เมื่อรัฐบาล กำลัง "ดูถูก ชาวนา"...???



ไม่ว่าจะกี่ยุค กี่สมัย ประเด็นโต้แย้ง ในเรื่องของข้าวและชาวนา ซึ่งเป็นสินค้าทางการเกษตร ยอดขายติดอันดับหนึ่งของโลก มาหลายปีซ้อน
แต่ชาวนาไทย ก็ยังคงยากจนอยู่เหมือนเดิม
"อาชีพ...ทำนา" ก็คงหนีไม่พ้น ที่จะตกเป็นเป้านิ่งของประเด็นทางการเมือง อย่างขาดไปเสียมิได้
ความเสี่ยงของชาวนา ที่หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน แบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม ดังต่อไปนี้คือ
1. ไม่มีที่นา เป็นของตัวเอง ต้องเช่านายทุน ได้เวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต หักลบกลบหนี้แล้ว ก็แทบไม่เหลือ โดยเฉพาะแถบจังหวัด ที่ไม่อยู่ในเขตชลประทาน ทำนาได้เพียงแค่ปีละหนเดียว
2. มีที่นา เป็นของตัวเอง ผลผลิต ไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย เพราะมีปัจจัยเสี่ยงในเรื่องของสภาวะแวดล้อม เข้ามามีผล ทำให้ข้าวเจริญงอกงามได้ไม่เต็มที่
3. มีที่นา เป็นของตัวเอง และเช่าเพิ่มจากญาติพี่น้องและนายทุน โดยคาดหวังว่า จะผ่านจุดคุ้มทุนได้ มีกำไรเป็นกอบเป็นกำ โดยลืมมองไปว่า
เสี่ยงปีละครั้ง ถ้าดีก็ดีเลย ถ้าแย่ ก็เป็นหนี้ เป็นสิน ปีหน้า ค่อยว่ากันใหม่

การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทางการเกษตร ปัจจุบัน เครื่องจักรกล ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ และเป็นอีกหนึ่งต้นทุน ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในปัจจุบัน เนื่องจากค่าแรงที่สูงขึ้น
"เพราะ...ต้นทุนการผลิต ต่ำกว่า แรงงานคน" ปัจจุบันชาวนาในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ที่รับจ้างในภาคการเกษตร ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 255 บาท ตามนโยบายของรัฐบาล ถ้าจ้างต่ำกว่านี้ ก็แทบจะไม่มีใครทำ
ค่าปุ๋ย ค่ายากำจัดศัตรูพืช ค่าน้ำมัน ยิ่งไม่ต้องพูดถึง
อาชีพการทำนาของคนภาคอิสาน คือ อาชีพของผู้เฒ่าผู้แก่ ที่ต้องทำงาน หาเลี้ยงชีพ ในช่วงบั้นปลายของชีวิต
ที่พยายามพึ่งตัวเอง ให้ได้มากที่สุด ไม่ต้องการ พึ่งพาลูกหลาน ขอให้มีรายได้ไปวันๆ นั่นคือความสุขของท่านเหล่านั้น ลองสังเกตุดูได้ว่า ถ้าลองแวะไปเยี่ยมเยียนชาวบ้าน ในแต่ละหมู่บ้าน
เราก็จะพบชาวบ้านที่สูงวัยกับเด็ก ที่ลูกๆของเขา นำมาฝากให้เลี้ยงดู
ส่วนวัยรุ่น หรือวัยทำงาน เมื่อจบการศึกษา ก็จะมุ่งเข้าสู่กรุงเทพฯหรือหัวเมืองใหญ่ เพื่อหางานทำ
แล้วชาวบ้านล่ะ เค้าอยู่ที่บ้าน เค้าอยู่กันอย่างไร เค้าทำงานอะไรกัน
ก็คงหนีไม่พ้น อาชีพของบรรพบุรุษ ที่เราต้องทานกันอยู่ทุกวัน วันละ 3 มื้อ นี่ล่ะครับ

ถามว่า
"เมื่อเราปลูกสินค้า ขึ้นมาซักชนิดหนึ่ง เราอยากขาย ให้ได้ราคาหรือไม่"...???ทุกท่าน คงจะตอบว่า
"ใช่" ตามที่ผมคาดเดา
ชาวบ้านก็เช่นกัน เมื่อปลูกแล้ว ก็คาดหวังว่า จะได้ราคาดั่งที่ตัวเองหวังไว้และหรือ รัฐบาลในยุคนั้นๆ วาดฝันไว้
ผมเชื่อว่า เกษตรกร ทุกคน ย่อมมีศักดิ์ของตนเอง มิได้หวังพึ่งรัฐบาลแต่อย่างใด
แต่...ด้วยความคุ้นเคยหรือเคยชิน กับโครงสร้างของราคา ที่ทุกๆ รัฐบาล ได้วาดฝันไว้ ให้แก่ชาวบ้านเหล่านั้น
จึงเกิดเป็นพฤติกรรม ความเคยชิน ที่
"ราคา...จะต้องอิงกับรัฐบาลเสมอไป"
หลายๆ ครั้ง ที่ผมพยายามนำเสนอความเห็นว่า
"ถ้าอะไรที่ทำไปแล้ว ไม่ดี ไม่เป็นไปตามความคาดหมาย ก็ควรที่จะต้องเปลี่ยนหรือปรับปรุงวิธีการ"เฉกเช่นเดียวกัน กับการทำเกษตรของชาวนาไทย
บางครั้ง ก็เข้าใจว่า เป็นอาชีพของบรรพบุรุษ แต่ถ้ายังคงทำอยู่เพียงอย่างเดียว
โดยไม่ปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุง ก็คงต้องพึ่งรัฐบาล ไปอีกนานเท่านาน
เรื่องนี้จะไปโทษชาวนา 100% นั้นคงเป็นไปไม่ได้
เพราะเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น
"เกิดจาก...ความหวังดี ของรัฐบาล" ระวังจะกลายเป็นการ
"ดูถูก...ชาวนา" ในทางอ้อมครับ
ลำตะคอง ณ.สนุกการเมือง
ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต 




