เรื่องล่าสุดของหมวด
Netflix เพิ่มฟีเจอร์เสียงรอบทิศ (Spatial Audio) ฟรี เฉพาะสมาชิกระดับ Premium
[How To] วิธีบล็อก SMS อันตรายผ่านมือถือ Android ที่คุณทำได้ง่ายๆ
หลุด Sony Xperia 1 V เปลี่ยนดีไซน์กล้องใหม่ กับขุมพลัง Snapdragon 8 Gen 2
วุฒิสมาชิกสหรัฐฯ เรียกร้องให้ Apple และ Google แบน TikTok จาก App Store
เรื่องควรรู้ก่อนที่จะนำมือถือของคุณไปเข้าโครงการ “เก่า แลก ใหม่” ที่คุณต้องรู้ก่อนที่จะกดนัดวัน
เปรียบเทียบ Samsung Galaxy S23+ VS Samsung Galaxy S23 Ultra ค่าตัวห่างหมื่นนึงจบที่ใคร
พาชมสีพิเศษของ Samsung Galaxy S23 Series ที่จะวางจำหน่ายในประเทศไทย
[Hands On] ครั้งแรกกับ "Samsung Galaxy S23 Series" ดีไซน์สวย กล้อง 200 ล้านพิกเซล
รีวิว TCL 40 SE อีกตัวคุ้มงบไม่เกิน 6,000 บาท ได้ลำโพงคู่ หน้าจอชัด ชาร์จไฟเร็ว
รีวิว ROG Phone 6 Diablo Immortal Limited Edition เกมมิ่งสมาร์ตโฟนที่เอาใจสาวกเกมระดับตำนาน
รีวิว Nokia X10 5G มือถือจอใหญ่รักษ์โลกกับความสามารถเกินราคา
แกะกล่องรีวิว Kingston DataTraveler Mini Rabbit แฟลชไดร์ฟ น่ารักสุดลิมิเต็ต
7 แอปพลิเคชันเด็ด ตัวช่วยของมือใหม่สาย healthy ในยาม PM 2.5 มาแรง
"Amazfit GTR 4" สมาร์ตวอชท์ ทรงกลม หรูหรา ที่ทำอะไรก็ได้หมด
เทียบกันช็อตต่อช็อต "Samsung Galaxy S22 Ultra" vs "Galaxy S23 Ultra" ของใหม่ดีกว่าเก่าแค่ไหน?
ส่องโปรจอง "Samsung Galaxy S23 Series" ที่ไหนโปรดีสุด และคุ้มที่สุด
หน้า: 1
แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?
ข่าวเด็กประถมเล่นเกมคุ้กกื้รันผ่านสมาร์ทโฟนแล้วดันไปสั่งซื้อไอเท่มแบบมีราคากระทั่งพอมีบิลออกมาผู้ปกครองแทบสิ้นใจกับยอดบิลที่พุ่งไปหลายหมื่นบาทคงอยู่ในความสนใจของหลายๆ คนจนถึงวันนี้ แม้ว่าที่สุดแล้วทางค่ายมือถือจะมีการยกเลิกค่าใช้จ่ายในบิลเจ้าปัญหา แต่เชื่อว่าทำให้ใครต่อใครอีกหลายคนมีผวา เพราะไม่รู้ว่าจะเกิด Bill Shock กับตัวเองขึ้นมาวันไหน และจะโดนไปเท่าไหร่ หากไม่สามารถเจรจาระงับการจ่ายได้ เท่ากับว่าเราอาจต้องกระเป๋าฉีกเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์เลยทีเดียวขออธิบายให้เข้าใจอีกซักหน่อยว่า Bill Shock ก็คือการได้รับบิลค่าการใช้ระบบสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ การใช้อินเตอร์เน็ต หรือการซื้อแอพฯ บนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ซึ่งคนไทยน่าจะเริ่มคุ้นเคยบ้างแล้ว โดยเฉพาะคนสมัยนี้หันมาทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านมือถือมากขึ้น บางคนผูกบัญชีการเงินเข้ากับเบอร์โทรจนพ่วงไปถึงระบบร้านค้าด้วยความชะล่าใจว่า “เราใช้คนเดียว รู้คนเดียว เครื่องเรา” แต่ในความเป็นจริงนั้นส่วนมากมักไม่ใช่ครับ ดังนั้น เพื่อให้รู้เท่าทันและหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหา bill shock เราก็เลยมีวิธีป้องกันสำหรับผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนทั้ง iOS และแอนดรอยด์มาฝากกันครับสำหรับผู้ใช้แอนดรอยด์ที่ผูกเบอร์โทรผ่านบัญชี Play Store มีวิธีป้องกันดังนี้ คือ1. คลิกเข้าไอคอน Play Store ของอุปกรณ์ที่ใช้ Android2. หลังจากเข้า Play Store ให้แตะไอคอน Play Store ด้านบน เพื่อเปิดหน้าตั้งค่า ให้แตะเลือกคำสั่ง Settings3. เลือกหัวข้อ Require password for purchase4. คลิกเลือกหัวข้อ For all purchase through Google Play on this deviceส่วนผู้ใช้ iOS นั้นจะแตกต่างออกไปครับ ซึ่ง iOS ได้ปรับระบบนี้ใน Settings กับเวอร์ชั่น 7 ขึ้นไปด้วยเช่นกัน วิธีการมีดังนี้ครับ1. เข้าหน้า Settings2. คลิกเลือก General3. แตะเลือก Restrictions และเลือกให้ On หรือ Enable4. จากนั้นก็จะพบหน้าต่างให้ตั้ง รหัสผ่าน ให้ตั้งรหัสผ่าน 4 หลัก5. เลือก In-App Purchases และเลื่อนปุ่มมาทางซ้าย เพื่อปิด หรือ Offขณะที่ผู้ใช้เวอร์ชั่นต่ำกว่า 7 ลงไป ก็เข้าไปที่ settings เช่นกัน แล้วไปตั้งค่าในส่วน restrictions ตามภาพ ก็จะช่วยป้องกันบัญชีของเราในเบื้องต้น จากการเผลอทำธุรกรรม หรือเผลอกดสั่งซื้ออะไรในเกม ในร้านค้า โดยไม่ตั้งใจอย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันคือ “รหัสผ่าน” ครับ หลายคนสมัยนี้ละเลยเรื่องของรหัสผ่านจนนำมาซึ่งปัญหามากมายหลายต่อหลายครั้ง การตั้งค่าเครื่องให้เข้ารหัสตั้งแต่เปิดใช้งานจึงยังเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเสมอ บางครั้งอุปกรณ์ของเราก็อาจถูกหยิบยืมไปใช้จากคนรอบข้างบ้าง เพื่อนฝูงบ้าง แล้วผลสุดท้ายจับมือใครดมไม่ได้เราก็ต้องรับผิดชอบ bill shock ที่เกิดขึ้นเอง ไม่นับถึงการถูกโจรกรรมซึ่งอยู่เหนือการควบคุม แต่หากเราตั้งค่ารหัสผ่านอย่างรัดกุม ก็อาจจะช่วยผ่อนหนักให้กลายเป็นเบาได้ครับครั้งหน้า เราจะมาว่ากันถึงฟีเจอร์อัจฉริยะในซัมซุง Galaxy S5 ที่เขาคิดค้นขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้โจรกรรมมือถือเข้าสู่ระบบของเราและตัวเครื่องได้ แหม...น่าสนใจไม่เบา ใครที่ใส่ใจเรื่องความปลอดภัยบนมือถือ ห้ามพลาดนะครับบทความจาก asiashop
แจ้งเตือน
ภาพและเนื้อหาต่อไปนี้ ไม่เหมาะสมแก่เด็ก และเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี