รู้สึกผมจะบอกไปแล้วนะครับ ว่าประตูมันมีตัววัดแรงต้านทานอยู่ ถ้ามีแรงต้านทานในขณะที่ประตูกำลังทำ
งานถึงที่กำหนดไว้ ประตูก็จะไม่ทำงานต่อครับ พนักงานที่ควบคุมต้องกดปิดอีกครั้ง เพราะถ้าเกิดไม่มีตรงนี้ ต่อให้มีอะไรมาขวางก็หนีบหมด ถึงหนีบไม่สนิท ตัวที่เกิดปัญหาก็จะเป็นที่ตัวกระบอกสูบของประตูเอง ฉนั้นเขาถึงต้องมีระบบตรงนี้มารองรับไงครับ ส่วนที่บอกว่าสยาม พอสัญญาณดังแล้วคนไม่เข้า หรือเต็มแล้วคนไม่เข้า มันไม่เสมอไปหรอกครับ 10 ปีที่เห็นมากับตา คือเสียงดังเตือน ยิ่งทำให้ผู้โดยสารรีบวิ่งเข้าขบวนเร็วขึ้น ในขณะที่กำลังปิดประตู ปัญหาก็เลยเกิดแบบเจ้าของกระทู้นี่ไงครับ หรือไม่ก็เต็มแล้ว ก็ยังพยายามเบียดเข้าไปในตัวขบวน ถ้ามีส่วนที่เกินออกมา ก็หหนีบแบบกระเป๋านี่ได้เหมือนกัน เวลาได้ยินเสียงเตือนแล้วก็รอขึ้นขบวนถัดไปดีกว่าครับ ถ้าบอกว่าแขนขายังไม่เข้าไปในตัวรถ แล้วปิดประตูยังไงก็ปิดไม่สนิท พนักงานที่ควบคุมรถเขาทราบได้อยู่แล้วครับว่าประตูปิดไม่สนิท ยังไงก็ยังไม่ออกจากรถ นอกเสียจากว่าแขนขาที่คุณบอกมันบางจนทำให้ประตูมันสนิทได้ นั้นแหละครับ รถถึงออก - -"
เห็นด้วยนะ ขึ้นมาตลอด น้อยคนมากที่ได้ยินสัญญาณแล้วจะหยุดรอ รีบวิ่งกันทั้งนั้น คนบางคนไม่เข้าใจหรอกว่ามีการเตือนเพื่ออะไร ความปลอดภัยของใคร พอเกิดเรื่องขึ้นมาก็มาร่ำร้องหาความรับผิดชอบ เดินทางไปไหนก็เผื่อเวลากันไว้บ้าง ถ้ามันต้องสายจริงๆ ก็ทำใจ ความผิดเราเองนี่นา อย่ารีบจนเกิดอันตรายกับตัวเอง ไม่คุ้มหรอก
ปล.คุณอย่าไปสนใจเลย บางคนไม่เข้าใจที่คุณเขียนหรอก อย่าไปสีซอให้เมื่อยเลย ฉันเข้าใจที่คุณอธิบายนะ เพราะเคยเห็นเหมือนกันที่เสียงเตือนดังซ้ำๆ หลายครั้งกว่าจะปิดได้ กว่ารถจะออกเพราะคนยังวิ่งเข้ามาอีก ยังไม่เห็นหนีบคนสักที