ผู้ชายคนหนึ่ง
|
ก็ถูกแล้วไง จะให้ไข่เน่ากลายเป็นไข่สวรรค์ สวยแบบอั้ม พัชราภาก็คงโกหกแน่นอน
|
|
|
|
|
|
ผู้ชายคนหนึ่ง
|
แหมๆ พูดจาดูดี แต่ทำไม่ได้  ดู ดู๊ ดู ดูเธอทำ
|
|
|
|
|
|
ผู้ชายคนหนึ่ง
|
ก็โอเคนะฮะ  อาหารอร่อย ดนตรีไพเราะ หัวข้อสนทนาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องน้ำท่วมที่ผ่านมา   อาหารอร่อยแล้ว ถูกหลักโภชนาการที่ดีอะป่าว  แล้ว ไม่คุย เชิญชวนเรื่องโภชนาการบำบัด และสมุนไพร บ้างละครับ
|
|
|
|
|
|
ผู้ชายคนหนึ่ง
|
นี่นี่ ..ถ้าไปทำมาจริงนะ ทำแล้วเอาหน้ามาให้ดูหน่อยดิ่ 555555 ไข่เห็นดาราชายบางคนที่มาเล่นละครเรื่องลิขิตเสน่หาช่องสามอ่ะ ไปฉีดมา ดูฉุๆไปเลยอ่ะ   ก็แล้วแต่ฝีมือคนฉีด หรือ บางคนก็ชอบออกมาแบบนั้น ก็ได้ พวกนี้บางทีก็ต้องลองปรับแก้กันหลายครั้ง เพราะไม่มีการออกแบบก่อนฉีดแบบสร้างบ้านนี่ และก็ไม่อาจปั้นได้ดังใจอย่างการปั้นประติมากรรมนะ
|
|
|
|
|
|
ผู้ชายคนหนึ่ง
|
อาหารบำรุงไต ไม่มีจริงหรอกครับ มีแต่อ้างๆเล่าลือ เขียนๆต่อกันมา การแพทย์สมัยใหม่ ไม่มีข้อมูลวิจัยยืนยัน  แม้แต่สมุนไพร ที่เราเชื่อว่าปลอดภัย ก็มีผลข้างเคียง เช่น มะรุมมีฤทธิ์ขับลมและจัดอยู่ในยารสร้อน ทานมากโดยไม่มีการขับออก ก็อาจทำให้โลหิตร้อนได้ โดยปกติยาไทยจะเข้ามะรุมเมื่อต้องการให้ยามีสรรพคุณในการขับลม แต่ปัจจุบันด้วยแนวคิดทานสมุนไพรแบบยาแผนปัจจุบัน จึงเกิดอาการข้างเคียง เช่น ทานฟ้าทะลายโจรติดต่อกันเกินสองอาทิตย์ จะมีอาการชาปลายมือ สมองไม่แล่น เป็นต้น ถ้าจะทานสมุนไพร ควรทานเป็นอาหาร เช่น ยอดมะรุมลวกทานกับน้ำพริก ถ้าทานเช่นนี้จะไม่มีปัญหา อาการคันตามผิวหนังอาจเกิดได้เพราะการขับพิษ แต่ก็อาจเกิดได้เพราะทานมะรุมเป็นยามากเกินไป โลหิตร้อน จึงเกิดผื่นคัน ผิวหนังบอบบาง แพ้ง่าย การที่จะบอกว่าอาการคันเกิดจากอะไร ต้องทราบประวัติไข้ ....... http://thaiherbclinic.com/node/322 ในภาพรวมของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในระดับเซลล์และสัตว์ทดลองพบว่า มะรุมมีฤทธิ์ที่น่าสนใจมากมาย เช่น ฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบ สารสกัด 80% เอทานอลจากใบ สารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลจากดอก มีฤทธิ์ป้องกันการทำลายเซลล์ตับหนูแรทที่ได้รับ acetaminophen (ยาพาราเซตามอล) และสารสกัดน้ำจากส่วนรากแสดงฤทธิ์ป้องกันการทำลายเซลล์ตับหนูแรทจากการเหนี่ยวนำโดยยาไรแฟมพิซิน ......... http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=8 แต่ มะรุม ก็เคยได้ยินแพทย์บางท่านตั้งข้อสังเกตว่า อาจทำให้เป็นโรคตับอักเสบ เพราะพบว่าผู้ป่วยบางท่านเป็นโรคตับเรื้อรัง โดยไม่พบสาเหตุชัดเจนอื่นใด นอกจากมีประวัติว่านิยมกินมะรุมทุกวันมาเป็นแรมปี แต่ท่านก็ยังไม่กล้ายืนยันว่าเกี่ยวข้องกันจริงหรือไม่  อย่างไรก็ตาม ก็ขอแนะนำให้ระมัดระวัง หากพืชผักชนิดใดยังไม่ได้ผ่านการพิสูจน์ว่าเป็นยาที่สามารถกินได้ผลและปลอดภัย ก็อย่าบริโภคพืชผักนั้นในรูปของยาที่กินประจำทุกวัน ทางที่ปลอดภัย ก็คือ หันมาบริโภคพืชผักในรูปอาหารธรรมชาติ ตามวิถีที่บรรพบุรุษเราเคยปฏิบัติกันมาจะดีกว่า
|
|
|
|
|
|
ผู้ชายคนหนึ่ง
|
