หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ผลวิจัยเผยทั่วโลกมองข้ามปัจจัยที่ทำให้เกิดผู้ก่อการร้าย  (อ่าน 16 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 28 พ.ย. 18, 09:38 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

โครงการป้องกันการก่อการร้ายหลายโครงการเผยให้เห็นว่า อิทธิพลจากคนใกล้ตัวอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยป้องกันการก่อการร้ายได้

บริษัท ออร์บ มีเดีย (Orb Media Inc.) เปิดเผยรายงานฉบับใหม่และผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่เผยให้เห็นว่า ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการก่อการร้ายมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และประชาชนยอมรับความรุนแรงต่อพลเรือนมากขึ้น ทว่าองค์ความรู้ในการป้องกันไม่ให้ผู้คนถูกดึงไปร่วมกลุ่มก่อการร้ายกลับมีอยู่อย่างจำกัด

ความพยายามในการต่อต้านการก่อการร้ายนับตั้งแต่ปี 2544 ทำให้สูญเงินไปนับล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่เรากลับแทบไม่รู้ว่าเพราะเหตุใดหลายคนถึงกลายเป็นผู้ก่อการร้าย ผลวิจัยใหม่แสดงให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ส่วนตัวและวงสังคมอาจเป็นปัจจัยหลักที่ดึงดูดให้ผู้คนเข้าร่วมกลุ่มก่อการร้าย และในทางตรงกันข้ามก็สามารถป้องกันไม่ให้ผู้คนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกลุ่มก่อการร้าย

เงินสนับสนุนและโครงการทำความเข้าใจ "เส้นทางสู่การก่อการร้าย" ค่อนข้างมีอยู่อย่างจำกัดและมีเฉพาะบางประเทศเท่านั้น ออร์บ มีเดีย ได้ทำการสำรวจโครงการในเยอรมนีและอินโดนีเซียเพื่อทำความเข้าใจว่ากลุ่มก่อการร้ายทำอะไรบ้าง

ข้อมูลจากกลุ่มความร่วมมือเพื่อศึกษาการก่อการร้ายและการตอบสนองต่อการก่อการร้าย (START) ของมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ทำให้ออร์บ มีเดีย สรุปได้ว่า ประชาชนทั่วโลกยอมรับความรุนแรงต่อพลเรือนมากขึ้น

นอกจากนี้ แม้ว่าจำนวนผู้ก่อการร้ายจะมีน้อยมาก แต่ผลกระทบทางการเมือง เศรษฐกิจ และจิตใจกลับใหญ่หลวง สัดส่วนประชากรโลกที่วิตกกังวลอย่างมากกับการก่อการร้ายยังคงอยู่ในระดับสูงนับตั้งแต่เหตุการณ์ 9/11 โดยอยู่ที่ราว 65-85% ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา

ออร์บ มีเดีย มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับสมาชิกในเครือข่าย ออร์บ มีเดีย เน็ตเวิร์ก (OMN) กลุ่มสื่อที่มีอิทธิพลในระดับโลกซึ่งร่วมกันเผยแพร่เรื่องราวที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการถกกันในประเด็นสำคัญๆ ที่ได้รับความสนใจจากภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม นักวิจัย ภาคประชาสังคม และประชาชนทั่วไป

สมาชิกกลุ่ม OMN ประกอบไปด้วย CBC (แคนาดา), Channels (ไนจีเรีย), Dhaka Tribune (บังกลาเทศ), Folha de Sao Paolo (บราซิล), SVT (สวีเดน), Tempo Media Group (อินโดนีเซีย), The Hindu (อินเดีย), Die Zeit (เยอรมนี), BBC (สหราชอาณาจักร), Cadena SER-Prisa (สเปน), YLE (ฟินแลนด์), El Comercio (เปรู), El Paiis (อุรุกวัย), Mail & Guardian (แอฟริกาใต้), El Tiempo (โคลอมเบีย), La Nacion (อาร์เจนตินา), eNCA (แอฟริกาใต้), South China Morning Post (จีน), Louisville Public Media (สหรัฐอเมริกา)

เกี่ยวกับ ออร์บ มีเดีย

ออร์บ มีเดีย เป็นองค์กรสื่อสารมวลชนไม่แสวงหาผลกำไร ที่รายงานข่าวสารในประเด็นที่มีความสำคัญต่อผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลก ออร์บ มีเดีย ผสานงานวิจัยต้นฉบับ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล รายงานข่าวภาคสนาม รวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อเผยแพร่ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่ทั่วโลกเผชิญร่วมกัน สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ orbmedia.org/fightingblind

สื่อมวลชนติดต่อ: Lara Kline, larak@orbmedia.org

โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/652865/Orb_Media_Logo.jpg



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม