หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: "น้ำมันเถื่อน"3ล้านลิตรใต้ปีกธุรกิจระดับชาติ !!  (อ่าน 1242 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 10 เม.ย. 13, 11:38 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 
โดย...กองบรรณาธิการ

น้ำมันเถื่อนเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่ทำให้รัฐต้องเสียรายได้ปีละหลายพันล้านบาท



ข้อมูลการจับกุมน้ำมันเถื่อนของศูนย์ปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง (ปนม.) หรือชุดเฉพาะกิจปราบปรามน้ำมันเถื่อนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 7 ธ.ค. 2555 ถึงวันที่ 7 มี.ค. 2556 สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 471 คดี ยึดของกลางน้ำมันเถื่อนได้เกือบ 7.7 ล้านลิตร และก๊าซปิโตรเลียมเหลวกว่า 2.2 แสนกิโลกรัม รวมเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 235 ล้านบาท

มูลค่าของกลางกว่า 200 ล้านบาทช่วง 4 เดือนที่ตำรวจจับกุมได้ เป็นเพียงส่วนเสี้ยวหนึ่ง เบื้องหลังของขบวนการน้ำมันเถื่อนนั้นซับซ้อน และมีผลประโยชน์มากกว่าที่จับกุมได้หลายเท่านัก



ข้อมูลล่าสุดจาก ปนม.ฉายภาพให้เห็นพฤติกรรมค้าน้ำมันเถื่อน ซึ่งถูกจับกุมได้สดๆ ร้อนๆ

รายแรก เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการที่ 12 ของ ปนม. สืบทราบพฤติกรรมของกลุ่มผู้ค้าน้ำมันเถื่อนรายใหญ่ระดับชาติมาได้ระยะหนึ่ง

พฤติกรรมของผู้ค้าน้ำมันเถื่อนรายนี้ คือ เปิดบริษัทเป็นผู้รับซื้อน้ำมันหรือจ็อบเบอร์ จากบริษัท ไทยออยล์ เพื่อส่งให้กับผู้สั่งซื้อในประเทศลาวและพม่าที่อุปโลกน์ขึ้นมา นำใบสั่งซื้อไปรับน้ำมันจากไทยออยล์ ซึ่งการส่งออกน้ำมันทำให้ได้รับการยกเว้นภาษี ราคาน้ำมันที่ซื้อมาเพื่อส่งออกจึงต่ำกว่าราคาจำหน่ายในประเทศลิตรละกว่า 20 บาท

ชุดเฉพาะกิจของ ปนม.จัดทีมสืบสวนเกาะติดรถขนส่งน้ำมันของบริษัทนี้ และดีเดย์จับกุมก็เริ่มขึ้นเมื่อกลางดึกวันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา




“รถรับน้ำมันจากโรงกลั่นไทยออยล์จำนวน 3.2 หมื่นลิตร แจ้งว่าจะส่งออกไปพม่า ทางด่านแม่สอด จ.ตาก แต่กลับจอดถ่ายน้ำมันที่ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งในพื้นที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เจ้าหน้าที่จึงเข้าตรวจสอบและอายัดน้ำมันไว้ดำเนินคดี” แหล่งข่าวเปิดเผย

การตรวจค้นปั๊มน้ำมันแห่งนี้ ทำให้พบเอกสารสั่งซื้อและจ่ายเงินให้กับบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งเป็นจ็อบเบอร์จากบริษัท ไทยออยล์ ในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมาพบการสั่งซื้อและขนส่งถึง 33 เที่ยว ปริมาณน้ำมันกว่า 1.17 ล้านลิตร

“บริษัทนี้มีผู้บริหารเป็นลูกหลานนักธุรกิจใหญ่ข้ามชาติ การส่งออกไปพม่าและลาว ทำให้ได้รับการยกเว้นภาษี แต่ไม่มีการส่งออกไปจริง จะมีตัวแทนบริษัทอยู่ที่ด่านแม่สอด ด่านแม่สาย จ.เชียงราย และด่านหนองคาย ถือเอกสารข้ามไปให้ฝ่ายพม่าและลาวรับรองว่าได้รับน้ำมันแล้วเท่านั้น ส่วนน้ำมันก็ขายให้กับปั๊มต่างๆ ในประเทศ”

หากส่วนต่างลิตรละ 20 บาท เพียง 5 เดือนที่มีการสั่งซื้อน้ำมันกว่า 1 ล้านลิตร ก็ได้กำไรร่วม 20 ล้านบาท




ขณะนี้การรวบรวมเอกสารหลักฐานของเจ้าหน้าที่ใกล้จะสมบูรณ์ และเตรียมแจ้งข้อหามีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.สรรพสามิต

นอกเหนือจากการสั่งซื้อน้ำมันภายในประเทศแล้ว อีกช่องทางหนึ่งของการค้าน้ำมันเถื่อน คือ การนำเข้าจากต่างประเทศ โดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย

แม้ประเทศไทยจะไม่มีการสั่งนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศ แต่ก็มีช่องว่างจากข้อตกลงกับบางประเทศ เช่น ประเทศลาว ซึ่งทำข้อตกลงผ่อนผันขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านแดนกับประเทศไทย เป็นช่องว่างที่กลุ่มผู้ค้าน้ำมันเถื่อนฉวยใช้หาประโยชน์

เมื่อช่วงต้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ศุลกากรอายัดเรือบรรทุกน้ำมันลำหนึ่ง พร้อมของกลางน้ำมันเบนซิน 95 กว่า 2 ล้านลิตร เพื่อตรวจสอบ

แนวทางสืบสวนพบว่า บริษัทน้ำมันแห่งหนึ่งในประเทศไทยอ้างคำสั่งซื้อจากประเทศลาว ซึ่งมีข้อตกลงผ่อนผันการส่งน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านแดนกับประเทศไทย สั่งซื้อน้ำมันจากประเทศสิงคโปร์

เรือขนส่งน้ำมันของบริษัทดังกล่าวนำน้ำมันเชื้อเพลิงมาจากประเทศสิงคโปร์ แต่เมื่อเข้าน่านน้ำไทยกลับไม่แจ้งการนำเข้า แต่ทำทีเทียบท่ารับซื้อน้ำมันจากบริษัทแห่งหนึ่งใน จ.ระยอง มีการออกเอกสารซื้อขายกันโดยที่ไม่มีการซื้อขายจริง



ทั้งสองบริษัทต่างมีเครือข่ายสายสัมพันธ์กับพรรคการเมืองต่างๆ อย่างแน่นแฟ้น

กรณีนี้เป็นการหาประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้นำเข้ามาและบริษัทในประเทศที่ทำทีขายให้ เพราะบริษัทผู้ขายสามารถลักลอบนำน้ำมันส่วนที่แจ้งว่าได้ขายออกไปแล้วไปขายต่อได้ ซึ่งเป็นการหลบเลี่ยงภาษีสรรพสามิต พฤติกรรมดังกล่าวเท่ากับว่ามีน้ำมันเถื่อนที่ไม่เสียภาษีเข้าสู่ระบบของไทยถึง 4 ล้านลิตร หากหลุดรอดไปได้ ส่วนต่างกำไรจะมีมูลค่าถึง 80 ล้านบาท

แต่ฝันหวานถึงกำไรส่วนต่างของราคาน้ำมันทั้ง 4 ล้านลิตรก็ต้องอันตรธาน เพราะเกิดความผิดพลาดขึ้นเมื่อเจ้าของคลังน้ำมันแห่งหนึ่งในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร ที่ได้ตกลงกันไว้ยกเลิกข้อตกลงกะทันหัน ทำให้ไม่สามารถถ่ายน้ำมันจากเรือมาเก็บไว้ที่คลังน้ำมันได้ เจ้าหน้าที่ศุลกากรพบพิรุธเรือดังกล่าวจอดลอยลำหลายวัน ทั้งที่ตามระเบียบการนำเรือสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร จะต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมง จึงเข้าตรวจสอบและอายัดน้ำมันในเรือ



“พฤติกรรมของผู้ค้ารายนี้ก็คล้ายๆ กับรายแรกที่จับกุมได้ นั่นคือ พอถ่ายน้ำมันเก็บไว้ในคลังแล้ว ก็จะทำใบขนส่งแจ้งออกนอกประเทศ มีตัวแทนดำเนินการเอกสารที่ด่านศุลกากรของทั้งสองประเทศ ส่วนรถขนน้ำมันก็จะตระเวนส่งตามปั๊มต่างๆ ที่สั่งซื้อเข้ามา”

