|
สงกรานต์สิงคโปร์ 2014 ชาวเน็ต ไทยดราม่า ผู้สื่อข่าวราย งานว่า (17 มี.ค.) หลังจากที่เว็บไซต์ https://www.celebratesongkran.com/ และเฟซบุ๊ก Celebrate Songkran ได้มีการประชาสัมพันธ์งานสงกรานต์ 2014 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ โดยจะจัดเป็นงานสงกรานต์ที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 12-13 เมษายน 2557 บริเวณ The Padang (อยู่ตรงข้ามกับ Cite Hall) โดยระบุว่าเป็นการจัดงานนอกสถานที่เปิดให้ประชาชนเข้าไปร่วมมีประสบการณ์สนุกๆ กับเทศกาลสงกรานต์ที่จัดขึ้นนอกประเทศไทย เป็นโอกาสให้ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีที่สนุกสนานของประเทศไทยที่เป็นที่ชื่นชอบของชาวต่างประเทศ ทั้งนี้ นอกจากในงานจะมีลานกิจกรรมให้ร่วมกันเล่นน้ำสงกรานต์แล้ว ยังมีการจัดชก มวยไทยกลางแจ้ง การตั้งร้านค้าขายสินค้าต่างๆ และยังมีการให้ลองชิมอาหารไทย และขนมไทยแล้ว ยังมีการจัดโซนแสดงคอนเสิร์ตที่มีการจำหน่ายบัตรซึ่งผู้ซื้อจะต้องอายุ 18 ปี โดยมีการแสดงดนตรีแนวอิเล็กทรอนิกส์-ป็อบจากวง Far East Movement การแสดงของ Nam Gyu Ri และนักร้องชาวไทยจากค่ายอาร์เอส อาทิ ฟิล์ม รัฐภูมิ,เฟย์ ฟาง แก้ว,โฟร์ มด,ขนมจีน,หวาย กามิกาเซ่ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงไม่พอใจกับชาวไทยในโลกออนไลน์ อาทิ นายพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ พิธีกรชื่อดังด้านไอที ถึงกับโพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก Pongsuk Hiranprueck ถึงกรณีดังกล่าวว่า "ไปกันใหญ่! เมื่อสงกรานต์ไทยที่โชว์ชาวโลกไปมันไม่ใช่สิ่งดีงามตามเจตนารมณ์บรรพบุรุษ "สิงคโปร์(จึง)ฉก" เทศกาลสาดน้ำอย่างบ้าคลั่งนี้ไป"ทำเอง"แล้วครับ เคลมว่า"ใหญ่ที่สุด" หวังดูด(แย่ง)นักท่องเที่ยวไปจากไทยที่มัวแต่ทะเลาะกันจนมันไม่น่าเที่ยวซะแล้ว T-T #RIPsongkran มีเว็บไซต์โดเมนสวย CelebrateSongkran.com เป็นเรื่องเป็นราว #มองตาปริบๆ" สงกรานต์สิงคโปร์ 2014
|
|
|
|
|
|
![]() |
|
|
สิงค์โป เปิดฉากแย่งประเพณีสงกราณต์ไปจัดแย่งนักท่องเที่ยวจากประเทศไทย สิงค์โป ได้ประกาศการจัดงานวันสงกราณต์โดยอ้างว่าเป็นงานสงกราณต์นอกประเทศไทยเพื่อแย่งนักท่องเที่ยวจากประเทศได้อย่างชัดเจน จุดขายคือ ประสบการณ์สงกราณต์นอกประเทศไทย และยังอ้างถึงว่าจะให้ขอมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเพณีสงกราณต์ที่ถูกต้องในแบบไทย มันถูกรึปล่าวที่ให้คนต่างชาติเอาวัฒนธรรมไทยไปหากิน
เครดิต โพสจัง
|
|
|
|
![]() |
|
|
ยังไม่ทันเปิดประตูอาเซี่ยน ก็ส่อให้เห็นแล้วว่าเป็นอย่างไร
|
|
|
|
![]() |
|
Sun Thathong
|
สิงคโปร์เป็นประเทศที่น้อมรับและเคารพซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม (multiculturalism) มาเป็นเวลานานและผมเข้าใจว่าชาวสิงคโปร์เองมีความชื่นชอบชื้นชอบวัฒนธรรมไทยและมีความปรารถนาดีที่จะช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมไทยผ่านงานดังกล่าว อย่างไรก็ดี ผมขอสรุปประเด็นสำคัญๆ เกี่ยวกับผลเสียของงานที่อาจมีต่อประเทศไทย แจกแจงได้เป็นประเด็น ดังนี้ครับ
1. คำว่า "สงกรานต์" นั้น เป็นคำเฉพาะที่ใช้ในประเทศไทยและประเทศลาว (พม่า กัมพูชา ศรีลังกาและยูนาน ที่มีประเพณีคล้ายกันนี้จะใช้คำอื่น) ในไทยนั้นประเพณีสงกรานต์มีมาควบคู่กับตำนานของท้าวมหาพรหม (folk tale) ซึ่งตำนานดังกล่าว ประกอบกับประเพณีการสรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ และการทำบังสกุลให้แก่บรรพบุรุษ ถือเป็นหัวใจหลักของประเพณีสงกรานต์ (หาใช่การเล่นน้ำไม่) กล่าวคือ คำว่า "สงกรานต์" หากพูดในแง่กฎหมายระหว่างประเทศด้านมรดกทางวัฒนธรรมแล้ว ถือเป็น "intangible cultural heritage" (มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้) ของประเทศไทย (และลาว อาจรวมไปถึงกัมพูชา พม่า ศีลังกา และยูนานด้วย) คำว่า "สงกรานต์" จึงแสดงถึงอัตลักษณ์ของประเทศไทย (identity) ทีชาวไทยหลายคน (แต่อาจไม่ทั้งหมด) ต้องการพึงรักษาและอนุรักษ์ไว้ไม่ให้ถูกบิดเบือน (แม้ว่าคนไทยหลายคนเอง โดยเฉพาะวัยรุ่นจะไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ก็ตาม)
2. ส่วนตัวแล้วผมไม่หวงวัฒนธรรมหรือประเพณีไทยครับ แต่ขอให้เคารพและทำอย่างเหมาะสม กล่าวคือ หากคุณต้องการจะใช้คำว่า "สงกรานต์" เพื่อโปรโมทงาน (ซึ่งต่างกับคำว่า "Water festival" อย่างมากในแง่กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและภูมิปัญญา) ก็สมควรทำให้ถูกต้องและเหมาะสม ควรมีการสรงน้ำพระ ควรมีการเท้าความถึงตำนานนางสงกรานต์ ประกาศว่านางสงกรานต์ปีนี้เป็นใคร ทรงอะไร มีพาหนะอะไร การทำนายเรื่องนาคให้น้ำกี่หาบ ฯลฯ เพราะหัวใจหลักของประเพณี "สงกรานต์" ไม่ใช่อยู่ที่การสาดน้ำ แต่อยู่ที่ความเชื่อและวิถีชีวิตของคนไทย หาก สิงคโปร์ต้องการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยภายใต้ชื่อ "Songkran" จริงทำได้ ผมสนับสนุนครับ แต่ขอให้ทำอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดการบิดเบือนในสายตาของชาวต่างชาติว่า สงกรานต์เป็นเพียงเทศกาลความสนุก สาดน้ำ ตลุยกินอาหาร (อันที่จริง การเล่นน้ำในไทยเองก็ควรคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน)
3. ผมยอมรับว่าผมอาจจะหัวโบราณ หรืออาจจะอินกับเรื่องวัฒนธรรมมากเกินไปจนคิดมาก แต่ผมกังวลจริงๆ ครับว่า การจัดงานเต็มรูปแบบของสิงคโปร์ ภายใต้ชื่อ "Songkran" โดยไม่ทราบถึงแก่นแท้ของสงกรานต์ อาจเป็นการบั่นทอนและทำลายคุณค่า (degrade & devalue) วัฒนธรรมไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่่องจากเป็นการนำคำว่า สงกรานต์ออกนอกบริบททางวัฒนธรรมเพื่อประโยชน์ทางเงิน (take "Songkran" out of its cultural context for commercial purposes)
หากจะไม่ทำอย่างถูกต้องกรุณาอย่าเรียกว่า "Songkran" จะเรียกว่า "water festival" ก็ได้ไม่ว่า แต่หากเรียกว่า "Songkran" โดยเอาไปแต่เปลือกอาจเป็นผลร้ายต่อไทยทั้งในแง่สังคมวัฒนธรรม (ทำให้อัตลักษณ์ไทยเสื่อมลง) และแง่เศรษฐศาสตร์ (ทำให้ market branding ของคำว่าสงกรานต์ในภาคการท่องเที่ยวของไทยถูกบั่นทอน - diluted & devalued)
จริงอยู่ที่ไทยเองต้องปรับปรุงตัวและต้องพยายาม re-brand ตัวเองใหม่ เพราะปัญหาความรุนแรง ความสกปรก และการกระทำอนาจารระหว่างการเล่นสงกรานต์ในไทยเป็นปัญหาที่เราปฏิเสธไม่ได้ แต่นี้ก็ไม่ใช่เหตุผลสนับสนุนการจัดงานครั้งนี้ของ สิงคโปร์ ผมจะไม่พูดถึงประเด็นการแย่งนักท่องเที่ยวไทย เพราะคิดว่าไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่จะขอพูดถึงประเด็นกฎหมายระหว่างประเทศที่อาจเกี่ยวข้องละกันนะครับ
|
|
|
|
![]() |
|
Sun Thathong
|
4. ปัจจุบัน นักกฎหมายระหว่างประเทศกำลังให้ความสำคัญเรื่องวัฒนธรรม มีการพูดถึงประเด็นความเป็นเจ้าของวัฒนธรรม (ownership) และข้อปฎิบัติที่พึงกระทำในกรณีที่ประเทศ A หรือบริษัทเอกชนของประเทศ A ต้องการจะใช้วัฒนธรรมภูมิปัญญาของประเทศ B เพื่อประโยชน์ทางการค้า ประเด็นนี้ กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organisation) มีการยกร่างสนธิสัญญาระหว่างประเทศขึ้นมา ยังไม่แน่ว่่าจะได้ผ่านเป็นตัวบทกฎหมายหรือไม่ ประเด็นคือ ประเทศไทยได้เข้าร่วมการประชุมเจรจาดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและมีท่าทีที่ค่อนข้างชัดเจนมาโดยตลอดว่าต้องการอนุรักษ์รักษาวัฒนธรรมไทย (ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสื่อแสดงออกทางวัฒนธรรม - traditional knowledge and traditional cultural expressions) ไม่ให้สูญหายและปกป้องไม่ให้ผู้ใดละเมิดหรือนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสม ร่างข้อตกลงฯ ที่ประเทศต่างๆ กำลังเจรจาที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกนั้น แม้ยังไม่ใช่ร่างสุดท้าย แต่ก็สรุปประเด็นสำคัญๆ ได้เช่น ผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธการใช้วัฒนธรรมโดยคนนอก (แต่ไม่ทุกกรณี) คนนอกต้องทำเรื่องขออนุญาติก่อนใช้ (แต่มีข้อยกเว้น) และอาจมีการจัดทำข้อตกลงระหว่างผู้เกี่ยวข้องเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ทางการค้าที่จะได้รับจากการ "ขาย" (commercialise) วัฒนธรรมดังกล่าว ฯลฯ หลายฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่า