"จงระวังสักนิด เมื่อคิดบริโภคพืชผักเป็นยา"  ๒-๓ ปี มานี้มีกระแสนิยมกินใบมะรุมเป็นยาบำรุงและรักษาสุขภาพกันอย่างกว้างขวาง แทบจะทั่วทุกภาคของประเทศ บ้างก็กินในรูปของยาเม็ดสำเร็จรูป บ้างก็เด็ดกินใบสด โดยนิยมกินเป็นประจำทุกวัน เป็นแรมเดือนแรมปี ทั้งนี้ได้มีเอกสารออกมาเผยแพร่ถึงประโยชน์และสรรพคุณของมะรุม ซึ่งระบุว่ามีอยู่มากมายหลายประการ หมอชาวบ้านก็เคยมี ดร.กรณ์กาญจน์ ภมรประวัติธนะ เขียนเรื่อง "มะรุม" และพืชผักอื่นๆ ซึ่งส่วนหนึ่งได้ระบุว่า ในพืชผักต่างๆ มีสารเคมีสำคัญอะไรบ้าง และแต่ละตัวมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร เจตนาก็เพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงวิชาการว่า พืชผักต่างๆ น่าจะมีประโยชน์อย่างไร หาได้ตั้งใจแนะนำให้กินเป็นยาบำรุงและรักษาสุขภาพเป็นประจำทุกวันแต่ประการใด ปกติคนไทยนิยมนำฝักมะรุมมาทำเป็นแกงส้ม บางท้องถิ่นก็นิยมใช้ใบจิ้มน้ำพริก แต่ก็จะกินกันเป็นครั้งคราว ไม่ได้กินทุกวัน การเปลี่ยนวิธีบริโภค จากการกินครั้งคราวมากินเป็นประจำทุกวัน หรือเปลี่ยนกรรมวิธีในการบริโภคผิดไปจากเคยปฏิบัติมาแต่โบราณนั้น ก็เคยก่อให้เกิดโทษภัยขึ้นมาแล้วหลายกรณีด้วยกัน อาทิ เมื่อ ๒๐-๓๐ ปีก่อน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขท่านหนึ่ง มีเจตนาดีในการรณรงค์ปราบโรคพยาธิปากขอ โดยนำมะเกลือมาปรุงเป็นยาเป็นปริมาณหม้อใหญ่ๆ ซึ่งต้องเตรียมทิ้งไว้ค้างคืน วันรุ่งขึ้นก็แจกจ่ายให้เด็กๆ ตามหมู่บ้านกินกันถ้วนหน้า คราวนั้นเกิดผลที่ตามมา คือ มีเด็กๆ หลายคนตามัวตาบอด เนื่องจากได้รับพิษภัยจากสารเคมีในมะเกลือที่กลายรูป เนื่องจากการตั้งทิ้งไว้ค้างคืน โบราณจะเตรียมมะเกลือในปริมาณเล็กน้อย สำหรับแต่ละคนเท่านั้น และเมื่อเตรียมเสร็จก็ให้กินสดๆ ทันที ซึ่งก็ได้ผลในการรักษาโรคพยาธิปากขอ และไม่ได้เกิดผลข้างเคียงอะไร แต่เมื่อเปลี่ยนมาเตรียมทีเดียวปริมาณมากๆ และทิ้งไว้ข้ามคืน สารเคมีในมะเกลือก็เกิดการกลายรูปเป็นสารใหม่ ซึ่งสามารถทำลายประสาทตาจนทำให้ตามัวตาบอด เมื่อหลายปีก่อน หน่วย งานของรัฐได้มีการนำใบขี้เหล็กมาผลิตเป็นยาสมุนไพร บรรจุใส่แคปซูลออกจำหน่ายอย่างเป็นทางการ โดยระบุสรรพคุณเป็นยากล่อมประสาท และยานอนหลับ ทั้งนี้โดยอาศัยหลักฐานการวิจัยว่า ขี้เหล็กมีสารเคมีสำคัญตัวหนึ่งที่ช่วยสงบอารมณ์ (คลายกังวล ความเครียด) และช่วยให้นอนหลับ และมีการทดลองในหนูว่าไม่เกิดพิษภัยเฉียบพลัน ผู้คนจำนวนมาก (ซึ่งมีปัญหาความเครียดและนอนไม่หลับ ที่เคยพึ่งพาแพทย์สั่งยากล่อมประสาทให้กิน) ก็หันมาซื้อยาขี้เหล็กแคปซูล ซึ่งสามารถซื้อหาได้อย่างเสรีโดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ ท่ามกลางกระแสนิยมบริโภคขี้เหล็กคราวนั้น โรงพยาบาลหลายแห่งได้พบว่ามีผู้ป่วยหลายๆ รายมีอาการดีซ่าน (ตาเหลือง) มาขอตรวจรักษากับแพทย์ ในที่สุดก็ยืนยันว่าเป็นตับอักเสบจากการบริโภคขี้เหล็กแคปซูลเป็นประจำติดต่อกันหลายเดือน ทางการจึงได้ยกเลิกการจำหน่ายยาขี้เหล็กแคปซูล ซึ่งถือว่าไม่ปลอดภัย ผมเคยเจอคนรู้จักคนหนึ่ง นิยมนำขี้เหล็กมาต้ม แล้วน้ำที่ต้มมาดื่มแทนน้ำเปล่าด้วยเชื่อว่าเป็นยาบำรุง พอดื่มไปได้ ๒-๓ เดือนก็เกิดอาการดีซ่าน ไปพบแพทย์ก็ตรวจยืนยันว่าเป็นตับอักเสบจากการดื่มน้ำขี้เหล็กต้มเช่นเดียวกัน คนไทยนิยมแกงขี้เหล็ก กินเป็นครั้งคราว บางท้องถิ่นบอกกันเลยว่า ถ้าคืนไหนอยากนอนหลับดี เย็นวันนั้นก็ให้กินแกงขี้เหล็ก การกินขี้เหล็กเป็นบางครั้งบางคราวแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน ไม่ก่อโทษ แต่การหันมากินในรูปของยาเป็นประจำ กลับมีพิษต่อตับ สมุนไพรที่มีการยืนยันทางวิชาการว่ามีพิษต่อตับ ทำให้ตับอักเสบอีกชนิดหนึ่ง ก็คือ บอระเพ็ด ซึ่งมีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด เมื่อทดลองให้ผู้ป่วยเบาหวานกินทุกวันก็พบว่าทำให้ตับอักเสบได้ ส่วนมะรุม ผมก็เคยได้ยินแพทย์บางท่านตั้งข้อสังเกตว่า อาจทำให้เป็นโรคตับอักเสบ เพราะพบว่าผู้ป่วยบางท่านเป็นโรคตับเรื้อรัง โดยไม่พบสาเหตุชัดเจนอื่นใด นอกจากมีประวัติว่านิยมกินมะรุมทุกวันมาเป็นแรมปี แต่ท่านก็ยังไม่กล้ายืนยันว่าเกี่ยวข้องกันจริงหรือไม่ เมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้รับคำบอกเล่าเกี่ยวกับมะรุมอยู่ ๒ กรณี กรณีแรก มีพยาบาลท่านหนึ่งเล่าว่า ที่โรงพยาบาลรับตรวจเช็กสุขภาพ พบว่ามีผู้ที่มีผลเลือดที่แสดงว่าตับเริ่มทำหน้าที่ผิดปกติอยู่ ๕ ราย ทั้ง ๕ รายนี้มีประวัติกินมะรุมทุกวันมาเป็นแรมปี จึงแนะนำให้หยุดกิน แล้วนัดมาตรวจเลือดซ้ำ ก็พบว่าตับกลับมาทำหน้าที่เป็นปกติ จึงตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นว่า มะรุมอาจมีผลเสียต่อตับ อีกกรณีหนึ่ง ผู้ป่วยเบาหวานรายหนึ่งเล่าว่ากินยาเบาหวานมาหลายปี ก็ไม่เคยมีปัญหาแทรกซ้อนรุนแรง ต่อมาทราบจากคำเล่าลือว่ามะรุมสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ จึงซื้อมะรุมชนิดเม็ดกินเสริมไปวันละ ๒ ครั้งๆ ละ ๒ เม็ด พอกินไปได้ ๑๐ กว่าวัน ก็เกิดอาการเป็นลม หน้ามืด ไม่ค่อยรู้สึกตัว ญาติพาส่งโรงพยาบาล แพทย์ตรวจพบว่าผู้ป่วยเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกิน สันนิษฐานว่าอาจเป็นไปได้ที่มะรุมมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด จึงเสริมฤทธิ์ยาเบาหวานที่กินอยู่เดิมจนน้ำตาลในเลือดลดต่ำถึงขั้นอันตรายได้ ทั้ง ๒ กรณีนี้ คงต้องรอให้มีการพิสูจน์ยืนยันกันต่อไปในเชิงวิชาการ จึงจะสรุปได้แน่ชัดว่า มะรุม มีผลดังกล่าวจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ก็ขอแนะนำให้ระมัดระวัง หากพืชผักชนิดใดยังไม่ได้ผ่านการพิสูจน์ว่าเป็นยาที่สามารถกินได้ผลและปลอดภัย ก็อย่าบริโภคพืชผักนั้นในรูปของยาที่กินประจำทุกวัน ทางที่ปลอดภัย ก็คือ หันมาบริโภคพืชผักในรูปอาหารธรรมชาติ ตามวิถีที่บรรพบุรุษเราเคยปฏิบัติกันมาจะดีกว่า ขณะเดียวกัน ก็ฝากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันพิสูจน์ถึงข้อดีข้อเสียของการบริโภคพืชผักเป็นยา ทั้งนี้เพื่อประโยชน์และสวัสดิภาพของประชาชนผู้บริโภค http://www.doctor.or.th/node/10906
|
|
|
|
|
|
ผู้ชายคนหนึ่ง
|
คำถาม : ใช้มะรุมแล้วค่าเอนไซม์ตับขึ้น
ผม(หมอแผนปัจจุบัน) ใช้มะรุมกับคนไข้ มีรายหนึ่งที่พบว่าค่า เอนไซม์ของตับสูงขึ้น ตัวเหลือง เป็นตับอักเสบ ให้กินติดต่อประมาณ สองเดือนแล้ว มะรุมคุมความดันคนไข้ได้ดีมาก แต่ไม่แน่ใจว่าค่าเอนไซม์ขึ้นเพราะมะรุมหรือเปล่า ผู้ป่วยอายุเจ็ดสิบ ค่าAST 80 ALT 80 ALP 200 ทำอัลตราซาวพบนิ่วถุงน้ำดี ค่อนข้างซับซ้อน จึงไม่แน่ใจว่าเอนไซม์ขึ้นจากอะไร คือเคสนี้ผู้ป่วยปฏิเสธเจาะค่าตับก่อนกินมะรุมด้วย จึงไม่รู้ว่าเอนไซม์ขึ้นจริงไหม และอย่างนี้ควรให้ยามะรุมอีกไหมกับผู้ป่วยรายนี้
จากคุณ : j-delight
Date : 27/5/2553 12:22:00
คำตอบ : เนื่องจากมีรายงานจากแพทย์ (โดยไม่มีการตีพิมพ์เป็นรายงาน) ว่ามีคนไข้รับประทานมะรุมแคปซูล ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าเอนไซม์ตับเพิ่มขึ้น เมื่อลองให้หยุดรับประทาน เอนไซม์ตับลดลงถึงระดับปกติใน 2 สัปดาห์ เมื่อกลับไปทานใหม่เอนไซม์ก็สูงขึ้นอีก แพทย์ผู้วินิจฉัยค่อนข้างแน่ใจว่าเอนไซม์ตับที่สูงขึ้นมาจากการรับประทานมะรุม จึงแนะนำให้มีการหยุดรับประทานมะรุมเป็นช่วงๆ เอนไซม์ตับจะลดลงสู่ระดับปกติ ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 1-2 เดือน ในผู้ป่วยรายนี้ของท่านจึงเป็นไปได้ว่าเอนไซม์ตับที่สูงขึ้น เนื่องมาจากการรับประทานมะรุม ควรจะหยุดการใช้มะรุมกับผู้ป่วยรายนี้ไปก่อน แล้วตรวจเช็คค่าเอนไซม์ในตับ ซึ่งน่าจะลดลง
http://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=5603
ดังนั้น สูตรยาโบราณ หรือสมุนไพรต่างๆ จึงควรศึกษาวิจัยทดลองให้แน่นอนก่อน จึงจะปลอดภัย
ไม่ควรเชื่อตามๆกันมา แค่บอกว่าดีจริง 
|
|
|
|
|
|
ไข่เน่า
|
เลยไม่มีผัก ผลไม้สักนิดเลยอะ อย่างไข่เจียวต้องอาหารชีวจิต อาหารบำบัดนะครับ  
|
|
|
|
|
|
ผู้ชายคนหนึ่ง
|
“มะรุม” พืชสมุนไพร แต่ไม่ใช่ “ยาวิเศษ” .... บทความดี ๆ จากเวบ สสส.
มีผู้ถามเกี่ยวกับ มะรุมแคปซูล ที่มีโฆษณาว่า รักษาโรคโน่นนี่สารพันว่าจริงหรือไม่ ???
แค่ดูที่เขาโฆษณา ผมก็ตอบได้เลยว่า " ไม่จริง " อะไรมันจะวิเศษขนาดนั้น ถ้าได้ผลจริงตามโฆษณา ก็ไม่ต้องมียา ไม่ต้องมีหมอ มีโรงพยาบาลกันแล้ว ทำขายส่งออกทั่วโลก รวยกว่ามาขายตรงเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (อาหารเสริม) แบบที่เป็นอยู่ ..
ผมว่า หลักง่าย ๆ ก็คือ เชื่อสามัญสำนึกของตนเอง .. " ถ้ารู้สึกว่า มันดีเกินไป มันไม่น่าเป็นไปได้ ก็ให้เชื่อความรู้สึกตนเองไว้ก่อนว่า .... ไม่จริง ... "
ลองค้นในเนต เกือบทั้งหมดเป็น "โฆษณาขายของ" .. แต่ก็ยังพอมีบทความที่น่าสนใจ นำมาฝากกัน .. อ่านไว้เป็นความรู้นะครับ ..
“มะรุม” พืชสมุนไพร แต่ไม่ใช่ “ยาวิเศษ”
กระแสรักสุขภาพ ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสังคมไทยและสังคมโลก ประชากรไม่น้อยหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น และยังคงมีวี่แววว่าจะสนใจไปอย่างนี้เรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับว่าช่วงไหน “ฮิต” อะไร แต่ที่แน่ๆ และยังคงยืนพื้นในความนิยมของคนส่วนใหญ่ ยังคงเป็น “สมุนไพร” โดยใน ขณะนี้ “เทรนด์” ได้มาหยุด อยู่ที่ผักพื้นบ้าน เจ้าของนาม “มะรุม”
“มะรุม” เป็นพืชพื้นบ้านที่มีทั่วทุกภาคของ ประเทศไทย ทำให้มีการเรียกชื่อมะรุมแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น คำว่ามะรุมนี้ เป็นคำเรียกขานของคนภาคกลาง ในขณะที่ฝั่งอีสานบ้านเฮาเอิ้นว่า “ผักอีฮุม หรือ บักฮุ้ม” ส่วนหมู่เฮาจาวเหนืออู้ว่า “บะค้อนก้อม” ส่วนชาวกะเหรี่ยงแถบ กาญจนบุรีเรียก “กาแน้งเดิง” ด้านชายขอบจังหวัดแม่ฮ่องสอนกลับให้ชื่อแก่มันอย่างชวนให้ลิ้มรส ว่า “ผักเนื้อไก่”
ครัวไทยแต่โบราณนำมะรุมมาปรุงเป็นอาหารหลากรสหลายตำรับ ในขณะที่ภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยก็นำแทบทุกส่วนของมะรุม ไม่ว่าจะเป็นใบ ดอก ฝัก เมล็ด เปลือก ราก ฝัก ฯลฯ โดยสรรพคุณทางสมุนไพรในแต่ละส่วนก็มีต่างๆ กันไป
ปัจจุบันขณะนี้ ได้มีการโฆษณาสรรพคุณของมะรุมอย่างแพร่หลาย บ้างก็ว่าช่วยต้านมะเร็ง ช่วยรักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสุขภาพ และสรรพคุณอื่นๆ อีกร้อยแปดพันประการ ทำให้แวดวงผู้รักสุขภาพทั้งหลายตื่นตัวและตื่นเต้นอีกครั้งกับสมุนไพรที่ดูเหมือนว่าจะ “มหัศจรรย์” ชนิดนี้ ไม่ต่างกับปรากฏการณ์กระชายดำและยอ ที่บูมเปรี้ยงปร้างช่วงก่อนหน้านี้ และก็เลือนหายไปกับสายลมแล้ว
