีราคาแพงใน เมืองไทยได้ นับเป็นการพัฒนาการเกษตรและช่วยเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่ง ด้วย
มูลนิธิโครงการหลวง จึงมิได้ช่วยเหลือเฉพาะคนบนดอยสูงเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อคนทั้งประเทศและทั้งโลก
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2040: 3 เม.ย. 13, 09:55 น

08 พระปรีชาสามารถทางการทูต
ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนต่างประเทศอีกเพียงครั้งเดียว คือเมื่อพุทธศักราช 2538 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาว เนื่องจากมีพระราชดำริว่า มีพระราชประสงค์ที่จะประทับใกล้ชิดกับพสกนิกรของพระองค์ เพื่อช่วยเหลือพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรให้มากที่สุด
แม้จะทรงให้ความ สำคัญต่อพระราชภารกิจภายในประเทศอย่างยิ่ง หากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็มิเคยละเลยพระราชภารกิจ เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีกับมิตรประเทศต่างๆ ด้วยการทรงต้อนรับพระประมุข และ ประมุข ของประเทศต่างๆ ที่เสด็จพระราชดำเนิน และ เดินทางมาเยือนประเทศไทย ในฐานะพระราชอาคันตุกะ
อีก ทั้งยังโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้บรรดาทูตานุทูต ของประเทศต่างๆ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระราชสาสน์ และ สาส์นตราตั้งในการเข้ามารับตำแหน่งใน ประเทศไทย และกราบบังคมทูลลาเมื่อครบวาระ
นี่คือพระมหากรุณาธิคุณ และพระปรีชาสามารถของล้นเกล้า ล้นกระหม่อม ที่ช่วยให้ประเทศไทย ยังคงกระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ได้อย่างแน่นแฟ้น ไม่เว้นแม้ขณะกำลังทรงงานหนักเพื่อปากท้องของพสกนิกรของ พระองค์
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2041: 3 เม.ย. 13, 10:03 น

09 แพทย์พระราชทาน
ทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยือนราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดารก็มักเนืองแน่น ไปด้วยพสกนิกรที่มาเฝ้ารอชมพระบารมี แม้แต่ผู้มีร่างกายพิการทุพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ด้วยเป็นชาวบ้านห่างไกลสถานพยาบาล ก็ยังมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรอรับเสด็จ ขอเพียงได้เห็นพระผู้เป็นมิ่งขวัญสักครั้งในชีวิต ภาพที่พระองค์ได้ทอดพระเนตร ทำให้ทรงกังวลพระราชหฤทัย ด้วยทรงเห็นว่า ประชาชนเป็นทรัพยากรที่สำคัญของชาติ ถ้าประชาชนสุขภาพไม่ดี ก็จะไม่สามารถประกอบอาชีพการงานและพัฒนาประเทศชาติให้เจริญได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานแพทย์หลวงให้รักษาราษฎรเหล่านั้น ให้มีสุขภาพดี จนกลายเป็นธรรมเนียมว่า ทุกที่ที่เสด็จพระราชดำเนินจะมีแพทย์หลวงพระราชทานแก่ราษฎรผู้เจ็บไข้ของ พระองค์เสมอ จากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน ขยายผลสู่โครงการแพทย์เฉพาะทาง มีทั้งหน่วยทันตแพทย์, ศัลยแพทย์อาสา, แพทย์หู คอ จมูกหน่วยจักษุแพทย์ และหน่วยแขนขาเทียมพระราชทาน พระเมตตาที่ทรงมีต่อพสกนิกร ทำให้ไม่ว่าจะเสด็จพระราชดำเนินไปยังแห่งหนใด จำนวนราษฎรที่มารอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับเสด็จก็จะเพิ่มมากขึ้นทุกครั้งไป
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2042: 3 เม.ย. 13, 10:05 น

10 พลังงานทดแทน
ท่ามกลางความต้องการในการใช้น้ำมันดีเซลที่เพิ่มมากขึ้น และราคาของน้ำมันดีเซลที่ขยับตัวสูงขึ้น ล้วนส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมองเห็นคุณค่าของปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นวัตถุดิบในท้องถิ่นที่มีศักยภาพสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนได้ และถึงแม้ว่า น้ำมันเชื้อเพลิงจากฟอสซิล อาจหมดลงในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า แต่ประเทศไทยก็ยังมีแหล่งน้ำมันที่เราสามารถปลูกและผลิตขึ้นได้เอง
พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย และให้ทดลองนำปาล์มน้ำมันมาสกัดเป็นน้ำมันไบรโอดีเซล ซึ่งสามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ อีกทั้งยังไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
น้ำมัน ไบรโอดีเซล เป็นอีกหนึ่งใน โครงการตามแนวพระราชดำริ ที่จะช่วยให้ราษฎรสามารถยืนหยัดและพึ่งพาตนเองได้ ด้วยวิถีกสิกรรมผสมผสานกับเทคโนโลยี สมัยใหม่ ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอกลง
น้ำมันไบรโอดีเซล พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นประจักษ์พยานถึงพระอัจฉริยภาพ ที่พระราชทานแนวทางใหม่ในการพัฒนาเชื้อเพลิงทดแทนภายในประเทศให้เป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน เพื่อเศรษฐกิจ เพื่อสิ่งแวดล้อม และเพื่ออนาคตที่ดีของเราทุกคน

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2043: 3 เม.ย. 13, 10:07 น

11 ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์
ทุกครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎร นอกจากแผนที่อันเป็นอุปกรณ์คู่พระราชหฤทัยแล้ว อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ กล้องถ่ายภาพคู่พระหัตถ์ที่อยู่เคียงกันไปในทุกแห่ง ไม่ว่าจะเสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎร เสด็จไปทรงงานตามพื้นที่ต่างๆหือแม้แต่เสด็จมาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราชเพื่อรักษาพระอาการประชวร
พระราชอัธยาศัยโปรดการถ่ายภาพ นี้ทรงได้ต้นแบบมาจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี    มาตั้งแต่เมื่อครั้งทรงพระเยาว์     โดยทรงเริ่มจากกล้องถ่ายภาพชนิดที่ไม่มีเครื่องวัดแสงในตัว ทำให้ต้องใช้พระราชวิจารณญาณอย่างละเอียดรอบคอบ และพระปรีชาสามารถส่วนพระองค์ในการถ่ายภาพแต่ละครั้ง
นอกจากนี้ยังทรงใช้ พื้นที่บริเวณชั้นล่างอาคารสถานีวิทยุ อ.ส. เป็นห้องมืดสำหรับล้างฟิล์ม และอัดขยายภาพ ตามพระราชประสงค์ที่จะทรง “สร้างภาพ” ให้เป็นศิลปะถูกต้อง และรวดเร็วด้วยพระองค์เอง
แต่เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปภาพ ถ่ายฝีพระหัตถ์ จึงเปลี่ยนรูปแบบจากงานถ่ายภาพสวยงามเพื่อศิลปะมาเป็นภาพถ่ายที่ทรงใช้เพื่อ ประกอบการทรงงานของพระองค์
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์    จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงถ่ายภาพเพื่อศิลปะแต่เพียงอย่างเดียว แต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศชาติ นำความผาสุกร่มเย็นมาสู่ประชาชนชาวไทยได้อย่างดี

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2044: 3 เม.ย. 13, 10:08 น

12 พระมหากษัตริย์นักดนตรี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักดนตรีที่มีพระปรีชาสามารถสูงพระองค์หนึ่ง และได้ทรงใช้พระปรีชาสามารถนี้ให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสัมพันธภาพอันดี ให้เกิดขึ้นในมวลมนุษยชาติ
“วันทรงดนตรี” เป็นหนึ่งในตัวอย่างของการที่ทรงนำพระอัจฉริยภาพด้านดนตรีมาใช้เป็นสื่อกลาง ในการสร้างความสมานฉันท์ โดยได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ไปทรงดนตรียังมหาวิทยาลัยต่างๆ  เป็นประจำทุกปี
สำหรับในระดับชาตินั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบความสำเร็จในการใช้ดนตรีเป็นภาษาสากล สร้างมิตรภาพระหว่างประเทศได้อย่างงดงาม
ดังเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนิน เยือนสหรัฐอเมริกา ในปี 2503 ระหว่างงานถวายเลี้ยงพระกระยาหารค่ำที่วอชิงตันเพลส  ทรงได้รับการกราบบังคมทูลเชิญให้ร่วมบรรเลงดนตรีกับวงดนตรีที่จัดแสดงถวาย หน้าพระที่นั่ง โดยไม่ได้ทรงเตรียมพระองค์มาก่อน สร้างความประทับใจแก่ผู้ร่วมงานในวันนั้นอย่างยิ่ง และยังได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงดนตรีร่วมกับวงดนตรีของนายเบนนี่ กู๊ดแมน นักดนตรี
แจ๊สระดับโลก ที่มหานครนิวยอร์ค ซึ่งทรงสามารถบรรเลงโต้ตอบได้อย่างครื้นเครง จนได้รับการถวายคำยกย่องในฐานะทรงเป็นนักดนตรีแจ๊สที่มีอัจฉริยภาพสูง

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2045: 3 เม.ย. 13, 10:12 น

13 เพลงพระราชนิพนธ์ (อัครศิลปิน)
ในคืนวันส่งท้ายปี 2494 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเพลง “พรปีใหม่” เป็นของขวัญชิ้นใหญ่ให้กับพสกนิกร แต่นั่นไม่ใช่บทเพลงแรกที่องค์อัครศิลปินได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องดนตรีนานาชนิด มาแต่เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช และเมื่อมีโอกาสจึงได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงของพระองค์เอง โดยทรงพระราชนิพนธ์เพลงแสงเทียน อันมีทำนองเป็นเพลงบลูส์ขึ้นเป็นเพลงแรก เมื่อ พ.ศ.2489 และนับจากนั้นเป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงใหม่ๆ โดยในระยะแรกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานให้ครูเอื้อ สุนทรสนาน นำไปบรรเลงในวงดนตรีสุนทราภรณ์
สถาบันการดนตรีและศิลปะ แห่งกรุงเวียนนา ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสถาบันให้กับพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐออสเตรีย อย่างเป็นทางการ ในปี 2507  นับเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับการยกย่องจากสถาบันแห่งนี้ อันเป็นเครื่องยืนยันถึงพระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ที่ได้แซ่ซ้องไปไกลถึงนครแห่งดนตรีคลาสสิกอันลือชื่อของทวีปยุโรป สมกับที่พสกนิกรชาวไทยน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญา “อัครศิลปิน” โดยแท้

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2046: 3 เม.ย. 13, 10:15 น

14 ภาพวาดฝีพระหัตถ์
จิตรกรรมเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัย มาตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ โดยทรงเริ่มศึกษาวิธีวาด และฝึกเขียนภาพด้วยพระองค์เอง หากแต่งานจิตรกรรมของพระองค์ได้เริ่มต้นอย่างจริงจัง เมื่อประมาณ พ.ศ.2502 ภายหลังที่เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ทรงใช้เวลาว่างจากพระราชภารกิจมาทรงเขียนภาพ ซึ่งโดยมากจะเป็นพระสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทุกพระองค์
และเมื่อคราว สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี กรมศิลปากรได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาติ ให้จัดนิทรรศการจิตกรรมฝีพระหัตถ์ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าชมผลงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ในพระองค์
หากแต่พระราช ภารกิจเพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาด้านต่างๆ ทำให้ต้องทรงอุทิศเวลาส่วนใหญ่ เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของราษฎร จึงไม่ทรงมีเวลาสร้างสรรค์ผลงานด้านจิตรกรรม แต่ถึงกระนั้นก็ทรงมีภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ที่เผยแพร่ไปแล้วถึง 47 ภาพ และที่ยังไม่เคยเผยแพร่อีกกว่า 60 ภาพ นับได้ว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีความสามารถ และเชี่ยวชาญในด้านจิตรกรรมอย่างแท้จริง

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2047: 3 เม.ย. 13, 10:17 น

15 พระราชนิพนธ์
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ“ในหลวง” ของพวกเรา
“ ถึงวัดเบญจมบพิตร รถแล่นเร็วขึ้นได้บ้างตามทางที่ผ่านมาได้ยินเสียงใครคนหนึ่งร้องขึ้นมาดังๆ ว่า อย่าละทิ้งประชาชน  อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่าถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าจะละทิ้งได้อย่างไร “
บทพระราชนิพนธ์ “ เมื่อข้าพเจ้าจากสยามสู่สวิตเซอร์แลนด์ “  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ในรูปแบบของการบันทึกความทรงจำ ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อทีประเทศ สวิตเซอร์แลนด์   และได้พระราชทานให้ตีพิมพ์ลงในนิตยสารวงวรรณคดี นี่คือพระอัจฉริยภาพด้านวรรณกรรม ที่พระองค์สนพระราชหฤทัยมาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์
พ.ศ. 2537 ทรงแปลหนังสือเรื่อง นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ของวิลเลียม สตีเวนสัน จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ เรื่อง A Man called Intrepid
ใน ปีต่อมาพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัวทรงแปลหนังสือเรื่อง ติโต จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ของฟิลลิส ออติ  ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวประวัติของนายพลติโต
พระราชนิพนธ์แปล ทั้ง 2 เรื่อง สะท้อนถึงพระวิริยะอุตสาหะของพระองค์ และ พระปรีชาสามารถด้านภาษาที่โดดเด่น
นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ และ ติโต  เป็นหนังสือที่มียอดการพิมพ์ซ้ำอย่างต่อเนื่อง และมียอดจัดจำหน่ายรวมกันมากกว่า 250000เล่ม