ขณะนี้กรมศุลกากรกำลังตรวจสอบเอกสารของเรือบรรทุกน้ำมันลำดังกล่าวกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

จะออกหัวหรือก้อย ดำเนินคดีตามกฎหมาย หรือผู้กระทำผิดลอยนวล อีกไม่นานก็จะได้รู้กัน แต่ข้อมูลของการกระทำผิดที่ตรวจพบ 2 รายใหญ่ๆ นี้ ทำให้เห็นภาพของเครือข่ายค้าน้ำมันเถื่อนว่า มิใช่แค่รายเล็กรายย่อยที่ลักลอบขนข้ามแดนกันเที่ยวละ 1,000-2,000 ลิตร แต่ใหญ่โตขนาดนำเข้าส่งออกกันเที่ยวละนับล้านลิตร มีผลประโยชน์มหาศาล และผลประโยชน์มหาศาลที่ได้รับนี้ก็จะหล่อเลี้ยงขบวนการให้สยายปีกครอบงำทั้งส่วนราชการและการเมือง เพื่อคุ้มครองขบวนการต่อไป


http://www.posttoday.com

ขอบคุณแหล่งที่มาและภาพประกอบจาก internet(ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อข่าวครับ..มีบางท่านที่ไม่อ่านข่าวอาจเข้าใจผิด)


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 เม.ย. 13, 19:17 น โดย intervintion » noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Guest
ปชช ไทย
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 เม.ย. 13, 14:33 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

สงสารลูกหลานเกิดมามีหนี้แถมทรัพยสินของแผ่นดินก็ตกไปอยู่ในมือนายทุน q*077q*077

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Guest
dogky
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 15 เม.ย. 13, 10:30 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ทำไมต้องเอาภาพแท่นหลุมผลิตน้ำมันมาโชว์ออกทางเนตด้วยบริษัทเขาสามารถฟ้องร้องได้น่ะทำให้เขาเสียหายมันไม่สมควรเอามาวิจารณ์แบบนี้ข้อมูลแบบครึ่งๆกลางๆๆแล้วก็ผสมกับความเห็นส่วนตัวด้วย

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #3 เมื่อ: 15 เม.ย. 13, 19:14 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ทำไมต้องเอาภาพแท่นหลุมผลิตน้ำมันมาโชว์ออกทางเนตด้วยบริษัทเขาสามารถฟ้องร้องได้น่ะทำให้เขาเสียหายมันไม่สมควรเอามาวิจารณ์แบบนี้ข้อมูลแบบครึ่งๆกลางๆๆแล้วก็ผสมกับความเห็นส่วนตัวด้วย



เป็นภาพที่ทำงานของ จขกท เอง..ที่หน้า facebook ก็มีภาพนี้..เป็นแท่นที่ต่างประเทศไม่ใช่ที่เมืองไทย..เป็นเพียงภาพประกอบเพื่อความสวยงาม..อย่าดูแต่ภาพซิอ่านข่าวด้วยจะได้รู้ว่าภาพประกอบไม่ได้เกี่ยวกับข่าวเลยแล้วมันจะเสียหายตรงไหนครับท่าน..ถ้าจะฟ้องแล้วรู้หรือเปล่าว่าแท่นชื่ออะไร..ถ้าไม่รู้จะบอกให้..







noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Guest
สารยา
เรทกระทู้
« ตอบ #4 เมื่อ: 17 เม.ย. 13, 11:07 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ทำไมส่งขายคนต่างชาติไม่ต้องเสียภาษี ถูกกว่าตั้งลิตรละ20 บาท ทำไมไม่ไว้ใช้ในประเทศแล้วให้ราคาถูกจะได้ไม่มีนำมันเถื่อน ควายทำนา

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #5 เมื่อ: 17 เม.ย. 13, 13:33 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ทำไมส่งขายคนต่างชาติไม่ต้องเสียภาษี ถูกกว่าตั้งลิตรละ20 บาท ทำไมไม่ไว้ใช้ในประเทศแล้วให้ราคาถูกจะได้ไม่มีนำมันเถื่อน ควายทำนา

เขาเรียกธุรกิจครับ..ไม่มีพี่ไม่มีน้อง..









จะเห็นได้ว่า ความเป็นจริงที่ว่ากันว่า ปตท ส่งออกน้ำมันออกต่างประเทศถูกกว่าที่ขายในประเทศไทย ก็เพราะว่า ราคานั้นเป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษีและกองทุนน้ำมันของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศต่างๆก็เก็บภาษีไม่เท่ากัน แล้วแต่ละประเทศก็คิดราคากันคนละฐานราคาเท่านั้น ดังนั้น ค่าน้ำมันประเทศไทยแพงเพราะภาษีและกองทุนที่เรียกเก็บนั่นเอง

ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง ทั้งๆที่เราเป็นถึงเจ้าของบ่อน้ำมันตั้งหลายบ่อ

หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง เป็นเพราะ ปตท. โก่งราคาน้ำมันรึเปล่า? ก็ในเมื่อประเทศไทยก็เป็นเจ้าของบ่อน้ำมันตั้งหลายบ่อ รายได้เข้าประเทศก็ดี เราก็น่าจะเติมน้ำมัน “ถูก” สิ

ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง แล้วทำไมประเทศไทยยังต้องนำเข้าน้ำมันดิบ?
คำตอบคือก็เพราะว่าน้ำมันดิบที่เราผลิตได้ในประเทศมีไม่เพียงพอกับความต้องการใช้น่ะสิ

ประเทศไทยผลิตน้ำมันดิบได้เพียง 140,000 บาร์เรล/วัน หรือ 23 ล้านลิตร/วัน แต่เรามีความต้องการใช้ถึง 900,000 บาร์เรล/วัน หรือ 143 ล้านลิตร/วัน นั่นแสดงว่าเรามีความจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันดิบ 800,000 บาร์เรล/วัน หรือ 127 ล้านลิตรต่อวัน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ อย่างนี้แล้วจะให้เราใช้น้ำมันถูกได้อย่างไร ในเมื่อเรายังต้องนำเข้าน้ำมันดิบ
น้ำมันดิบที่ประเทศไทยนำเข้ากว่า 80% มาจากตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันใหญ่ที่สุดของโลก ดังนั้น ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง ก็เพราะราคาที่ใช้ในการ ซื้อ-ขาย เป็นราคาที่ถูกกำหนดโดยกลไกในตลาด นั่นคือ อุปสงค์และอุปทานของทั้งโลกนั่นเอง
โรงกลั่นซื้อน้ำมันดิบมาในราคาตลาดโลก เวลาขายก็ใช้ราคาตลาดโลกเช่นกัน โดยตลาดกลางซื้อขายน้ำมันที่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด และเป็นศูนย์กลางการซื้อขายในภูมิภาคเอเชียก็คือตลาดสิงคโปร์ โดยราคาที่ซื้อขายกันในตลาดสิงคโปร์สะท้อนมาจากอุปสงค์-อุปทานของผู้บริโภค
- ไม่ใช่ ราคา ณ โรงกลั่นสิงคโปร์

- ไม่ใช่ ราคาขายปลีกสิงคโปร์

- ไม่ใช่ ราคาที่รัฐบาลสิงคโปร์กำหนด

ถ้าหากประเทศไทยไม่มีโรงกลั่นน้ำมันเอง ประเทศไทยก็ต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งต้องบวกค่ากลั่นและค่าดำเนินการราคาก็จะแพงกว่าน้ำมันดิบ ทำให้ประเทศต้องเสียเงินตราต่างประเทศมากขึ้น แถมยังต้องพึ่งพาต่างชาติล้วนๆ ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องที่ดี ดังนั้น การมีโรงกลั่นจึงเป็นการเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงาน ลดการพึ่งพาต่างชาติ
สรุปง่ายๆ คนไทยใช้น้ำมันแพงเพราะคนไทยยังต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศเพราะปริมาณน้ำมันดิบที่มีอยู่ในประเทศไทยไม่เพียงพอต่อการบริโภคของคนไทย และอีกอย่างกลไกราคาน้ำมัน ที่ใช้ในการ ซื้อ-ขาย เป็นราคาที่ถูกกำหนดโดยกลไกในตลาดโดยตลาดกลางซื้อขายน้ำมันที่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด และเป็นศูนย์กลางการซื้อขายในภูมิภาคเอเชียก็คือตลาดสิงคโปร์ แล้วก็ถูกนำมาคำนวนบวกภาษีสรรพสามิต,ภาษีเทศบาง,กองทุนน้ำมัน, VAT ฯลฯ จึงออกมาเป็นราคาน้ำมันที่ประชาชนคนไทยต้องจ่ายอยู่ทุกวันนี้