และล่าสุด “กระแสมะรุมฟีเวอร์” ได้แพร่ ระบาดจนกระทั่งบริษัทเอกชนหลายแห่งได้ผลิต “แคปซูล มะรุม” ออกมาขายกันเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผัก แต่อยากได้คุณประโยชน์ด้านสมุนไพร รวมถึงผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาบำรุงสุขภาพ แต่อยากได้อาหารเสริมเพื่อเป็นการบำรุงทางลัด
|
|
|
|
|
|
ผู้ชายคนหนึ่ง
|
ภญ.สุภาพร ปิติพร แห่งโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโรงพยาบาลที่ใช้แนวการรักษาด้วยแพทย์แผนไทยเป็นหลัก กล่าวถึงคุณสมบัติของมะรุมว่า มะรุมเป็นผักที่มีสารอาหารเกือบครบ วิตามินเอสูง มีโปรตีนสูง ซึ่งเป็นอาหารที่เหมาะกับเยาวชนที่ขาดอาหารในพื้นที่กันดาร โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปี เช่น เยาวชนในประเทศเอธิโอเปีย รวมถึงในพื้นที่ที่เกิดวิกฤติขาดแคลนอาหารอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม การบริโภคมะรุม ประชาชนต้องเข้าใจก่อนว่า มะรุมไม่ได้รักษาโรคได้สารพัดโรค ไม่ใช่ยามหัศจรรย์ หากคือผักพื้นบ้านที่คนไทยใช้เป็นวัตถุดิบทำอาหารมาหลายรุ่นแล้ว ไม่ใช่ยาวิเศษอย่างที่กระแสสังคมเข้าใจ
“มะรุมมีฤทธิ์ร้อน ก็พอจะช่วยในเรื่องระบบไหลเวียนโลหิต แล้วก็มีความเชื่อว่ามันช่วยเรื่องเบาหวานกับความดันโลหิตสูง ในส่วนตรงนี้ต้องพิสูจน์วิจัยกันต่อไป แต่ที่ห่วงก็คือ หากคนเข้าใจว่ามันเป็นยา ไม่ใช่พืชผัก และรับประทานมันในฐานะยารักษาโรค คนจะไม่รับประทานยาแผนปัจจุบันที่ผลิตออกมาเพื่อรักษาโรคนั้นๆ โดยตรง”
ภญ.สุภาพร กล่าวต่อไปอีกว่า การบริโภคมะรุมนั้น อยากให้ประชาชนเข้าใจว่ามันคือผักพื้นบ้าน อยากให้บริโภคอย่างเข้าใจ เพราะจริงๆ แล้วมะรุมก็ไม่ได้ปลอดภัยไปเสียทั้งหมด เพราะในตัวมันก็เป็นพิษด้วยเหมือนกัน
“อย่างที่บอกมะรุมเป็นพืชร้อน หากสตรีมีครรภ์รับประทานอาจจะทำให้แท้งได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเลือดก็ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากจะทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย รวมถึงคนเป็นโรคเกาต์ ก็ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากมะรุมมีโปรตีนสูง”
อย่างไรก็ตาม เภสัชกรแห่งโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรย้ำว่า ไม่ใช่การบริโภคมะรุมเป็นของไม่ปลอดภัย เพราะคนไทยแต่โบร่ำโบราณก็นำมะรุมมาประกอบอาหารในฐานะพืชผักท้องถิ่น แต่สำหรับผู้ที่คิดเสริมสุขภาพทางลัดด้วยการไปซื้อมะรุมสกัดเป็นเม็ดแคปซูล มารับประทานนั้น อยากให้ระมัดระวังสักนิด เพราะมะรุมสกัดยังไม่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
“มะรุมรับประทานได้ในบริบทของอาหารปลอดภัย ไม่อันตราย และมีประโยชน์ตามสมควรในฤทธิ์ของสมุนไพร ที่ไม่อันตรายเพราะเราไม่ได้รับประทานทุกวัน และรับประทานในปริมาณไม่มากนัก
แต่อยากจะฝากเตือนไปยังผู้ที่รักสุขภาพว่า สำหรับมะรุมสกัดที่มีอยู่มากในตลาดขณะนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง และหากจะเลือกรับประทานคงจะต้องดูกันดีๆ เพราะเราไม่รู้ว่าเขาสกัดจากส่วนไหน แต่ละส่วนมีฤทธิ์และออกฤทธิ์ต่อกลไกอวัยวะในระบบต่างๆ กัน และไม่รู้ด้วยว่าที่สกัดมาจะมีสารอะไรบ้าง และมีมากน้อยแค่ไหน และใส่อะไรลงไปเพิ่มอีกบ้าง
ที่สำคัญคือตอนนี้ อย. ยังไม่รับรองผลิตภัณฑ์สกัดจากมะรุม และก่อนหน้านี้ก็เคยปรากฏเช่นกันในกรณีของขี้เหล็ก ที่ออกฤทธิ์ทางเภสัชรักษาโรคได้ผล จึงมีการผลิตเป็นขี้เหล็กสกัดบรรจุแคปซูล ซึ่งพอคนไข้รับประทานเข้าไปปรากฏว่ามีหลายรายมีอาการผิดปกติที่ตับ”
เภสัชกรแห่งโรงพยาบาลใหญ่ในจังหวัดปราจีนบุรี ยังให้รายละเอียดถึงประสบการณ์ด้านเภสัชรักษาของมะรุมจากที่เธอได้ทำงานกับ หมอพื้นบ้านต่อไปอีกด้วยว่า เนื่องจากมะรุมมีฤทธิ์ร้อน จึงมีการนำมาใช้เพื่อแก้อาการปวดเมื่อย เหน็บชา ทำให้โลหิตไหลเวียนได้ดี ในบริบทของหมอพื้นบ้านก็ใช้มะรุมในการควบคุมอาการความดันโลหิตสูง โดยนำยอดมะรุมสด นำมาโขลกคั้นน้ำผสมน้ำผึ้ง ดื่มวันละครั้ง แก้ความดันขึ้น ซึ่งหมอพื้นบ้านทางแถบไทยใหญ่ก็ใช้มะรุมคุมความดันเช่นเดียวกัน
“ส่วนคนที่มีอาการเหน็บชา กินมะรุมก็ช่วยแก้ได้เหมือนกัน เพราะช่วยให้เลือดไหลเวียนดี แต่คุณสมบัติก็ไม่ได้โดดเด่นมากนัก นอกจากนี้ ดอกอ่อนของมะรุมยังช่วยป้องกันหวัด และมีวิตามินซีสูงอีกด้วย ดีที่สุดคือมองมะรุมเป็นอาหาร ต้องรับประทานอย่างเข้าใจ คนเราต้องรับประทานหลากหลาย รับประทานให้ครบทุกรส เพราะอาหารที่หลากหลายจะเข้าไปบำรุงหลายกลไกในร่างกายในทุกๆ ระบบ เราต้องการอาหารหลายอย่าง ไม่ใช่จากมะรุมอย่างเดียว ขออย่าให้เข้าใจผิด อย่ามองมะรุมเป็นยาวิเศษ”
|
|
|
|
|
|
ผู้ชายคนหนึ่ง
|
ในขณะที่ รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรอย่างหาตัวจับยากคนหนึ่งในประเทศไทย คาดคะเนที่มาของกระแสนิยมมะรุมว่า น่าจะมาจากต่างประเทศ ที่มีคนไข้ทดลองรับประทานแล้วปรากฏว่าร่างกายดีขึ้น จากนั้นก็มีคนนำมาทำเป็นฟอร์เวิร์ดเมลบ้าง เป็นข้อมูลลงในอินเทอร์เน็ตบ้าง ทำให้กระแสสุขภาพของมะรุมแพร่ไปในวงกว้าง จนกระทั่งเข้ามาสู่ประเทศไทยในที่สุด
“จริงๆ แล้วข้อมูลมันยังไม่คอนเฟิร์มนะ เป็นกระแสนิยมแบบไฟไหม้ฟาง พอฝรั่งในอเมริกากินแล้วดี ก็มีการส่งเมล์บอกต่อๆ กัน จนเข้ามาประเทศไทย น่าจะเข้ามาทางชุมชนอโศกซึ่งนิยมบริโภคผักและอาหารออร์แกนิกอยู่แล้ว"
รศ.ดร.นพมาศ กล่าวต่อไปว่า เท่าที่ทราบงานวิจัยด้านมะรุมทางวิทยาศาสตร์มีค่อนข้างน้อย หากเทียบกับสมุนไพรที่อยู่ในกระแสนิยมตัวก่อนๆ นี้ และแม้ว่าจะมีบ้าง ก็อยู่ในระดับของการทดลองกับหนู และมีข้อมูลด้านลบแจ้งไว้เช่นกัน เช่น มะรุมมีโปรตีนสูง และเป็นโปรตีนที่เกาะกันเป็นก้อน จะไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางโรค รวมถึงต่อผู้ป่วยด้วยโรคเลือดบางชนิด ก็ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากในมะรุมมีสารบางชนิดที่เป็นพิษต่อผู้ป่วยโรคดังกล่าว
“อย่างไรก็ตาม ในมะรุมก็มีวิตามินสูง มีสรรพคุณบำรุงสายตา มีวิตามินเอ มีเบตาแคโรทีน และอาจจะมีฤทธิ์ทางเภสัชที่ช่วยด้านลดน้ำตาลได้บ้าง การเลือกใช้ต้องระมัดระวัง แต่การนำมาเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารนั้น ถือเป็นปริมาณที่ปลอดภัย แต่ในส่วนของการเลือกจะดูแลสุขภาพแบบรวดเร็วโดยการไปซื้อมะรุมที่สกัดเป็น เม็ดเหมือนยาหรืออาหารเสริมนั้น ต้องดูให้ดีว่าส่วนใหญ่ออกฤทธิ์อย่างไร ทางที่ดีรับประทานสดเป็นอาหารจะปลอดภัยที่สุด” ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรรายนี้ทิ้งท้าย
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTV ผู้จัดการ Update 28-05-52 อัพเดทเนื้อหาโดย : กันทิมา ลีจันทึก http://www.thaihealth.or.th/node/9239
|
|
|
|
|
|
|
|
ไข่เน่า
|
โอ้โห โภชนาการบำบัด นะเนี่ย  เก่งแต่ทฤษฎีนี่หนะ แต่ปฏิบัตินี่กินแบบที่ชอบๆ เลยนะ  แป้ง ทำให้อ้วน แก่เร็ว หมูแฮมไขมันอิ่มตัวสูง ก็ต้องกินปลาทะเลดีกว่า   แหง๋ล่ะ ใครจะกระเดือกผักขมๆเข้าไปลง ฟักทองเละๆอีก อี๊))))   ไข่ทานวิตามินรวมแหละ อิอิ..
|
|
|
|
|
|
ผู้ชายคนหนึ่ง
|
ส่วนในบทความเรื่องนี้ ก็จะมีข้อมูลทางเภสัชวิทยาว่า แต่ละส่วนของมะรุมมีฤทธิ์อย่างไรบ้าง และมีผลการศึกษาในสัตว์ทดลองถึงอันตรายที่เกิดขึ้น ถ้ามีเวลาก็แวะไปอ่านหน่อยก็ดีนะครับ
“มะรุม: พืชสมุนไพรหลากประโยชน์”
โดยรองศาสตราจารย์ วิมล ศรีศุข ซึ่งอยู่ในจุลสารข้อมูลสมุนไพรฉบับ 26เดือนกรกฎาคม 2552 หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือติดต่อโดยตรงที่ 02-354-4327 http://www.medplant.mahidol.ac.th/document/moringa.asp
เพื่อการรักษาโรค ก็อาจทำได้แต่อย่าหวังผลมากนัก และ ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก หรือติดต่อกันนานเกินไป ซึ่งอาจมีการสะสมสารบางอย่างและอาจเป็นพิษได้
และจากรายงานความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง ซึ่งพบว่าทำให้เกิดการแท้ง ดังนั้นควรระมัดระวังการใช้ส่วนต่างๆ ของมะรุมในสตรีมีครรภ์
หลายคนอาจมีความคิดว่า " เป็นสมุนไพร มาจากธรรมชาติ ไม่มีอันตราย " ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ไม่ถูกต้อง เพราะ ไม่ว่าจะเป็นจากธรรมชาติหรือไม่ ถ้ามากเกินไป หรือ ใช้ไม่ถูกต้องก็เกิดอันตรายได้ทั้งนั้น ..
อย่าไปเชื่อโฆษณา ไม่มีทางลัดในการดูแลสุขภาพ เงินซื้อสุขภาพ ไม่ได้หรอกครับ ..
หมายเหตุ
เนื่องจากบทความนี้ ออกมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ ผมก็ไม่แน่ใจว่า ตอนนี้มี ทาง อย. ได้ขึ้นทะเบียน อย. ให้กับ มะรุม หรือไม่ แต่เห็นตามโฆษณาในเวบต่าง ๆ ว่าได้รับอนุญาต ขึ้นทะเบียน อย.แล้ว นะครับ ...
ถึงแม้ว่าจะได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. จริง .. แต่ ก็อย่าลืมว่า อย.รับรองแค่ ไม่อันตราย ไม่ได้รับรองว่า ได้ผลจริงตามโฆษณานะครับ
|
|
|
|
|
|
ไข่เน่า
|
|
|
|
|
|
|
ไข่เน่า
|
อาหารอร่อยแล้ว ถูกหลักโภชนาการที่ดีอะป่าว  แล้ว ไม่คุย เชิญชวนเรื่องโภชนาการบำบัด และสมุนไพร บ้างละครับ  ไม่ขอมาหรือไม่มีปัญหามาขอคำปรึกษาก็ไม่พูดหรอก แต่ละคนเค้าก็มีเทคนิคของเค้า หรือไปยัดเยียดให้ ก็ไม่ใช่เรื่องดี ไม่เหมือนเราคุยกันอย่างนี้หรอกฮะ  ถูกหลักโภชนาการมั้ย.. แหม๋มมม แน่นอนอยู่แล้วฮะ เขี่ยผักทิ้ง ฮี่ฮี่ 
|
|
|
|
|
|
ไข่เน่า
|
แหมๆ พูดจาดูดี แต่ทำไม่ได้  ดู ดู๊ ดู ดูเธอทำ  เอ๊ยยย))) เค้าก็กินบ้างล่ะน่า ไข่ทานโหระพา มะกรูด พริกชี้ฟ้า(เขี่ยเม็ดออก) ข่าอ่อน ผักชี ใบหอม กระเทียม หอมแดง ไข่ทานพวกนี้ได้นะตะเอง  ฮี่ฮี่  แต่กระเพราไม่เอา มันร้อนเกินไป
|
|
|
|
|
|
ไข่เน่า
|
ก็ถูกแล้วไง จะให้ไข่เน่ากลายเป็นไข่สวรรค์ สวยแบบอั้ม พัชราภาก็คงโกหกแน่นอน  แสดงว่า สามารถโมดิฟายให้ไข่เน่ากลายเป็นไข่ลูกเขยได้จริง  แต่เป็นขนาดสั้นๆ 
|
|
|
|
|
|
ไข่เน่า
|
|
|
|
|
|
|
ไข่เน่า
|
ก็แล้วแต่ฝีมือคนฉีด หรือ บางคนก็ชอบออกมาแบบนั้น ก็ได้
พวกนี้บางทีก็ต้องลองปรับแก้กันหลายครั้ง เพราะไม่มีการออกแบบก่อนฉีดแบบสร้างบ้านนี่ และก็ไม่อาจปั้นได้ดังใจอย่างการปั้นประติมากรรมนะ

|
|
|
|
|
|
ไข่เน่า
|
|
|
|
|
|
|
|
ไข่เจียว
|
แหลมหน้ามาราตรีสวัสดิ์ฮะ อิอิ.. 
|
|
|
|
|
|
|
อาหารอร่อยแล้ว ถูกหลักโภชนาการที่ดีอะป่าว  แล้ว ไม่คุย เชิญชวนเรื่องโภชนาการบำบัด และสมุนไพร บ้างละครับ 
สองถิงถามหน่อยนะค่ะว่าวันๆหนึ่งศิษย์พี่ใหญ่ทานอาหารครบสามมื้อรึป่าวค่ะ 
|
|
|
|
|
|
|
สองถิงเห็นคนแถวบ้าน(ร้อยเอ็ด)เอามะรุมมาบดกินอยู่เหมือนกันค่ะ พวกเขายังบอกให้สองถิงซื้อกลับมากินที่นอร์เวย์เหมือนกันแต่สองถิง เป็นคนที่ไม่ชอบกินยาสนุมไพรเท่าไหร่นะค่ะ ขนาดพี่สาวให้ขนิ้มบด มาสองถึงยังปล่อยให้นอนอยู่ในตู้ยาอยู่แบบนั้นมาจะเป็นปีแล้วไม่ยอม แตะต้องเลยค่ะ แต่ถ้าเป็นสนุมไพรสดๆสองถิงถึงจะกินค่ะ อย่างขิงสด เนี้ยะสองถิงต้มสดๆดื่มทุกวันเลยนะค่ะเพราะที่นี่หาซื้อง่ายด้วย
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ไข่เจ้ว
|
|
|
|
|
|
|
ไข่เจ้ว
|
|
|
|
|
|
|
ไข่เน่า
|
ในขณะที่ รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรอย่างหาตัวจับยากคนหนึ่งในประเทศไทย คาดคะเนที่มาของกระแสนิยมมะรุมว่า น่าจะมาจากต่างประเทศ ที่มีคนไข้ทดลองมีโปรตีนสูง และเป็นโปรตีนที่เกาะกันเป็นก้อน จะไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางโรค รวมถึงต่อผู้ป่วยด้วยโรคเลือดบางชนิด ก็ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากในมะรุมมีสารบางชนิดที่เป็นพิษต่อผู้ป่วยโรคดังกล่าว...
“อย่างไรก็ตาม ในมะรุมก็มีวิตามินสูง มีสรรพคุณบำรุงสายตา มีวิตามินเอ มีเบตาแคโรทีน และอาจจะมีฤทธิ์ทางเภสัชที่ช่วยด้านลดน้ำตาลได้บ้าง การเลือกใช้ต้องระมัดระวัง แต่การนำมาเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารนั้น ถือเป็นปริมาณที่ปลอดภัย แต่ในส่วนของการเลือกจะดูแลสุขภาพแบบรวดเร็วโดยการไปซื้อมะรุมที่สกัดเป็น เม็ดเหมือนยาหรืออาหารเสริมนั้น ต้องดูให้ดีว่าส่วนใหญ่ออกฤทธิ์อย่างไร ทางที่ดีรับประทานสดเป็นอาหารจะปลอดภัยที่สุด ” ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรรายนี้ทิ้งท้าย
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTV ผู้จัดการ Update 28-05-52 อัพเดทเนื้อหาโดย : กันทิมา ลีจันทึก http://www.thaihealth.or.th/node/9239
 ตะเองก็ยังเห็นด้วยกับไข่เลยนี่นา  เราคุยคนละเรื่องเดียวกันหรือเปล่า  ถ้าใครมาขอคำแนะนำไข่ก็จะบอกเค้าว่าอาหารอะไรที่เค้าต้องทานที่เค้ากำลังขาดอยู่ ไม่กล้าแนะนำให้เค้าไปซื้อวิตามินเม็ดๆมาทานหรอก แต่ตัวไข่เอง ทานผักไม่ค่อยได้ ก็ทานวิตามินรวม ซึ่งไข่ก็ไม่กล้าทานทุกวันนะ กลัวมากเกินแค่ทานพอให้คนไม่กินผักไม่ขาดวิตามินเท่านั้น ตะเองจะบอกว่าวิตามินรวมไม่อันตรายเหมือนยาเม็ดหรือเปล่า ไข่จะได้ทานทุกวันอย่างมั่นใจ
|
|
|
|
|
|
ไข่เจียว
|
|
|
|
|
|
|
ไข่เจียว
|
|
|
|
|
|
|
Lorraine
|
Posts like this birtghen up my day. Thanks for taking the time.
|
|
|
|
|
|
|
|
ไข่เจียว ได้ตั้ง 5000 บาท แล้วจะเลี้ยงอะไรเพื่อนๆครับ...... 
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ไข่เจียว(ของผม)
|
|
|
|
|
|
|
ไข่เจียว(ของผม)
|
|
|
|
|
|
|
ผู้ชายคนหนึ่ง
|
 อย่างน้อย ไข่ก็พยายามทานทุกสิ่งที่อยู่ในจานที่ทานได้ให้หมดแหละฮะ บางอันไม่ชอบ แต่รู้ประโยชน์ ก็เคี้ยวๆกลืนๆไปฮะ  แต่คงไม่สั่งสลัดผักมาทาน หรือหยิบผักสดในตะกร้ามาเคี้ยว อย่างผักสดนี่ ไข่มีข้ออ้างฮะ ว่าอาจล้างไม่สะอาด ไม่คุ้มเป็นพยาธิฮะ  พูดฟังดูดี แต่มั่วนิ่มอีกตามเคย  สั่งแต่สิ่งที่ชอบๆ สิ่งไหนไม่ชอบก็ไม่สั่ง ใครๆก็ทานทุกสิ่งที่อยู่ในจานที่ทานได้ให้หมดแหละคร๊าบ เฮ้อ พูดมาทำไมเนี่ย  แน่จริง ผัดผักรวมกินสิ ครับ  โธ่เอ๊ย ไม่ต้องกลัวหน้าแตกหรอก  ยอมรับความจริงซะเถอะ ว่ากินตามใจปากเป็นหลัก  ไม่ใช่กินเพื่อสุขภาพอะไรหรอก  เพราะ ตอนเด็กๆ ผมไม่รู้เรื่องสุขศึกษา ยังกินผักมากกว่าที่ไข่เล่ามาเลย เฮ้อ
|
|
|
|
|
|
|