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2048: 3 เม.ย. 13, 10:19 น

16 พระอัจฉริยภาพด้านการช่าง
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

ที่ พระตำหนัก วิลล่าวัฒนา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เจ้านายพระองค์น้อยทรงเอาพระหทัยใส่ประดิษฐ์ของเล่นด้วยพระองค์เองอยู่เสมอ และนี่คือ ที่มาของความที่ทรงเป็นนักประดิษฐ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อเจริญพระชันษา ความสนพระราชหฤทัยในกีฬาเรือใบ ได้ชักนำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดที่จะต่อเรือใบพระที่นั่งด้วยพระองค์เอง
เริ่ม จากเรือใบลำแรกที่ทรงต่อเอง เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2507 เป็นเรือใบประเภทเอ็นเตอร์ไพรส โดยทรงต่อตามแบบสากล และพระราชทานชื่อว่า เรือราชปะแตน
นับจากเรือราชปะแตน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงต่อเรือใบอีกหลายลำ แต่ก็ล้วนเป็นการต่อเรือตามแบบสากลทั้งสิ้น จนกระทั่งในปี 2509 ก็ได้ทรงออกแบบและต่อเรือใบประเภทม็อธด้วยพระองค์เอง ที่ชาวไทยรู้จักดีในชื่อ เรือมด ตามมาด้วยเรือซุปเปอร์มด และไมโครมด ในเวลาต่อมา
นับได้ว่า ทรงเป็นแบบฉบับให้นักประดิษฐ์ไทยได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ในการคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ อันจะนำไปสู่การพึ่งตนเองอย่างมีประสิทธิภาพตลอดไป

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2049: 3 เม.ย. 13, 10:37 น

โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา
17 พระมหากษัตริย์นักกีฬา
วันที่ 16 ธันวาคมของทุกปี ถือเป็นวันสำคัญของปวงชนชาวไทย เพราะนอกจากจะเป็นวันกีฬาแห่งชาติแล้ว ยังเป็นวันที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ จัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ขึ้น เมื่อ พ.ศ.2510
และในวันนั้นเอง พสกนิกรชาวไทยก็ได้มีโอกาสชื่นชมพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะนักกีฬาเรือใบทีมชาติไทย ตลอดระยะเวลาการแข่งขัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติพระองค์เยี่ยงนักกีฬาทั่วไป จนกระทั่งในวันที่ 16 ธันวาคม 2510 พระมหากษัตริย์นักกีฬาของปวงชนชาวไทย ก็ได้ทรงยืนบนแท่นรับรางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง ร่วมกับนักกีฬาที่ชนะที่ 2 และที่ 3 จากการแข่งขันกีฬาเรือใบ ยังความปลาบปลื้มยินดีแก่พสกนิกรชาวไทยเป็นล้นพ้น
และนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์วงการกีฬาโลก ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ และทรงได้รับเหรียญทอง พระปรีชาสามารถในด้านกีฬาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงกีฬาเรือใบเท่านั้น แต่ทรงสนพระราชหฤทัยในกีฬาอีกหลายประเภท โดยทรงศึกษาข้อมูลของกีฬาแต่ละประเภทอย่างละเอียด รวมทั้งทรงฝึกฝน จนสามารถปฏิบัติได้อย่างดีอันเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักกีฬารุ่นหลัง

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2050: 3 เม.ย. 13, 10:43 น

โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา
18 โครงการแก้มลิง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักสังเกตธรรมชาติที่เปี่ยมด้วยพระ อัจฉริยภาพ ทั้งยังทรงพระปรีชาสามารถในการนำสิ่งที่ทรงสังเกตเห็นมาประยุกต์ใช้ในการ พัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆอยู่เสมอ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือแนวพระราชดำริโครงการแก้มลิง ซึ่งพระราชทานแก่คณะเจ้าหน้าที่ที่ดูแลปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพและ ปริมณฑล เมื่อวันที่14 พฤศจิกายน 2538 อันเป็นปีที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
ในครั้งนั้นพระองค์ทรงพระราชทานพระราชดำริไว้ว่า “…ลิงโดยทั่วไปที่เราส่งกล้วยให้ ลิงก็จะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว ๆ แล้วเอาไปเก็บที่แก้ม จะกินกล้วยเข้าไปไว้ที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี แล้วนำออกมาเคี้ยวและกลืนกินเข้าไปภายหลัง การนำเอากล้วยหรืออาหารมาสะสมไว้ที่กระพุ้งแก้มก่อนการกลืนนี้ เป็นพฤติกรรมตัวอย่างที่จะนำมาใช้ในการระบายน้ำท่วมออกจากพื้นที่ ที่น้ำท่วมขังบริเวณทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ”
โครงการแก้มลิง เป็นระบบการบริหารจัดการน้ำในฤดูน้ำหลาก เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วม ในพื้นที่เขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยการขุดลอกคูคลองต่างๆเพื่อระบายน้ำส่วนเกินออกจากพื้นที่ลุ่มให้ไหลมารวม กันในบ่อพักน้ำ ลักษณะเดียวกับที่ลิงสะสมกล้วยไว้ที่กระพุ้งแก้ม จนเมื่อน้ำในทะเลลดลงจึงค่อยระบายน้ำลงทะเล โดยการใช้ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก
นอกจากนี้ โครงการแก้มลิงตามแนวพระราชดำริ ยังมีประโยชน์ในการบำบัดน้ำเน่าเสีย ซึ่งเป็นปัญหาด้านสภาวะแวดล้อม โดยน้ำที่ปล่อยลงจากแก้มลิงจะช่วยเจือจางน้ำเน่าเสียในคลองต่างๆ ให้เบาบางลง แล้วจึงผลักออกสู่ทะเล
โครงการแก้มลิง จึงถือได้ว่าเป็นโครงการที่อาศัยธรรมชาติในการแก้ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริที่แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยะภาพในพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีความรู้จริงในธรรมชาติของน้ำ และสภาพภูมิประเทศในท้องที่ต่างๆ อย่างลึกซึ้ง

