[b]ความเป็นมาของประชาคมอาเซียนและแนวโน้มในอนาคต [/b]
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า ก่อนที่จะมีการกล่าวขานกันเรียกว่ากลุ่มประชาคม อาเซียนนั้น เดิมทีได้มีการรวมตัวของกลุ่มประเทศเหล่านี้ภายใต้ชื่อเรียกอื่น ว่าสมาคม อาเซียนกันมาก่อน ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้ได้ประเทศทั้ง 10 ประเทศในปัจจุบัน ทั้งนี้ เดิมทีการดําเนินการจัดตั้งสมาคมอาเซียนนั้นจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 ซึ่งใน ระยะเริ่มแรกนั้น ประเทศไทยและประเทศอื่นๆอีก 4 ประเทศเป็นแกนนํารวมทั้งหมดเป็น5 ประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยไทย (2510) สิงค์โปร์ (2510) อินโดนีเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) ต่อมามีประเทศ บรูไน ( 2527) เวียตนาม (2538) ลาว (2540)พม่า (2540) และ กัมพูชา (2542) ได้เข้ามาร่วมสมทบ รวมเป็น 10 ประเทศดังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน และในอนาคตอันใกล้ คาดว่าอาจจะมี ประเทศอื่นๆอีก 3 ประเทศ หรืออีก 6 ประเทศเข้ามาร่วมด้วย ประเทศเหล่านี้ประกอบไปด้วย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ดังที่เรียกขานกันในนาม
กลุ่ม ASEAN +3 หรือ ASEAN + 6 กันตามลําดับและเมื่อเป็นเช่นนั้นในอนาคต ประชาคมอาเซียนจะกลายเป็นกลุ่มประชาคมที่มีประชากร จํานวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของ โลก หรือประมาณ 3,284 ล้านคนและทําให้เป็นการรวมกลุ่มที่มี สภาพเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่โตมากกว่าการรวมกลุ่มของภูมิภาคอื่นๆในโลก ดังที่มีผู้รู้หลายท่านได้กล่าวว่าจะเท่ากับประมาณ 22% ของ GDP ของโลกทีเดียว
ในระยะแรกของการเป็นสมาคมอาเซียน ผู้นําในประเทศเหล่านี้ก็ได้ให้ความร่วม มือกันอย่างเต็มที่ในด้านต่างๆ จนกระทั่งในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ.2546 ได้มีการเห็น พ้องต้องกันว่าถึงเวลาแล้วที่กลุ่มประเทศทั้ง 10 นี้น่าจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งใน ด้านต่างๆให้ทัดเทียมกับการการรวมกลุ่มในภูมิภาคอื่นๆ เช่น สหภาพยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ฯลฯดังนั้นผู้นําของแต่ละประเทศจึงตกลงใจลงนามใน ปฎิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนหรือ“ข้อตกลงบาหลี” ให้จัดตั้ง ประชาคม อาเซียน (ASEAN Community) ขึ้นและมีเป้าหมายที่อยากจะให้สําเร็จเป็นชุมชนหรือ ประชาคมเดียวกันให้สําเร็จภายในปี พ.ศ.2563 หรือปี ค.ศ. 2020 ซึ่งนับเป็นกําหนด เวลาเดิม ต่อมา ในการประชุม ASEAN SUMMIT ครั้งที่ 12 ที่ประเทศฟิลิปปินส์เหล่า ผู้นําในชาติต่างๆได้เล็งเห็นว่าหากการรวมตัวกันตามกําหนดเดิมอาจไม่ได้รับผลดีเท่าที่ ควรโดยเฉพาะความร่วมมือช่วยเหลือระหว่างกันและกันในด้านต่างๆจึงตกลงร่นระยะเวลาให้เร็วขึ้นทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันซีกโลกต่างๆกําลังมีสภาพมีการแข่งขันที่รุนแรงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและในด้านอื่นๆ หากล่าช้าไปการรวมกลุ่มจะได้รับผลสําเร็จตาม เป้าประสงค์ที่น้อยลงและประกอบกับในปัจจุบันอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจของบาง ประเทศสูงมาก เช่น จีนและอินเดียซึ่งประชาคมอาเซียนซึ่งอยู่ใกล้ชิดสามารถที่จะ แสวงหาประโยชน์และความร่วมมือในด้านต่างๆได้ทันเหตุการณ์ ดังนั้นผู้นําทั้ง 10 ประเทศจึงตกลงให้ร่นเวลาให้แล้วเสร็จในปี 2558 หรือ ค.ศ. 2015 และเพื่อที่จะให้การรวมกลุ่มประชาคมอาเซียนเป็นจริง ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ อําเภอชะอํา และหัวหิน เมื่อ 1 มีนาคม 2552 ผู้นําทั้ง 10 ประเทศจึงได้ลงนามรับรอง ปฎิญญาชะอํา หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 อีกครั้งหนึ่งเพื่อที่จะให้เป็นข้อตกลงและเป็นข้อ กําหนดให้แต่ละประเทศรับไปดําเนินการให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ปัจจุบันกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ มีประชากรรวมกันประมาณ 580 ล้านคนซึ่งนับว่าจะเป็นกลุ่มประชาคมที่มีขนาดใหญ่พอสมควรและมีความสําคัญ ทางการค้า การลงทุน เศรษฐกิจ ความมั่นคงทางการเมืองการปกครอง ตลอดจนการร่วมมือเสริมสร้างความมั่นคงและความร่วมมือช่วยเหลือกันทางสังคมวัฒนธรรมที่ พึ่งพาซึ่งกันและกันในอนาคต
บทความประชาคมอาเซียนโดย : รองศาสตราจารย์ ดร. จุฑา เทียนไทย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคําแหง
