บอลโลก ใกล้ลาโรง อีกไม่กี่วัน. แต่ปัญหา ถ่ายทอดไม่จบ. “ กสทช ช่วยด้วย ลูกค้า5ล้านคนอดดูบอล”. ดูแล้วเหมือนมีหวัง หรือ
กสทช. จะว่างัยกับเรื่อง ....จาจบสวยไหม? หรือปล่อยไปตามลม...
กสทช.ช่วยด้วย ลูกค้า 5 ล้านคน อดดูบอล!!!
นึกว่าการรับชมการถ่ายทอดสดการแข่งขัน
ฟุตบอลโลก 2018 ครั้งนี้จะไม่มีปัญหา
ประชาชนคนไทยโชคดี สามารถดูบอลได้สะดวกที่สุด นับตั้งแต่มีการถ่ายทอดสดมายังประเทศไทย ผ่านการถ่ายทอดผ่าน 3 สถานี
ทีวีดิจิตอล คือ ช่อง 5 ช่อง 24 ทรูฟอร์ยู และช่อง 34 อัมรินทร์ทีวี
ปรากฏว่า ณ วันนี้ ลูกค้าเอไอเอส เพลย์ แอพพลิเคชั่น ที่มีอยู่กว่า 5 ล้านคน ไม่สามารถดูผ่านแอพฯนี้ได้ ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายนเป็นต้นมา
เพราะทรูฯผู้ได้สิทธิการถ่ายทอดฟุตบอลโลก ไปฟ้องศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ได้มีคำสั่งให้เอไอเอสยุติการเผยแพร่รายการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก ผ่านแอพฯเอไอเอสเพลย์ ที่มีลูกค้าประมาณ 5 ล้านราย
ตอนนี้ดูได้เฉพาะลูกค้าดูผ่านกล่องเอไอเอส เพลย์ บ็อกซ์ ประมาณ 4 แสนราย เท่านั้น
ทำให้ลูกค้าจำนวนมากกำลังเดือดร้อน
เพราะการดูผ่านแอพฯ หลายคนชื่นชอบ
ภาพคมชัดกว่าดูผ่านเว็บไซต์
สะดวกว่าเพราะสามารถดูผ่าน
มือถือที่ไหนก็ได้ ในห้องน้ำ บนรถ หรือที่ไหนก็ได้ถ้ามีสัญญาณเน็ตดี
จะได้ไม่ต้องไปเสียเวลาโหลดแอพฯ อื่นๆ เพิ่มให้ยุ่งยาก เสียพื้นที่ในมือถือ
และอาจจะมีค่าใช้จ่ายในอนาคตหรือไม่ เมื่อต้องเข้าไปสู่ระบบของมือถือค่ายอื่นแล้ว
เรื่องนี้คงต้องฝากให้กสทช.ช่วยลงมาแก้ปัญหาให้ประชาชนโดยเร็ว ก่อนการแข่งขันบอลโลกจะจบลงในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้
เพราะกสทช.กำหนดให้เอกชนต้อง ทำตามกฎ มัสต์ แคร์รี่ (must carry)
คือ ประกาศกสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศนท์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป เพื่อป้องกันจอดำ
กำหนดให้รายการในฟรีทีวี ต้องสามารถดูได้ผ่านทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นภาคพื้นดินหรือระบบผ่านดาวเทียมหรือเคเบิลทีวี ไม่ว่าจะมีค่าสมาชิกหรือไม่ก็ตาม
และ กฎ มัสต์ แฮฟ (must have) คือ ประกาศกสทช. เรื่องหลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สําคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ ที่เป็นการทั่วไป พ.ศ.2555
กำหนดรายการทีวีที่สำคัญ ให้ออกอากาศได้เฉพาะฟรีทีวีเท่านั้น บริการทีวีระบบบอกรับสมาชิก เช่น ทรู หรือเคเบิลทีวีอื่นๆ ก็จะดูได้ผ่านทางช่องฟรีทีวีเช่นกัน
เกิดคำถามว่า ทำไมถึงต้องบล็อกไม่ให้ดูผ่านแอพฯ ของค่ายอื่น
เป็นการกระทบสิทธิขั้นของผู้บริโภคหรือไม่ ในเมื่อเรามีกฎต่างๆ อยู่แล้ว
และจะเป็นบรรทัดฐานต่อไปในอนาคต จะทำให้เกิดความยุ่งยากตามหรือไม่ คงต้องฝากกสทช.ช่วยเคลียร์ให้ มิฉะนั้นเราจะมีกฎต่างๆ ไว้ทำไม
Oสุรพล สุประดิษฐ์ ณ อยุธยาO