เหตุใดกฟผ.ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ100% จึงต้องซื้อก๊าซราคาแพงกว่ากลุ่มบริษัทในเครือปตท.ซึ่งถือหุ้นส่วนข้างน้อย แล้วกฟผ.ก็จะผลักค่าใช้จ่ายมาให้ผู้บริโภคในรูปของค่าไฟฟ้า

มีนักวิชาการของปตท.ตอบว่า เพราะบรรดาบริษัทในเครือปตท.ตั้งอยู่บริเวณที่ท่อส่งก๊าซขึ้นบกพอดี จึงมีเส้นทางสั้นกว่า ราคาจึงถูกกว่า

เหตุผลแบบนี้ประชาชนผู้ถือหุ้นใหญ่51%ในปตท.ผ่านกระทรวงการคลัง ยอมรับได้ไหม?


กองทุนน้ำมัน เดิมมีไว้รักษาระดับราคาเชื้อเพลิง น้ำมันแพงจ่ายออก น้ำมันถูกเก็บเข้ามันไม่ใช่ภาษีเพราะเป็นเงินที่เหมือนคนไทยหยอดกระปุกร่วมกันและใช้เมื่อจำเป็น แต่ตอนนี้มันทุบกระปุกเราไปรักษาราคาก๊าซ LPG ซึ่ง ปตท ใช้เป็นวัตถุดิบให้ปิโตรเคมีลูกตัวเองเอาไปทำพลาสติก
โดยปตทให้ลูกซื้อในราคาต่ำเพียง 16.20 กิโล ปีที่แล้ว กลุ่มปตทคนเดียวเขมือบก๊าซ LPG ราคาถูกเข้าไป 2.6 ล้านตัน(ใกล้เคียงคน 60ล้านคนใช้) ก๊าซที่ผลิตได้จากอ่าวไทยจึงเกือบหมด เป็นสาเหตุให้ก๊าซขาดต้องนำเข้าและปตทก็ให้กองทุนน้ำมันของประชาชนรับภาระการนำเข้าไป
ทุกภาคส่วนจ่ายเงินเข้ากองทุนจากการเติมน้ำมัน 3.2-9.2บาทต่อลิตร
ขณะที่ปิโตรเคมีจ่ายเงินเข้ากองทุนจากการซื้อ LPG กก.ละ 1บาทเท่านั้น
เอาเปรียบอุตสาหกรรมอื่นๆที่ไม่ใช่ของปตทที่เขาจ่ายกัน กิโลละ12.14 บาทหากปิโตรเคมีจ่ายเข้ากองทุนเท่าอุตสาหกรรมอื่นปัญหากองทุนน้ำมันที่เป็นภาระของประชาชนผู้เจ้าของทรัพยากรก๊าซและน้ำมันก็จะหมดไปครับ








CR internet.
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #6 เมื่อ: 17 เม.ย. 13, 13:49 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
มาดูกราฟแท่งที่ผมทำให้ดูอย่างง่ายดีกว่าครับ ข้อมูลจากกระทรวงพลังงาน

Ex-Refin. = ราคาขายหน้าโรงกลั่น
Tax = ภาษีสรรพสามิต
M. Tax = ภาษีเก็บเข้าเทศบาล
Oil Fund = เงินเก็บเข้ากองทุนน้ำมัน
Consv. Fund = เงินเก็บเข้ากองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
Marketing margin = ค่าการตลาด
Retail price = ราคาขายหน้าปั๊มน้ำมันในเขตกรุงเทพและปริมณฑล


http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html



กราฟที่ 1: โครงสร้างราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทย ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556 (บาท/ลิตร)





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 เม.ย. 13, 14:05 น โดย intervintion » noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  ธุรกิจ น้ำมัน 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม