หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: เราจะป้องกันน้ำท่วมในปีหน้าและปีต่อไปอย่างไร?  (อ่าน 50 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 7 ต.ค. 11, 23:18 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

แผนป้องกันน้ำท่วมปีนี้คงไม่ต้องพูดถึง เพราะท่วมแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของชาวไทยทุกคนต้องร่วมใจกันช่วยคนละไม้คนละมือ และควรช่วยกันระดมความคิดว่าจะมีวิธีการใด ที่จะป้องกันไม่ให้น้ำท่วมมากมายขนาดนี้อีกในอนาคต ความเห็นผมคิดว่าแทนที่เราจะใช้พื้นที่นาเป็นที่รับน้ำ ซึ่งหมายถึงนาข้าวต้องเสียหายมากมาย และวันนี้เราได้เห็นแล้วว่าโรงงานอุตสาหกรรมเสียหายอย่างหนัก เราน่าจะหาวิธีระบายน้ำลงทะเลให้เร็วที่สุด โดยให้ท่วมน้อยที่สุด เช่นอาจจะสร้างอุโมงค์ยักษ์แบบกทม.เป็นโครงข่าย ส่วนจะเริ่มบริเวณไหนที่จะประหยัดงบที่สุดคงเป็นขั้นต่อไปที่จะคิดกัน อาจจะใช้เวลาหลายปีก็ยังดีกว่าต้องเสียหายปีละนับแสนล้าน

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 7 ต.ค. 11, 23:42 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
มาเป็นกำลังใจให้ q*073q*073

Submit Site Story

BQ-PD
blog backlink | seo | Submit
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 7 ต.ค. 11, 23:46 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ไอเดียที่หนึ่งครับ q*021

http://webboard.news.sanook.com/forum/?topic=3503259.msg17580815#msg17580815

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Guest
สายไหม
เรทกระทู้
« ตอบ #3 เมื่อ: 8 ต.ค. 11, 01:00 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

การป้องกันน้ำท่วมคงจะเป็นปัญหาใหญ่ เพราะต่อไปสภาพอากาศที่แปรปรวน คาดคะแนอากาศในแต่ละปีไม่ได้แน่นอน ปีต่อไปอาจจะมีฝนมาก ฝนน้อย หรือมากกว่านี้ การจัดการเรื่องการระบายน้ำ หรือสร้างสิ่งต่างๆเพื่อป้องกันน้ำไม่ให้ทำความเสียหาย ซื่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และระยะเวลานาน คงไม่ทันกับเหตุการณ์ที่จะเกินขึ้นในปีต่อไป
ทางที่ดีและเป็นการบรรเทาปัญหาที่จะเกิดขึ้นตือ การเตรียมรับมือกับสภาพน้ำท่วมคงจะเป็นการดีกว่า การประขาสัมพันธ์แจ้งข่าวควรจะเป็นไปตามข้อเท็จจริง ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น รัฐเองก็มีช่องทางการสื่อสารของรัฐทั้งวิทยู และโทรทัศน์ ที่จะแจ้งข่าวสารที่เกิดขี้น ได้ตลอดเวลา (อย่าให้ภาคเอกชนเสนอข่าวเพียงด้านเดียว) การสื่อสารที่ทันสมัย ในปัจจุบัน มีหลายช่องทางที่จะแจ้งหรือบอกเตือนประชาชน หน่วยงานของรัฐบาลก็มีอยู่ทุกพื้นที่ของประเทศไทย อย่าคิดไปว่าการบอกข่าวให้ประชาชนรู้ ตามช้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจะเป็นการทำให้ประชาชนตื่นตกใจ จนเกินเหตู แต่มองอีกต้านหนึ่งการตกใจก็เป็นการทำให้ประชาชนติ่นตัวไนการ ที่จะเครียมใจและเตรียมรับมือกับเหตูการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที (เตรียมตัวไว้ไม่เสียหายอะไร ดีกว่าให้มันเกิดชึ้นและสายเกินไป)
ขอเสนอว่า 1.ถ้าเห็นว่ารับมือไม่ได้แน่ก็เตรียมรับสภาพดีกว่า บอกกล่าวประชาชนให้อพยพไปยังที่ปลอดภัย ที่มีการจัดเตรียมไว้ให้ในพิ้นที่บ้าง (ชาวบ้านถึงจะออกมาก็คงไม่มีใครไมห่วงบ้านตัวเองหรอก ถ้าเลือกได้อยากอยู่ใกล้บ้านตัวเองทั้งนั้น)
2.แนะนำวิธีการที่จะรับมือกับภาวะน้ำท่วมให้ประชาชนบ้าง (ไม่มีใครรู้อะไรทุกอย่าง) เช่น ถ้าตัดสินใจว่าจะอยู่ที้บ้านที่มีน้ำท่วมควรจะมีอะไรบ้าง ,จะป้องกันสัตว์มีพิษต่างๆที่จะมากับน้ำอย่างไร, จะติดต่อกับหน่วยงานที่ช่วยเหลือได้อย่างไรเมื่อมีเหตูฉุกเฉ้น , โรคอะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นเมื่อน้ำท่วม หรือเมื่อน้ำลด , ขยะของเสียควรจัดการอย่างไร(ปล่อยให้มันลอยไปตามน้ำ น้ำลดก็ต้องเก็บ สกปรก อุดตัน ทางระบายน้ำอีก) 3. การแจ้งข่าวสารในพิ้นที่ควรมีอยู่ตลอดเวลาถึงแม้จะมีน้ำท่วม ( วิทยุการรับฟังข่าวสารทีง่ายดายมาก แค่ใช้แบตเตอรี่ถึงไม่มีไฟฟ้าก็ใช้ได้)อย่างน้อยการได้ยินข่าว ได้ยินว่ายังมีคนเป็นห่วง ให้กำลังใจ ก็ทำให้คลายความเตรียดไปได้บ้าง
4.การตกลงทำให้ความใจกับคนในพิ้นที่ควรจะตกลง และทำความเช้าใจให้ได้ ไม่ปล่อยไว้นานจนเกินไป จากข่าวสารที่เห็นจากสื่อ ความขัดแย้งจากการทำที่กั้นน้ำระหว่างทิ้นที่ที่มีความแตกต่างกันมาก และเป็นระยะเวลานาน การพูดคุยทำความเข้าใจกันไม่ได้ จนทำให้อีกฝ่ายรู้สิกว่าไม่ได้รับการดูแล ชวยเหลือจริงจัง จนทำให้เกิดการทำลายที่กั้นน้ำ เสียเวลาต้องมาซ่อมแซมอีก เป็นเรื่องที่ไม่อยากเห็นคนลำบากต้องมาทะเลาะ ทำร้ายกันในภาวะแบบนี้ คนไทยด้วยกัน
5.เมื่อมีภาวะที่ถนนบ้างเส้นทางต้องตัดชาด หรือน้ำท่วมจะเดินทางไม่ได้ น่าจะใช้ป้ายื้เห็นได้ชัดเจนแนะนำการเลี่ยงเส้นทางนั้น หรือการใช้อุปกรณฺขยายเสียงไปตามเส้นทางบ้าง เพราะเจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอที่จะมาคอยยืนบอก หรือโบกรถ
ข้อเสนอนี้เป็นข้อเสนอจากประชาชนคนหนึ่ง ที่รักและเป็นห่วงคนไทยด้วยกัน

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Guest
k542
เรทกระทู้
« ตอบ #4 เมื่อ: 8 ต.ค. 11, 01:15 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
มาเป็นกำลังใจให้เช่นกันค่ะ q*071q*071
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Guest
hormoke
เรทกระทู้
« ตอบ #5 เมื่อ: 8 ต.ค. 11, 02:16 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

Start AEC sharing now do weather fordcast and report
raining/flooding since storm move into land, see whole picture of AEC map north-south/east-west, we are under the same umbrella

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #6 เมื่อ: 8 ต.ค. 11, 09:17 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ทุกอย่างมันต้องทำคู่ขนานกันไปครับ....มันขึ้นอยู่กับองค์กรหรือหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง....และต้องเป็นแบบบูรณาการ มีระบบบริหารจัดการที่เป็นไปในทิศ
ทางเดียวกัน โดยเฉพาะการสื่อสารต้องเป็นไปแบบมีประสิทธิภาพ...ปัญหา
ของเราหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมันเยอะ จนมั่วไปหมด เลยไม่รู้ว่าใครควรจะเป็น
เจ้าภาพ ต่างคนต่างก็คิดว่า ต้องหน่วยงานนั้น หน่วยงานนี้หรือกระทรวงโน้น
กระทรวงนี้...นัวเนียกันไปหมด...ดังนั้นหากระบบเป็นเอกภาพมีศูนย์กลาง
การสั่งการโดยตรง...และมีบุคคลากรที่มีองค์ความรู้รวมกันเป็นเซ็นเตอร์สั่ง
การ ผมว่ามันก็จะบริหารจัดการกันได้อย่างมีประสิทธิภาพแน่นอน...และที่
อนาคตมองกันไว้ว่า จะตั้งกระทรวงบริหารจัดการน้ำขึ้นมา ผมก็ว่าน่าจะต้องทำ...
ซึ่งกระทรวงนี้จะเป็นศูนย์กลางการประสานงานได้เป็นอย่างดี...หน่วยงานไหน
ที่มันซ้ำซ้อน...ก็รื้อก็ยุบมันไปเสีย เพราะดูแล้วเสียงบประมาณไปฟรี ๆ โดย
ที่ไม่มีผลงานอะไรเลย...โดยเฉพาะกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรฯ..
และเรื่องของประตูระบายน้ำบางโฉมศรี ที่แตก...หรือพังเพราะแรงดันน้ำนั้น
เห็นชาวบ้านที่นั่น เขารู้กันดีว่า ที่มันพังก็เพราะไม่รู้จักบูรณะให้มันอยู่ในสภาพ
ที่ใช้งานได้ดีเท่าที่ควร....ประตูก็พุกร่อน กลอนที่ล๊อกก็สนิมเขรอะ พุพังแล้ว
ไม่เคยได้รับการซ่อมแซม หรือบูรณะกันก็แค่ขอไปที...เป็นแบบนี้แทบจะทุกปี
นี่คือปัญหาของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องโดยตรง คงไม่ต้องบอกหน่วยงานไหน?
ข้าราชการประจำส่วนใหญ่ก็คุ้นเคย ผ่านงาน ผ่านประสบการณ์้ร้าย ๆ มา
ก็มากมาย แต่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในความประมาท หรือพูดง่าย ๆ ก็ใช้วิทยายุทธ์
หรือยุทธศาสตร์ เก่า ๆ นั่นคือการแก้ไขปัญหาเอาเฉพาะหน้าไปวัน ๆ เท่า
นั้นเอง เคยปฎิบัติกันมาอย่างไรในอดีต ปัจจุบันก็เดินตามรอยอย่างนั้น...
คิดกันได้แค่ ชดเชย ซ่อมแซม และก็ของบประมาณ..ผลาญกัันแค่นี้??จบ