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2051: 3 เม.ย. 13, 10:45 น

โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา
19 ทฤษฎีใหม่
ใน ประเทศไทย มีเกษตรกรจำนวนมากมายมีที่ดินไม่ถึง20ไร่ และผูกติดชีวิตไว้กับฟ้าฝนเพียงอย่างเดียว พื้นที่เกษตรเล็กๆเหล่านั้นจึงไม่อาจผลิตพืชผลเพื่อขายเพียงพอที่จะเลี้ยง ปากท้องได้ทำอย่างไร ผืนดินจำนวนน้อยนิดอันเป็นต้นทุนเพียงอย่างเดียวของเกษตรกร จะสามารถหล่อเลี้ยงชีวิตของผู้เป็นเจ้าของได้อย่างพอเพียง ขณะเดียวกันก็สามารถป้องกันความเสี่ยงจากธรรมชาติที่ไม่แน่นอนได้ด้วยเหตุ นี้ พระพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระราชดำริเรื่องทฤษฎีใหม่ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ทุกข์ร้อนให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตพระราชดำริ ทฤษฎีใหม่ เป็นวิธีการที่จะช่วยให้เกษตรกรที่มีที่ดินจำนวนน้อย ใช้เป็นแนวทางในการจัดการที่ดินและน้ำ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแนวคิดของทฤษฏีใหม่ ใช้สำหรับการจัดการที่ดินแปลงเล็ก ประมาณ 10-15 ไร่ เพื่อช่วยให้เกษตรกรเลี้ยงตัวได้ มีข้าวพอกินตลอดปีโดยทรงกำหนดให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น4 ส่วน คือส่วนที่1 ขุดเป็นสระน้ำ 3 ไร่ส่วนที่2 ใช้ทำนาข้าว 5 ไร่ส่วนที่3 ให้ปลูกพืชชนิดต่างๆ 5 ไร่ เพื่อใช้เป็นอาหาร ให้เพียงพอตลอดทั้งปี หากเหลือจึงนำไปจำหน่ายส่วนที่4 ใช้เป็นที่อยู่อาศัย และเลี้ยงสัตว์อีก 5 ไร่ แนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนี้ ได้กลายมาเป็นประจักษ์ถึงความสำเร็จอันเกิดจากพระอัจฉริยภาพ และสายพระเนตรอันยาวไกลของพระองค์ ที่สามารถช่วยเหลือพสกนิกรให้พ้นทุกข์ยากในการดำรงชีวิตได้

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2052: 3 เม.ย. 13, 10:51 น

20 เขื่อน : ปราการ , พลังงาน และสายธารชีวิต
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระทัยในเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำ ดังจะเห็นได้จากทุกครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพภูมิประเทศและ เยี่ยมพสกนิกร ก็จะทรงสังเกตเส้นทางเดินของน้ำ การดำเนินชีวิตของมนุษย์และระบบนิเวศ ก่อนพระราชทานคำแนะนำให้ข้าราชการและราษฎรนำไปปฏิบัติ จนเกิดเป็นฝายกั้นน้ำ และเขื่อนหลายแห่งทั่วประเทศ
เขื่อนบางแห่งก็ได้รับพระราชทานชื่อตามพระ ปรมาภิไธย เช่น “เขื่อนภูมิพล” บางแห่งก็เป็นนามพระราชทาน เช่นเขื่อนรัชชประภา ที่มีความหมายว่าแสงสว่างแห่งรัชกาล เขื่อนขุนด่านปราการชล ที่เป็นชื่อรำลึกถึงวีรชนไทยในอดีต ยังมี เขื่อน***ัดสมบูรณ์ชล ซึ่งสร้างตามพระราชดำริ เขื่อนป่าสักชลสิทธ์ และอีกมากมาย ทั่วพระราชอาณาจักร
ประโยชน์ของเขื่อนตามพระราชดำรินั้น นอกเหนือจาก เพื่อนำพลังน้ำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อสนองความต้องการของประเทศแล้ว ยังส่งผลดีในในด้านการชลประทาน สามารถปล่อยน้ำในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ระบายออกไปใช้ในการเกษตร รวมทั้งเป็นปราการช่วยบรรเทาอุทกภัยในช่วงฤดูฝน และหลายแห่งยังอำนวยประโยชน์ ในด้านการประมงอีกด้วย
ผลพลอยได้อีกประการหนึ่ง ก็คือ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ นำรายได้สู่ชุมชนใกล้เคียง
การ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการมีเขื่อน และมีพระราชดำริสนับสนุนการทำงานเพื่อจัดการทรัพยากรน้ำ จึงเป็นคุนานุประการแก่ประเทศชาติและพสกนิกรไทยโดยทั่วกัน

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2053: 18 เม.ย. 13, 08:20 น

01 พระมหากษัตริย์นักพัฒนา
ตลอดระยะเวลาแห่งการครองสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ชนบททั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จึงทำให้ทรงทราบปัญหาความทุกข์ยากที่บังเกิดแก่พสกนิกรของพระองค์ และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดการดำเนินงานพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ปรากฏอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เป็นจำนวนมากมายเกินกว่าจะพรรณนาได้หมดสิ้น
งานพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกโครงการ ล้วนตั้งอยู่บนหลักการที่ทรงพระราชทานว่า “ทำให้ง่าย และให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ” แต่เบื้องหลังความง่ายดังกล่าวนั้น คือการกลั่นกรอง “ความรู้” และ”ความคิด” จากการค้นคว้าทดลองตามหลักวิชา นำมาปรับจากทฤษฎีให้เป็นทางปฏิบัติ ที่มีประสิทธิภาพสูง สอดคล้องกับสภาพของประเทศและเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในแต่ละภูมิภาค และเพราะปัญหา ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเฉพาะภูมิภาคใดภาคหนึ่งเท่านั้น
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงปรากฏให้เห็นแม้ในท่ามกลางมหานครของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงานด้านใดก็ตาม ข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่เป็นที่ประจักษ์มาโดยตลอดคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างที่ล้ำเลิศของงานพัฒนา ด้วยทรงให้ความสำคัญกับการค้นคว้า วิเคราะห์และทดลองครั้งแล้วครั้งเล่า ก่อนที่จะนำผลลัพธ์ที่ได้มาพระราชทานแก่ประชาชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ต่อไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือพระมหากษัตริย์ที่ทรงทำงานหนักที่สุด ทรงตรากตรำพระวรกาย
เพื่อพสกนิกรของพระองค์ เพื่อเป็นแนวทางสำคัญสำหรับประชาชาติไทย ในการริเริ่มสร้างสรรค์คุณประโยชน์ให้แก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติสืบไป
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2054: 18 เม.ย. 13, 08:25 น

02 ความพอเพียง
ในการพัฒนาประเทศนั้น จำเป็นต้องทำตามลำดับขั้นเริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือ ความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน ด้วยวิธีการที่ประหยัด ระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อพื้นฐานเกิดมั่นคงพอควรแล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญขั้นที่สูงขึ้นตามลำดับต่อไป
พระบรมราโชวาท เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2517
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของ การพึ่งตนเอง ความพอมีพอกิน พอมีพอใช้และการรู้จักความพอประมาณ ทรงเตือนสติประชาชนไม่ให้ประมาท มีคุณธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งแนวคิดดังกล่าว เป็นที่รู้จักกันดีภายใต้ชื่อว่า เศรษฐกิจพอเพียงทรงเน้นหลักการพึ่งตนเองในระดับครอบครัว ผสานกับความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างความเข้มแข็งในระดับท้องถิ่น ก่อนที่จะเชื่อมโยงสู่ระบบธุรกิจในสังคมภายนอก
อีกทั้งยังพระราชทานแนวพระราชดำริ ให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและภาคประชาชนเข้าร่วมมือกัน เพื่อศึกษาและพัฒนากิจการเกษตรกรรมของไทยอย่างจริงจัง ด้วยทรงตระหนักดีว่า การเกษตรนี้เองที่เป็นรากฐานอันแท้จริง ให้กับพัฒนาการที่ยั่งยืนของประเทศดังพระราชดำรัสที่ว่า “ ถ้าชนบทอยู่ได้ บ้านเมืองก็อยู่ได้”
ผลลัพธ์จากสายพระเนตรอันยาวไกลของพระองค์ สำแดงให้เป็นที่ประจักษ์ชัดทุกครั้งที่เศรษฐกิจของประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤติ และประชาชนชาวไทยทุกฝ่ายทุกระดับ ต่างก็ต้องหันมาทบทวนทิศทางของการพัฒนาประเทศเท่าที่ผ่านมา
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงพระราชทาน จึงนับเป็นแบบอย่างที่ดีให้คน ไทย ได้ดำเนินชีวิตบนทางสายกลาง มีความขยันหมั่นเพียรในการประกอบสัมมาชีพ รู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รักการประมาณตน และดำรงชีวิตอย่างรู้จัก คิด อยู่ ใช้ กิน อย่างพอเพียง
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2055: 18 เม.ย. 13, 08:27 น

03 นาข้าวของในหลวง
รากฐานของสังคมไทยเป็นสังคมแบบเกษตรกรรม ข้าว คือสายใยชีวิตที่สร้างความอยู่เย็นเป็นสุขมาช้านาน“ ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาและทดลองทำนามาบ้าง และทราบดีว่าการทำนานั้นมีความยากลำบาก และเป็นอุปสรรค์อยู่ไม่น้อย..”
พระราชปณิธานหนึ่งขององค์พระมหากษัตริย์มีอยู่ว่า จะทำอย่างไรให้ชาวนาอยู่ได้ตามอัตภาพ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกนักที่เราจะเห็น พระองค์ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจอันเกี่ยวข้องกับการเกษตรอย่างมากมาย และยิ่งได้ทราบว่าในสวนจิตรลดา ซึ่งเป็นเขตพระราชฐานมีทุ่งนาอันเป็นโครงการส่วนพระองค์แล้ว ยิ่งย้ำชัดว่าพระองค์ทรงให้ความสำคัญเพียงไรกับการเกษตรกรรม
ย้อนกลับไปในช่วงปี พุทธศักราช 2479 – 2502 พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญได้ว่างเว้นไป เพียงจัดให้มีพระราชพิธีพืชมงคลเท่านั้น จนกระทั่งในปี พุทธศักราช 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ ทรงโปรดให้ฟื้นฟูพระราชพิธี จรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นอีก และปรับปรุงให้เหมาะกับยุคสมัย และปฏิบัติสืบมามิได้ขาด ด้วยทรงเห็นว่า เป็นการรักษาพระราชประเพณีอันดีงาม มีผลในการบำรุงขวัญและจิตใจของคนไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร
จนถึงวันนี้ เป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว ที่ความรู้ และเมล็ดพันธุ์พระราชทานจากโครงการนาข้าวสาธิต ได้แจก่ายไปยังเกษตรกรทั่วประเทศเพื่อเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคล ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมต่อไป
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2056: 18 เม.ย. 13, 09:38 น

04 กังหันน้ำชัยพัฒนา
จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ซึ่งนับวันมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้น บางพื้นที่น้ำเน่าเสีย จนทำให้สัตว์ตายเป็นจำนวนมาก ประชาชนเองก็ไม่สามารถนำน้ำมาอุปโภคบริโภคได้
ด้วยพระเมตตาที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ของประชาชน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานแนวพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบประหยัดค่าใช้ จ่ายที่สามารถผลิตขึ้นได้เองในประเทศไทย โดยมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่ง เบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสีย
พระองค์ทรงนำภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่เรียกว่า “หลุก” มาเป็นต้นแบบในการพัฒนา โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมในมูลนิธิชัยพัฒนา และกรมชลประทานสนองพระราชดำริในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี จนกลายมาเป็นที่รู้จักกันดี ในนามของ “กังหันน้ำชัยพัฒนา”
สิ่งหนึ่งที่พสกนิกรไทยภูมิใจก็คือ สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้เกิดขึ้นจากฝีพระหัตถ์ และพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่ปวงชนชาว ไทย ทั้งยังได้รับสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นระดับโลก จากงานนิทรรศการแสดงสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ครั้งที่ 49 ณ ราชอาณาจักรเบลเยี่ยมถึง 5 รางวัล
พระเกียรติคุณนี้มิเพียงขจรขจายไปทั่วแผ่นดินไทยเท่านั้น แต่ยังแพร่ขยายไปสู่ชุมชนชาวโลกอย่างกว้างขวางอีกด้วย
จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ซึ่งนับวันมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้น บางพื้นที่น้ำเน่าเสีย จนทำให้สัตว์ตายเป็นจำนวนมาก ประชาชนเองก็ไม่สามารถนำน้ำมาอุปโภคบริโภคได้
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2057: 18 เม.ย. 13, 09:41 น

05 หญ้าแฝก กำแพงที่มีชีวิต
จากสภาพความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน อันเนื่องมาจากฝนตกหนัก และน้ำไหลบ่าอย่างรุนแรง ทำให้ผิวดินถูกกัดเซาะจนสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ เป็นเหตุให้ดินพังทลาย ส่งผลเสียหายต่อพื้นที่ทำการเกษตร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงปัญหา และสาเหตุที่เกิดขึ้น จึงทรงศึกษาศักยภาพของ “หญ้าแฝก” ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และช่วยรักษาความชุ่มชื้นของน้ำใต้ดินไว้
หญ้าแฝก เป็นพืชพื้นบ้านที่ทำหน้าที่เสมือนกำแพงธรรมชาติที่มีชีวิต ช่วยชะลอการไหลของน้ำ และแรงปะทะของลม คอยกักกั้นตะกอนดิน ไม่ให้หน้าดินพังทลาย ซึ่งเกษตรกรสามารถนำมาปลูกโดยไม่ต้องดูแลมากนัก อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าจ่าย
สถาบัน international erosion control association หรือ IECA ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล international merit award และธนาคารโลก ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายรางวัลรากหญ้าชุบสำริด แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการสดุดีพระเกียรติคุณ และพระปรีชาสามารถในฐานะที่ทรงเป็นนักอนุรักษ์ดินและน้ำ
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2534 มาจนถึงปัจจุบัน ผลสำเร็จของโครงการพระราชดำริเรื่อง “หญ้าแฝก” ไดพลิกฟื้นคืนชีวิตให้กับแผ่นดิน นำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์อีกครั้ง
วันนี้หญ้าแฝกจึงมิได้เป็นเพียงต้นหญ้าที่ไร้ค่า แต่เป็น “ต้นหญ้ามหัศจรรย์” ที่มีอเนกอนันต์ต่อผืนแผ่นดินไทย
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2058: 18 เม.ย. 13, 09:46 น

06 สายฝนแห่งน้ำพระราชหฤทัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ทุรกันดารหลากหลายจังหวัดอย่างไม่เคยว่าง เว้น ด้วยทรงตระหนักดีถึงปัญหาความแห้งแล้ง จากภาวะฝนทิ้งช่วงที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนของฤดูกาล
ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ขณะที่พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณเทือกเขาภูพานนั้น ทรงสังเกตเห็นว่าบนท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมอยู่มาก แต่ไม่สามารถรวมตัวกันเกิดฝนได้ ด้วยพระปรีชาญาณอันลึกซึ้ง จึงทรงมีพระราชดำริที่จะค้นหาวิธีการทำฝนตกด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ ที่เรียกว่า “ฝนเทียม” และได้มีการจัดตั้ง “สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง” ขึ้น ใน พ.ศ. 2512 โดยทรงร่วมศึกษาทดลอง และติดตามการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดด้วยพระองค์เอง ไม่เว้นแม้แต่การทดลองปฏิบัติการจริงบนท้องฟ้าครั้งแรก ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ยังความปลื้มปีติ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแก่คณะผู้ปฏิบัติการ และอาณาประชาราษฎร์อย่างหาที่สุดมิได้
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2059: 18 เม.ย. 13, 09:50 น

07 มูลนิธิโครงการหลวง
กว่า 30 ปีแล้ว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่สูง ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารที่สำคัญของประเทศ และเป็นที่อยู่อาศัยของชาวไทยภูเขา
ด้วยพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกล จึงก่อให้เกิด “มูลนิธิโครงการหลวง” ตามแนวพระราชประสงค์ เพื่อลดปัญหาการปลูกฝิ่น และการตัดไม้ทำลายป่า อนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร และช่วยชาวเขาที่มีฐานะยากจนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ให้ยั่งยืน
การดำเนินงานของโครงการหลวง จากอดีตถึงปัจจุบัน ได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ ที่เคยถูกบุกรุกทำลายจากการปลูกฝิ่น ให้กลายเป็นผืนดินที่ได้รับการปกป้อง เป็นป่าอนุรักษ์ และแหล่งผลิตพืชเศรษฐกิจอันอุดมสมบูรณ์ ที่ให้ผลผลิตงดงาม ผู้คนมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีที่ดินทำกินอย่างถาวร โดยไม่ต้องอพยพ เร่รอนอีกต่อไป
ผลงานของมูลนิธิโครงการหลวงเป็นที่แพร่หลายและยอมรับ ถึคงความสำเร็จในการกำจัดสารเสพติดโดยสันติวิธี ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขา การส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ ประจำปี 2531
ปัจจุบันโครงการหลวงมีการค้นคว้าวิจัยทางการเกษตรในที่สูง ซึ่งเป็นเกษตรสาขาใหม่ที่ช่วยพัฒนาให้สามารถปลุกพืชเมืองหนาวที่มีราคาแพงใน เมืองไทยได้ นับเป็นการพัฒนาการเกษตรและช่วยเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่งด้วย
มูลนิธิโครงการหลวง จึงมิได้ช่วยเหลือเฉพาะคนบนดอยสูงเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อคนทั้งประเทศและทั้งโลก
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2060: 18 เม.ย. 13, 09:52 น

08 พระปรีชาสามารถทางการทูต
ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนต่างประเทศอีกเพียงครั้งเดียว คือเมื่อพุทธศักราช 2538 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เนื่องจากมีพระราชดำริว่า มีพระราชประสงค์ที่จะประทับใกล้ชิดกับพสกนิกรของพระองค์ เพื่อช่วยเหลือพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรให้มากที่สุด
แม้จะทรงให้ความสำคัญต่อพระราชภารกิจภายในประเทศอย่างยิ่ง หากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็มิเคยละเลยพระราชภารกิจ เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีกับมิตรประเทศต่างๆ ด้วยการทรงต้อนรับพระประมุข และ ประมุข ของประเทศต่างๆ ที่เสด็จพระราชดำเนิน และ เดินทางมาเยือนประเทศไทย ในฐานะพระราชอาคันตุกะ
อีกทั้งยังโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้บรรดา ทูตานุทูต ของประเทศต่างๆ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระราชสาสน์ และ สาส์นตราตั้งในการเข้ามารับตำแหน่งใน ประเทศไทย และกราบบังคมทูลลาเมื่อครบวาระ
นี่คือพระมหากรุณาธิคุณ และพระปรีชาสามารถของล้นเกล้า ล้นกระหม่อม ที่ช่วยให้ประเทศไทย ยังคงกระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ได้อย่างแน่นแฟ้น ไม่เว้นแม้ขณะกำลังทรงงานหนักเพื่อปากท้องของพสกนิกรของพระองค์
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2061: 18 เม.ย. 13, 09:54 น

09 แพทย์พระราชทาน
ทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยือนราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดารก็มักเนืองแน่น ไปด้วยพสกนิกรที่มาเฝ้ารอชมพระบารมี แม้แต่ผู้มีร่างกายพิการทุพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ด้วยเป็นชาวบ้าน * * * งไกลสถานพยาบาล ก็ยังมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรอรับเสด็จ ขอเพียงได้เห็นพระผู้เป็นมิ่งขวัญสักครั้งในชีวิต ภาพที่พระองค์ได้ทอดพระเนตร ทำให้ทรงกังวลพระราชหฤทัย ด้วยทรงเห็นว่า ประชาชนเป็นทรัพยากรที่สำคัญของชาติ ถ้าประชาชนสุขภาพไม่ดี ก็จะไม่สามารถประกอบอาชีพการงานและพัฒนาประเทศชาติให้เจริญได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานแพทย์หลวงให้รักษาราษฎรเหล่านั้น ให้มีสุขภาพดี จนกลายเป็นธรรมเนียมว่า ทุกที่ที่เสด็จพระราชดำเนินจะมีแพทย์หลวงพระราชทานแก่ราษฎรผู้เจ็บไข้ของ พระองค์เสมอ จากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน ขยายผลสู่โครงการแพทย์เฉพาะทาง มีทั้งหน่วยทันตแพทย์, ศัลยแพทย์อาสา, แพทย์หู คอ จมูกหน่วยจักษุแพทย์ และหน่วยแขนขาเทียมพระราชทาน พระเมตตาที่ทรงมีต่อพสกนิกร ทำให้ไม่ว่าจะเสด็จพระราชดำเนินไปยังแห่งหนใด จำนวนราษฎรที่มารอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับเสด็จก็จะเพิ่มมากขึ้นทุกครั้งไป
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2062: 18 เม.ย. 13, 10:00 น

10 พลังงานทดแทน
ท่ามกลางความต้องการในการใช้น้ำมันดีเซลที่เพิ่มมากขึ้น และราคาของน้ำมันดีเซลที่ขยับตัวสูงขึ้น ล้วนส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมองเห็นคุณค่าของปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นวัตถุดิบในท้องถิ่นที่มีศักยภาพสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนได้ และถึงแม้ว่า น้ำมันเชื้อเพลิงจากฟอสซิล อาจหมดลงในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า แต่ประเทศไทยก็ยังมีแหล่งน้ำมันที่เราสามารถปลูกและผลิตขึ้นได้เอง
พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย และให้ทดลองนำปาล์มน้ำมันมาสกัดเป็นน้ำมันไบรโอดีเซล ซึ่งสามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ อีกทั้งยังไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
น้ำมัน ไบรโอดีเซล เป็นอีกหนึ่งใน โครงการตามแนวพระราชดำริ ที่จะช่วยให้ราษฎรสามารถยืนหยัดและพึ่งพาตนเองได้ ด้วยวิถีกสิกรรมผสมผสานกับเทคโนโลยี สมัยใหม่ ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอกลง
น้ำมันไบรโอดีเซล พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นประจักษ์พยานถึงพระอัจฉริยภาพ ที่พระราชทานแนวทางใหม่ในการพัฒนาเชื้อเพลิงทดแทนภายในประเทศให้เป็นแหล่ง พลังงานที่ยั่งยืน เพื่อเศรษฐกิจ เพื่อสิ่งแวดล้อม และเพื่ออนาคตที่ดีของเราทุกคน

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2063: 18 เม.ย. 13, 10:04 น

11 ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์
ทุกครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎร นอกจากแผนที่อันเป็นอุปกรณ์คู่พระราชหฤทัยแล้ว อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ กล้องถ่ายภาพคู่พระหัตถ์ที่อยู่เคียงกันไปในทุกแห่ง ไม่ว่าจะเสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎร เสด็จไปทรงงานตามพื้นที่ต่างๆหือแม้แต่เสด็จมาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราชเพื่อรักษาพระอาการประชวร
พระราชอัธยาศัยโปรดการถ่ายภาพนี้ทรงได้ต้นแบบมาจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรม ราชชนนี มาตั้งแต่เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ โดยทรงเริ่มจากกล้องถ่ายภาพชนิดที่ไม่มีเครื่องวัดแสงในตัว ทำให้ต้องใช้พระราชวิจารณญาณอย่างละเอียดรอบคอบ และพระปรีชาสามารถส่วนพระองค์ในการถ่ายภาพแต่ละครั้ง
นอกจากนี้ยังทรงใช้พื้นที่บริเวณชั้นล่างอาคารสถานีวิทยุ อ.ส. เป็นห้องมืดสำหรับล้างฟิล์ม และอัดขยายภาพ ตามพระราชประสงค์ที่จะทรง “สร้างภาพ” ให้เป็นศิลปะถูกต้อง และรวดเร็วด้วยพระองค์เอง
แต่เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ จึงเปลี่ยนรูปแบบจากงานถ่ายภาพสวยงามเพื่อศิลปะมาเป็นภาพถ่ายที่ทรงใช้เพื่อ ประกอบการทรงงานของพระองค์
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงถ่ายภาพเพื่อศิลปะแต่เพียงอย่างเดียว แต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศชาติ นำความผาสุกร่มเย็นมาสู่ประชาชนชาวไทยได้อย่างดี

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2064: 18 เม.ย. 13, 10:08 น

12 พระมหากษัตริย์นักดนตรี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักดนตรีที่มีพระปรีชาสามารถสูงพระองค์หนึ่ง และได้ทรงใช้พระปรีชาสามารถนี้ให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสัมพันธภาพอันดี ให้เกิดขึ้นในมวลมนุษยชาติ
“วันทรงดนตรี” เป็นหนึ่งในตัวอย่างของการที่ทรงนำพระอัจฉริยภาพด้านดนตรีมาใช้เป็นสื่อกลาง ในการสร้างความสมานฉันท์ โดยได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ไปทรงดนตรียังมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นประจำทุกปี
สำหรับในระดับชาตินั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบความสำเร็จในการใช้ดนตรีเป็นภาษาสากล สร้างมิตรภาพระหว่างประเทศได้อย่างงดงาม
ดังเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา ในปี 2503 ระหว่างงานถวายเลี้ยงพระกระยาหารค่ำที่วอชิงตันเพลส ทรงได้รับการกราบบังคมทูลเชิญให้ร่วมบรรเลงดนตรีกับวงดนตรีที่จัดแสดงถวาย หน้าพระที่นั่ง โดยไม่ได้ทรงเตรียมพระองค์มาก่อน สร้างความประทับใจแก่ผู้ร่วมงานในวันนั้นอย่างยิ่ง และยังได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงดนตรีร่วมกับวงดนตรีของนายเบนนี่ กู๊ดแมน นักดนตรี
แจ๊สระดับโลก ที่มหานครนิวยอร์ค ซึ่งทรงสามารถบรรเลงโต้ตอบได้อย่างครื้นเครง จนได้รับการถวายคำยกย่องในฐานะทรงเป็นนักดนตรีแจ๊สที่มีอัจฉริยภาพสูง

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2065: 18 เม.ย. 13, 10:11 น

13 เพลงพระราชนิพนธ์ (อัครศิลปิน)
ในคืนวันส่งท้ายปี 2494 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเพลง “พรปีใหม่” เป็นของขวัญชิ้นใหญ่ให้กับพสกนิกร แต่นั่นไม่ใช่บทเพลงแรกที่องค์อัครศิลปินได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องดนตรีนานาชนิด มาแต่เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช และเมื่อมีโอกาสจึงได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงของพระองค์เอง โดยทรงพระราชนิพนธ์เพลงแสงเทียน อันมีทำนองเป็นเพลงบลูส์ขึ้นเป็นเพลงแรก เมื่อ พ.ศ.2489 และนับจากนั้นเป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงใหม่ๆ โดยในระยะแรกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานให้ครูเอื้อ สุนทรสนาน นำไปบรรเลงในวงดนตรีสุนทราภรณ์
สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสถาบันให้กับพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐออสเตรีย อย่างเป็นทางการ ในปี 2507 นับเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับการยกย่องจากสถาบันแห่งนี้ อันเป็นเครื่องยืนยันถึงพระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ที่ได้แซ่ซ้องไปไกลถึงนครแห่งดนตรีคลาสสิกอันลือชื่อของทวีปยุโรป สมกับที่พสกนิกรชาวไทยน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญา “อัครศิลปิน” โดยแท้

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2066: 18 เม.ย. 13, 10:14 น

14 ภาพวาดฝีพระหัตถ์
จิตรกรรมเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัย มาตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ โดยทรงเริ่มศึกษาวิธีวาด และฝึกเขียนภาพด้วยพระองค์เอง หากแต่งานจิตรกรรมของพระองค์ได้เริ่มต้นอย่างจริงจัง เมื่อประมาณ พ.ศ.2502 ภายหลังที่เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ทรงใช้เวลาว่างจากพระราชภารกิจมาทรงเขียนภาพ ซึ่งโดยมากจะเป็นพระสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทุกพระองค์
และเมื่อคราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี กรมศิลปากรได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาติ ให้จัดนิทรรศการจิตกรรมฝีพระหัตถ์ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าชมผลงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ในพระองค์
หากแต่พระราชภารกิจเพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาด้านต่างๆ ทำให้ต้องทรงอุทิศเวลาส่วนใหญ่ เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของราษฎร จึงไม่ทรงมีเวลาสร้างสรรค์ผลงานด้านจิตรกรรม แต่ถึงกระนั้นก็ทรงมีภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ที่เผยแพร่ไปแล้วถึง 47 ภาพ และที่ยังไม่เคยเผยแพร่อีกกว่า 60 ภาพ นับได้ว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีความสามารถ และเชี่ยวชาญในด้านจิตรกรรมอย่างแท้จริง

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2067: 18 เม.ย. 13, 10:17 น

15 พระราชนิพนธ์
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ“ในหลวง” ของพวกเรา
“ ถึงวัดเบญจมบพิตร รถแล่นเร็วขึ้นได้บ้างตามทางที่ผ่านมาได้ยินเสียงใครคนหนึ่งร้องขึ้นมาดังๆ ว่า อย่าละทิ้งประชาชน อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่าถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าจะละทิ้งได้อย่างไร “
บทพระราชนิพนธ์ “ เมื่อข้าพเจ้าจากสยามสู่สวิตเซอร์แลนด์ “ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ในรูปแบบของการบันทึกความทรงจำ ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อทีประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ และได้พระราชทานให้ตีพิมพ์ลงในนิตยสารวงวรรณคดี นี่คือพระอัจฉริยภาพด้านวรรณกรรม ที่พระองค์สนพระราชหฤทัยมาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์
พ.ศ. 2537 ทรงแปลหนังสือเรื่อง นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ของวิลเลียม สตีเวนสัน จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ เรื่อง A Man called Intrepid
ในปีต่อมาพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัวทรงแปลหนังสือเรื่อง ติโต จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ของฟิลลิส ออติ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวประวัติของนายพลติโต
พระราชนิพนธ์แปล ทั้ง 2 เรื่อง สะท้อนถึงพระวิริยะอุตสาหะของพระองค์ และ พระปรีชาสามารถด้านภาษาที่โดดเด่น
นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ และ ติโต เป็นหนังสือที่มียอดการพิมพ์ซ้ำอย่างต่อเนื่อง และมียอดจัดจำหน่ายรวมกันมากกว่า 250000เล่ม

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2068: 18 เม.ย. 13, 10:24 น

16 พระอัจฉริยภาพด้านการช่าง
โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา

ที่พระตำหนัก วิลล่าวัฒนา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เจ้านายพระองค์น้อยทรงเอาพระหทัยใส่ประดิษฐ์ของเล่นด้วยพระองค์เองอยู่เสมอ และนี่คือ ที่มาของความที่ทรงเป็นนักประดิษฐ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อเจริญพระชันษา ความสนพระราชหฤทัยในกีฬาเรือใบ ได้ชักนำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดที่จะต่อเรือใบพระที่นั่งด้วยพระองค์เอง
เริ่มจากเรือใบลำแรกที่ทรงต่อเอง เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2507 เป็นเรือใบประเภทเอ็นเตอร์ไพรส โดยทรงต่อตามแบบสากล และพระราชทานชื่อว่า เรือราชปะแตน
นับจากเรือราชปะแตน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงต่อเรือใบอีกหลายลำ แต่ก็ล้วนเป็นการต่อเรือตามแบบสากลทั้งสิ้น จนกระทั่งในปี 2509 ก็ได้ทรงออกแบบและต่อเรือใบประเภทม็อธด้วยพระองค์เอง ที่ชาวไทยรู้จักดีในชื่อ เรือมด ตามมาด้วยเรือซุปเปอร์มด และไมโครมด ในเวลาต่อมา
นับได้ว่า ทรงเป็นแบบฉบับให้นักประดิษฐ์ไทยได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ในการคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ อันจะนำไปสู่การพึ่งตนเองอย่างมีประสิทธิภาพตลอดไป

Tags:
add
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
Re : เทิดทูนสถาบัน
        ความคิดเห็นที่ #2069: 18 เม.ย. 13, 10:27 น

โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา
17 พระมหากษัตริย์นักกีฬา
วันที่ 16 ธันวาคมของทุกปี ถือเป็นวันสำคัญของปวงชนชาวไทย เพราะนอกจากจะเป็นวันกีฬาแห่งชาติแล้ว ยังเป็นวันที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ จัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ขึ้น เมื่อ พ.ศ.2510
และในวันนั้นเอง พสกนิกรชาวไทยก็ได้มีโอกาสชื่นชมพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะนักกีฬาเรือใบทีมชาติไทย ตลอดระยะเวลาการแข่งขัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติพระองค์เยี่ยงนักกีฬาทั่วไป จนกระทั่งในวันที่ 16 ธันวาคม 2510 พระมหากษัตริย์นักกีฬาของปวงชนชาวไทย ก็ได้ทรงยืนบนแท่นรับรางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง ร่วมกับนักกีฬาที่ชนะที่ 2 และที่ 3 จากการแข่งขันกีฬาเรือใบ ยังความปลาบปลื้มยินดีแก่พสกนิกรชาวไทยเป็นล้นพ้น
และนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์วงการกีฬาโลก ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ และทรงได้รับเหรียญทอง พระปรีชาสามารถในด้านกีฬาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงกีฬาเรือใบเท่านั้น แต่ทรงสนพระราชหฤทัยในกีฬาอีกหลายประเภท โดยทรงศึกษาข้อมูลของกีฬาแต่ละประเภทอย่างละเอียด รวมทั้งทรงฝึกฝน จนสามารถปฏิบัติได้อย่างดีอันเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักกีฬารุ่นหลัง

Tags:

หน้า: 1 ... 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 ... 153
ตอบ
ชื่อ:
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา


[เพิ่มเติม]
ขอความร่วมมือท่านสมาชิก และผู้ใช้บริการเว็บบอร์ด
ห้ามมิให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ทั้งเนื้อหาและภาพของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ: พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
:  
ทางสนุก! จะทำการตรวจสอบ
และขออนุญาตไม่แสดงข้อความ
ที่ไม่เหมาะสม ข้อความที่
ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่
สถาบันชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ รวมถึงข้อความที่
เข้าข่ายหลอกลวง การเผยแพร่
ภาพลามกอนาจาร หรือข้อความ
ใดๆ ที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความ
เสียหาย บนกระทู้นี้