มาตรการเหล่านี้มีความจำเป็น เพราะผู้ที่เป็นคนผลิต ดูแล รักษา และสืบถอดภูมิปัญญาและสื่อแสดงออกทางวัฒนธรรมมาเป็นเวลาช้านาน ควรมีสิทธิ์และมีส่วนร่วมในการจัดการใด ๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรมนั้นๆ และควรมีสิทธิ์ในการหยุดกระทำใดๆ อันเป็นการไม่เคารพหรือบิดเบือนวัฒนธรรมของพวกเขา นี้เป็นพัฒนการล่าสุดของกฎหมายระหว่างประเทศในสาขาวัฒนธรรมครับ
หากมองจากมุมของการพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศนี้แล้ว (แม้ว่าหลักการต่างๆ ยังจะต้องมีการปรับแก้เพิ่มเติม) จะเห็นได้ว่า การกระทำของ สิงคโปร์ ครั้งนี้ (แม้ว่าจะเป็นการจัดโดยภาคเอกชนก็ตาม) อาจถูกมองว่าไม่เหมาะสมด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ไม่มีการปรึกษาหารือหน่วยงานราชการไทยที่เกี่ยวข้องเรื่องความเหมาะสมก่อนจะนำคำว่า "Songkran" ไปใช้ ไม่มีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับประวัติและความสำคัญของประเพณีสงกรานต์บน website ของงาน (มีแต่โปรโมทมวยไทย อาหารไทย สาดน้ำ) ไม่มีการให้คำมั่น (guarantee) แม้แต่นิดว่า คำว่า "สงกรานต์" จะไม่ถูกบิดเบือนให้เป็นเพียงการสาดน้ำ ฟังเพลง กินข้าว และหากประเทศไทยไม่ได้ท้วงติงอะไรเลย นี้อาจเป็นการสร้างหลักปฏิบัติ (precedent) ให้กับการจัดงานครั้งต่อๆ ไป ไม่ใช่แค่ในสิงคโปร์แต่รวมถึงประเทศอื่นด้วยครับ ซึ่งอาจส่งผลลูกโซ่ให้คำว่า "สงกรานต์" ดิ่งลงเหว ตัดขาดจากบริบททางวัฒนธรรม (cultural context) ของไทยในที่สุด นี้คือสิ่งที่ผลเป็นกังวลครับ
ผมเองดีใจที่เห็นชาวต่างชาติชื่นชอบวัฒนธรรมไทย และเข้าใจถึงความปรารถนาดีของสิงคโปร์ อันที่จริงไทยควรเรียนรู้เรื่อง multiculturalism และวัฒนธรรมของการถ้อยทีถ้อยอาศัยประนีประนอม (culture of tolerance) จากสิงคโปร์ และผมไม่มีปัญหาหาก สิงคโปร์อยากนำ "Songkran" ไปเผยแพร่ แต่แค่ขออย่าทำแบบเป็นการแอบอ้าง และไม่เคารพ หวังแต่เงินอย่างเดียว ไม่เช่นนั้นแล้ว การกระทำดังกล่าวจะส่งผลร้ายมากกว่าผลดีต่อประเทศไทยครับ
ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าทางรัฐบาลไทยมีท่าทีอย่างไร ผมได้ข่าวว่าทาง ททท ต้องการผลักดันให้ Songkran เป็น ASEAN festival แต่การผลักดันดังกล่าว จำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อความหมายและความสำคัญของประเพณีสงกรานต์ต่อคนไทย (รวมถึงลาว พม่า เขมร ยูนาน และศรีลังกา) ด้วย เพราะการที่จะทำให้ Songkran เป็นที่ยอมรับระดับ ASEAN ซึ่งมีประชากรมุสลิมอยู่มาก ไทยอาจจำเป็นต้องยอมเสียสละสาระด้านศาสนา (religious elements) ของสงกรานต์ไป เพื่อให้มีความสากล (universal) มากขึ้น แต่กระนั้น คนไทย (รวมถึงพม่า กัมพูชา ฯลฯ) ก็ต้องมีส่วนร่วมสำคัญในการจัดงานแต่ละครั้ง ในฐานะผู้สืบทอดและถ่ายทอดวัฒนธรรมดังกล่าวมาเป็นเวลานาน มิใช่ปล่อยให้บริษัทเอกชนชาติอื่นๆ ซึ่งไม่มีความเข้าใจถึงแก่นแท้ของสงกรานต์เป็นผู้จัดงานแต่ฝ่ายเดียว
ในขณะเดียวกับ คนไทยจะมัวแต่ด่าทอต่อว่าสิงคโปร์อย่างเดียวไม่ได้ เราควรใช้โอกาสนี้หวนนึกและสะท้อนถึงการจัดงานสงกรานต์ในบ้านเราเอง และทำความเข้าใจแก่นแท้ของสงกรานต์กันใหม่ เราจะว่านักท่องเที่ยวไม่ได้หากเขาต้องการเล่นน้ำในที่ที่สะอาด ปราศจากความรุนแรง โกลาหล และเรื่องเพศ
กล่าวโดยสรุป ผมไม่ว่าสิงคโปร์หากจะใช้คำว่า "สงกรานต์" เป็นชื่องาน หากเขาสามารถแสดงให้เห็นได้ว่าเขาได้ทำตามประเพณีไทยที่สืบทอดต่อกันมา มีพระพุทธรูปให้คนได้สรงน้ำ มีบอร์ดประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องประวัติ ตำนาน ความเป็นมา มีหน่วยราชการไทยเป็นผู้ร่วมการจัดและให้การสนุนให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชน มีการเตรียมแบ่งรายได้ที่ได้จากการจัดงานเพื่อใช้พัฒนาและฟื้นฟูวัฒนธรรมของไทยหรือของอาเซียน มิใช่เก็บรายได้ที่มาจากการขาย cultural brand ของไทยเข้ากระเป๋าของผู้จัดสิงคโปร์แต่ฝ่ายเดียว หากทำไม่ได้ ควรเปลี่ยนชื่อเป็น "Water festival" ซึ่งมีความเป็นกลาง ไม่เช่นนั้นแล้ว "สงกรานต์" ซึ่งเปรียบได้กับแบรนด์วัฒนธรรมร่วมของไทยและลาว (รวมถึงพม่า กัมพูชา ยูนาน และศรีลังกา) อาจเหลือแต่เปลือกไร้แก่น ที่ไม่สามารถเรียกคุณค่ากลับคืนมาได้อีกต่อไป คนไทยเองก็ควรใช่โอกาสนี้ปรับปรุงและสร้างความตระหนักถึงแก่นของประเพณีสงกรานต์ด้วย
จริงอยู่ เราไม่ควร "แช่แข็ง" วัฒนธรรม แต่บางครั้ง เราต้องมีมาตรการคุ้มครองเพื่อไม่ให้วัฒนธรรมดังกล่าวถูกดูดกลืนหายไปกลับวัฒนธรรมใหม่ซึ่งส่วนมากเป็นวัฒนธรรมของชาติที่มีอิทธิพลทางการเมืองมากกว่าเรา เราควรใส่ "เกราะ" ให้วัฒนธรรมเพื่อให้สามารถมีชีวิตอยู่ ปรับปรุง พัฒนา เติบโต โดยที่ไม่ถูกกลืน สาบสูญ และพ่ายแพ้ไปในสงครามทางวัฒนธรรมของโลกครับ
|
|
|
|
![]() |
|
|
คห.ที่ 4-5 พูดมามีเหตุผลครับ...
|
|
|
|
![]() |
|
หนุกหนานไทย!
|
q*0611 อันที่จริงหากสิงค์โปร์จะให้เกียรติประเทศไทย ควรทำหนังสือขออนุญาตจากกระทรวงวัฒนธรรมของไทยควรจะถูกต้องกว่า ก็เป็นอันว่าในครั้งต่อไป ประเทศไทยก็คงสามารถดึงเอาจุดยุทธศาสตร์ของสิงคโปร์นำมาใช้ได้ เรื่องนี้น่าทำหนังสือประท้วงก็น่าจะดี หรือว่าเป็นกันเองกับนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยเป็นการส่วนตัวหรืออย่างไรถึงไม่ทำอะไรนั้นได้
เรื่องนี้นี่เดี๋ยวก็ต้องถึงกปปส.อีกสิเพราะว่าเป็นสภาประชาชนแล้วนี่ที่จะต้องมีการร่างเป็นกฎหมายภาคประชาชนก็คงจะดี เป็นไงล่ะประเทศไทยในตอนนี้จะไม่ให้ปวงมหาประชาชนจัดการอะไรในประเทศนี้ได้อย่างไร ทุกเรื่องเลยล่ะจะบอกให้ เพราะว่าหน่วยงานราชการต่าง ๆ ผู้มีอำนาจไม่สร้างงานแต่อย่างใด มีแต่งบประมาณแต่ไม่มีงานงอกเงยมาเลยก็ว่าได้ หรือเขาอาจจะบอกว่าเพราะว่าเป็นแค่รักษาการณ์คงทำอะไรไม่ได้ แต่ก็อยากจะบอกว่าถึงแม้จะไม่รักษาการณ์ก็คงจะทำเฉย ๆ ก็นี่ไงประเทศไทย ไทยเฉย ผู้มีอำนาจเฉย ต่างชาติเขาก็เลยทับสิทธิ์เข้าให้ นี่อยากจะบอกว่าปัจจุบันอาจจะยกประเทศไทยไปให้ชาติใดไปแล้วกระมัง หากแต่มีเรื่องอะไรที่เป็นเรื่องมานั้น ประชาชนอาจจะต้องหัวใจวายไปก่อนแล้วนั้นได้ 
|
|
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
คนไทยจะถูกกลืนจนหมดกลายเป็นคนไทยหัวใจ..หมดครับ..หากเรามัวแต่ตีกันทะเลาะกันไม่มีวันจบ..ทุกฝ่ายเขารอเวลานั้นอยู่รอรุมกินโต๊ะกันแล้ว...
|
|
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
|
เป็ดยักษ์เมืองอุดรฯ ตัวแตก เจอพายุฤดูร้อนซัดขึ้นฝั่ง
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก Akphon Sriyota ,Tangmo Tangmay, นายฉัตรดนัย
เป็ดยักษ์สันติภาพ เมืองอุดรธานี เจอพายุฤดูร้อนซัดขึ้นฝั่ง แถมปลิวทับรถจักรยานยนต์ล้มระเนระนาดกว่า 30 คัน
เมื่อวานนี้ (19 มีนาคม 2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 17.20 น. ได้เกิดพายุฤดูร้อนพัดกระหน่ำเขตเทศบาลนครอุดรธานี โดยเฉพาะที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม ทั้งนี้ จากการตรวจสอบความเสียหายพบว่า เป็ดยักษ์สีเหลืองที่เทศบาลนครอุดรธานี ได้นำมาจัดแสดงลอยน้ำไว้ที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์ได้ปลิวขึ้นฝั่ง และระหว่างนั้น ประชาชนที่อยู่ในเหตุการณ์แจ้งว่า ขณะที่เป็ดยักษ์สีเหลืองลอยอยู่กลางอากาศจู่ ๆ ก็เกิดเสียงระเบิด และหลังจากนั้น เป็ดยักษ์สีเหลืองได้ปลิวมาปะทะกับรถจักรยานยนต์ของประชาชนที่มาจอดออกกำลังกายได้รับความเสียหายกว่า 30 คัน
อย่างไรก็ดี หลังเกิดเหตุ นายสหัส นุ่มวงษ์ รองปลัดเทศบาลนครอุดรธานี ได้เดินทางมาสำรวจความเสียหาย พร้อมนำเป็ดยักษ์สันติภาพและรถจักรยานยนต์ของประชาชน ที่ได้รับความเสียหายเคลื่อนย้ายไปเก็บรักษา ที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลนครอุดรธานี
|
|
|
|
![]() |
|
|
พูดปับก็มาเลยรวดเร็วจัง...
|
|
|
|
![]() |
|
|
ทฤษฏีสมคบคิด
|
q*061 สิงคโปร์ เขมร มาเลเซีย รายล้อมประเทศไทย ช่างน่าขันคนไทยมันโง่กว่าดินแดนที่สูญเสียไปนั้นได้ และยุทธศาสตร์ของชาติที่ครอบครองดินแดนเหล่านี้ไว้ มันก็ได้จุดประกายให้ความหวังแต่อ้ายพวกงั่งที่อยากจะเป็นประธานาธิบดีของประเทศไทย ก็นี่แหละคือปัญหาของคนในชาติไทยนี้ว่าจะรักษาชาติตัวเองเอาไว้ได้หรือไม่ q*061
|
|
|
|
![]() |
|
|
|
|
ยิ่งกว่านิยาย!
|
|
|
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|