ส่วนในอนาคต...ข้างหน้าที่ผมบอกว่า เราควรทำควบคู่กันไปนั่นก็คือการศึกษา
ว่าจะสร้างเขื่อน สร้างแก้มลิง ขุดลอกคูคลองขึ้นมาใหม่อีกหลายร้อยสาย
หรือจะสร้างอุโมงค์ส่งน้ำ หรือคลองลัดน้ำแบบลัดโพธิ์ โมเดลที่ในหลวง...
ทรงพระราชทานให้มา สิ่งเหล่านี้ต้องตกผลึก และเริ่มศึกษาอย่างจริงจัง
พร้อมทั้งเริ่มลงมือได้ในทันที โดยดูที่ความสำคัญเป็นลำดับต่อเนื่องกันมา
และประโยชน์สูงสุดที่จะได้เฉพาะหน้ากันก่อน เพื่อรองรับกับสภาวะของ
อุทกภัยในปีหน้า...ให้ได้ และเหนืออื่นใด ? การสำรวจตรวจส่องอุปกรณ์
ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบ หรือวัตถุที่ใช้ ว่าอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดีหรือไม่
ไม่ใช่ปล่อยผ่านจนเกิดเป็นผลร้ายในภายหลัง อย่างประตูระบายน้ำบางโฉมศรี
เป็นต้น...เพราะคนหรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยตรงละเลยจุดนี้ไป??

และสิ่งที่จะทำควบคู่กันไป ก็คือการจัดทำคู่มือสำหรับแจกจ่ายให้กับประชาชน
จะด้วยวิธีการใดก็สุดแล้วแต่ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตื่นตัวตลอดเวลา
หากอยู่ในสถานการณ์อย่างนั้น ว่าเขาเหล่านั้นต้องปฎิบัติตนกันอย่างไร?
ความพร้อมของเจ้าหน้าที่ หรือข้าราชการท้องถิ่น ต้องมีเครื่องมือเครื่องไม้
ไว้รองรับเต็มสรรพกำลัง โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่จำเป็น อาทิเรือท้องแบนที่
มีเครื่องยนต์ อย่างน้อยก็ตำบลละ 1 ลำเป็นอย่างน้อย และเรือยางเรือพาย
อื่น ๆเท่าที่จำเป็น โดยดูจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา เอามาเป็นแหล่งเรียนรู้...
ดังนั้นหน่วยเฉพาะกิจก็ต้องพร้อม...เหมือนเจ้าหน้าที่ดับเพลิง?? ในจังหวัด
ีที่น้ำท่วมซ้ำซากทุกปี และรุนแรง อาทิเช่น อยุธยา นครสวรรค์ ลพบุรี
ชัยนาท อ่างทอง ปทุมธานี เป็นต้น....

การจัดแผนรองรับเป็นลำดับ ๆ เป็นขั้นเป็นตอนตามสภาวะเหตุการณ์นั้น ๆ
เช่นจะอพยพผู้คนไปไว้กันณ จุดไหน ที่ปลอดภัย? การปกป้องทรัพย์สิน
ให้กับชาวบ้านในกรณีที่เขาต้องทิ้งบ้านเรือนออกมา การเตรียมความพร้อม
ในเรื่องของเครื่องอุปโภคบริโภค ที่พอเพียงกับสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็น
จำพวกหยูกยา...อาหารแห้ง น้ำดื่มสะอาด น้ำกิน น้ำใช้ สุขาเคลื่อนที่ที่
มีมากพอเพียงกับชุมชน...เรือรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ประจำจุด หรือแม้แต่แพทย์ประจำหน่วยฉุกเฉินด้วย และเหนืออื่นใด...
ควรจะมีแนวคิดที่จะสร้างแพ ถาวรไว้ใช้ประจำพื้นที่นั้น ๆ กันได้แล้ว...
เพื่อรับกับสถานการณ์เฉพาะหน้า กรณีที่ไม่สามารถหาที่หลบภัยน้ำท่วมกัน
ได้
เพื่อเป็นแหล่งรับประชาชนผู้ประสบภัยกันแบบเร่งด่วนไปก่อน...และค่อย
นำส่งต่อกันไปในแหล่งอื่นในภายหลัง และโดยเฉพาะแพที่สำหรับเจ้าหน้าที่
ที่ปฎิบัติงาน...ส่วนปัจจัยต่าง ๆ นั่นก็คือเสบียงบำรุง ได้แก่น้ำมันเพื่อเครื่องยนต์สำหรบรถใหญ่ เรือยนต์ แก๊สหุงต้ม แบบเฉพาะกิจอย่างปิคนิก
ไฟฉาย พร้อมแบตเตอรี่อย่างพอเพียง และหน่วยงานที่สนับสนุนเสบียง
หากได้รับการร้องขอจากจุดช่วยเหลือต่าง ๆ ต้องพร้อมีที่จะเข้าไปเติมเต็ม
ให้กับจุดนั้น ๆ ทันที...และสิ่งหนึ่งที่ควรจะคำนึงถึง เสื้อชูชีพ เรือพายที่
ได้ัรับการบริจาค มันจะต้องมีการเก็บรักษาไว้ให้คงสภาพที่ดี อยู่เสมอหลัง
น้ำลดแล้ว เพื่อเตรียมการไว้รองรับกับภัยรอบหน้ากันใหม่ในสภาพที่สมบูรณ์
ไม่ใช่ที่เห็น ๆ กัน บริจาคกันทุกปี แล้วถามว่าของพวกนี้มันอันตรธานหาย
ไปไหน ไปอยู่ในร้านรับซื้อของเก่าหรืออย่างไร? หากเป็นไปได้มันจำต้อง
มีที่เก็บรักษาไว้ที่ผู้ใหญ่บ้าน อบต. หรือไ่ม่ก็ลงทะเบียนกันไว้ในแต่ละบ้าน
ว่าสิ่งที่ได้รับมาก่อนหน้านั้น สิ่งสำคัญ ๆ มันมีอะไรบ้าง เสื้อชูชีพ เรือพาย
ไม่ใช่หลังน้ำลด มันก็หายไปเกลี้ยง เยี่ยงที่เป็นอยู่นี้กัน???
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #7 เมื่อ: 8 ต.ค. 11, 11:00 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ความเห็นของคุณlumtakong /คุณสายไหม /คุณ pantakongmha เป็นความเห็นที่ดีครับ ผมอยากเสนอเพิ่มเติมกรณีน้ำท่วมปีหน้า? คือในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากควรสร้างบ้านลอยน้ำได้แบบในเนเธอร์แลนด์ ถ้าจำไม่ผิดองค์พระเทพฯเคยมีพระดำริในเรื่องนี้เช่นกัน เป็นบ้านต้นแบบ ปลูกไว้เป็นสถานที่อพยพคนมาพักชั่วคราว และอาจกำหนดพื้นที่บางแห่งของประชาชนปลูกบ้านลอยน้ำขึ้นมา จำนวนก็ตามแต่งบที่มี เพื่อเป็นต้นแบบให้กับประชาชน ในเขตน้ำท่วมซ้ำซากคนก็ต้องอยู่กับธรรมชาติให้ได้ เราคงพอเข้าใจได้แล้วนะครับว่าทำไมบ้านไทยโบราณจึงต้องยกพื้นสูง ผมเองก็เพิ่งจะถึงบางอ้อเมื่อไม่นานมานี้เอง(บางท่านอาจจะรู้นานแล้ว) ช่วยกันคิดนะครับอาจมีอะไรดีๆกว่านี้อีก

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Guest
เบื่อ
เรทกระทู้
« ตอบ #8 เมื่อ: 10 ต.ค. 11, 22:13 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ไม่มีทางทำได้ เพราะพรรคการเมืองของไทยมัวแต่แย่งกันเป็นรัฐบาล ไม่มีความจริงใจกับประชาชนและประเทศชาติ อีกหน่อยจะถูกต่างชาติยึดครองประเทศ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  ป้องกันน้ำท่วม 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม