ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 2000 ภาพถ่ายจุดลงจอดของอะพอลโลความละเอียดสูงที่ถ่ายโดยอวกาศยาน LPOC สามารถจับภาพส่วนลงจอดและรอยเท้าที่นักบินอวกาศหลงเหลือไว้ได้ใน พ.ศ. 2555 มีการเผยแพร่ภาพถ่ายที่แสดงธงอะพอลโลที่ยังตั้งอยู่บนดวงจันทร์
การกล่าวอ้างว่า ภาพ อะพอลโล 11 ลงจอดบนดวงจันทร์ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512(ค.ศ. 1969) นั้น ไม่ได้ถ่ายบนดวงจันทร์ แต่ถ่ายทำขึ้นในสตูดิโอภาพยนตร์บนพื้นโลก ความคิดนี้เริ่มเป็นที่พูดคุย หลังจากภาพยนตร์เรื่อง แคปริคอร์นวัน (Capricorn One) ออกฉาย ภาพยนตร์นั้นว่าองค์การนาซาได้หลอกลวงชาวโลกโดยสร้างภาพการลงจอดยานที่ดาวอังคาร อย่างไรก็ตาม มีข้อพิสูจน์หลายอย่างว่า ถึงแม้ว่าการสำรวจอวกาศของอะพอลโล 11 จะเป็นเรื่องจริง แต่ภาพถ่ายของ นีล อาร์มสตรอง ถูกถ่ายทำขึ้นบนโลก โดยตามความคิดของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่า นีล อาร์มสตรองจะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ภาพถ่ายนี่จะออกมาต่อสื่อมวลชนเพื่อสร้างข่าวลือของความสำเร็จของสหรัฐอเมริกา
ในปี พ.ศ. 2517 ได้มีหนังสือซึ่งเขียนขึ้นโดย บิลล์ เคย์ซิง (Bill Kaysing) ชื่อเรื่องว่า เราไม่เคยไปดวงจันทร์ (We Never Went to the Moon) หรือ หนังสือของ ราล์ฟ มูน ในชื่อเรื่อง นาซาเหยียบสหรัฐอเมริกา (NASA Mooned America) ซึ่งเกี่ยวกับข่าวหลอกลวงที่นาซาสร้างขึ้น และมีมิวสิกวีดีโอเพลง อเมริกา (Amerika, ใช้ตัวอักษร k) ของ แรมม์ไสตน์ (Rammstein) เนื้อเพลงเกี่ยวกับการหลอกลวงในการลงจอดบนดวงจันทร์ ซึ่งนักร้องแต่งชุดเป็นนักบินอวกาศ และฉากหลังเป็นดวงจันทร์