มีนาคม 2561
นายอัครเดช ผู้ถือหุ้นสัดส่วน 20% ตัดสินใจกลับไปดูแลกิจการที่บ้าน ด้านนางสาวอภินรา จึงต้องการซื้อหุ้นเพิ่มอีก เพื่อตนเองจะได้มีกำลังใจในการทำงาน ซึ่งทางบริษัท ยูดริ้งค์ ไอไดรฟ์ จำกัด ได้มีข้อตกลงกับนางสาวอภินราว่า สามารถซื้อหุ้นอีก 10% และอีก 10% จะต้องเตรียมไว้เพื่อให้พนักงานของบริษัทในอนาคต หลังการระดมทุนเพื่อรักษาพนักงานที่มีความสามารถ และเป็นปัจจัยความสำเร็จของบริษัท ให้เติบโตไปพร้อมกับบริษัท
โดยข้อตกลง คือ นางสาวอภินรา จะเป็นผู้ถือหุ้นแทนพนักงานทั้งหมดก่อน บริษัทจึงได้ร่างสัญญาไว้และมีอีเมล์เป็นหลักฐานว่า นางสาวอภินรา รับทราบถึงหุ้น 10% นี้ และผู้ถือหุ้นทั้งหมดรับทราบและตกลงร่วมกัน แต่นางสาวอภินรา ยังไม่ยอมลงนาม โดยให้เหตุผลว่า ไม่รีบร้อยในเรื่องการเงินที่ตนเอาไปซื้อหุ้นให้พนักงาน อยากให้บริษัทนำเงินนี้ไปบริหารกิจการก่อน จึงไม่ยอมลงนามในเอกสาร
มกราคม 2562
ได้มีการประชุมหุ้นส่วนทั้งหมดในปัจจุบัน คือ
1.น.ส.สิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์ ถือหุ้น 40%
2.น.ส.อภินรา ศรีกาญจนา ถือหุ้น 20% และถือหุ้นแทนพนักงานอีก 10%
3.นายจิรายุ พิริยะเมธา ถือหุ้น 30%
ในเรื่องแผน ที่จะขยายกิจการผ่านการระดมทุน และจะนำเงินที่ได้จากนักลงทุนมาพัฒนาแปรรูปแบบของธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น และถึงเวลาต้องหาผู้บริหารมืออาชีพมาจัดระบบองค์กรให้เป็นสากลเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนของบริษัท
“ในขณะที่เริ่มหานักลงทุน มีนักลงทุนติดต่อเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยให้มูลค่าของบริษัทประมาณ 250 ล้านบาท แต่ดิฉันเชื่อว่า หลังจากทำการประเมินมูลค่าบริษัท น่าจะได้ถึง 300 ล้านบาท ดิฉันในฐานะ CEO ที่บริหารงานมาเกือบ 6 ปี ต้องเข้าไปพบนักลงทุน เพื่ออธิบายถึงธุรกิจและการเติบโต โดยจำเป็นต้องบินไปต่างประเทศบ่อยมาก ตามแผนการขยายไปในเอเชียภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้ตัดสินใจลาออก และดำเนินการคัดเลือก CEO มืออาชีพมาบริหารแทนตนเอง ตามที่ได้ตกลงกันไว้ โดยที่ดิฉันยังเป็นกรรมการบริหารผู้มีอำนาจลงนามและผู้ถือหุ้นใหญ่ 40% เหมือนเดิม
“แต่หลังจากลาออกได้ไม่นาน นางสาวอภินรา ก็ขอตนเองเข้ามาเป็นกรรมการ โดยอ้างว่า ดิฉันต้องบินไปพบนักลงทุนที่ต่างประเทศบ่อยครั้ง เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ ตนจะเข้ามาช่วยดำเนินการให้ ซึ่งที่ผ่านมา เป็นเพียงผู้ถือหุ้นเท่านั้น หลังจากได้เป็นกรรมการแล้ว ก็ไม่ได้หา CEO มืออาชีพมาบริหารแต่อย่างใด โดยแจ้งว่า ไม่ต้องหาแล้ว นางสาวอภินรา และนายจิรายุ มีความต้องการจะดำรงตำแหน่ง Co-CEO ร่วมกันเอง”
28 กุมภาพันธ์
นางสาวอภินรา และนายจิรายุ ได้ใช้อำนาจกรรมการ ลงนามสัญญากู้ยืมเงินจากนายจุลพยัพ ศรีกาญจนา ซึ่งเป็นบิดาของนางสาวอภินรา จำนวน 700,000 บาท พร้อมอัตราดอกเบี้ย 15% โดยอ้างว่ามีเหตุจำเป็นเพื่อนำมาหมุนในธุรกิจ โดยไม่มีการเรียกประชุมหรือการแจ้งให้ทราบแต่อย่างใด ซึ่งก่อนที่นางสาวอภินราจะเข้ามาเป็นกรรมการ บริษัทมีเงินหมุนเวียนมากกว่า 2 ล้านบาท
“ดิฉันไม่เห็นความจำเป็นของการกู้ยืมเงิน เพราะตลอดระยะเวลา 6 ปี บริษัท ยูดริ้งค์ ไอไดรฟ์ จำกัด ไม่เคยต้องกู้ยืมบุคคลภายนอกมาก่อน หากบริษัทขาดสภาพคล่อง หุ้นส่วนทุกคนก็จะนำเงินมาลงทุนเพิ่มตามสัดส่วนของตนเอง และหากต้องกู้ยืมเงินจริงๆ แล้ว ยังมีทางเลือกอื่นมากมาย”
6 มีนาคม 2562
ตั้งแต่นางสาวอภินรา ได้เสนอตนเข้ามาเป็นกรรมการและขึ้นเป็น CEO ได้ขอเสนอซื้อหุ้นของดิฉัน เพราะตนเองต้องการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่ดิฉันไม่สามารถรับข้อเสนอได้ จึงปฏิเสธข้อเสนอไป
26 มีนาคม 2562
นางสาวอภินรา และนายจิรายุ ได้เรียกประชุมกรรมการ 1/2562 เพื่อแจ้งย้อนหลังถึงหนังสือกู้ยืมเงิน 700,000 บาท ของบริษัท กับ นายจุลพยัพ ศรีกาญจนา เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 พร้อมนำเสนอ บริษัท เอเชียพลัส แอสซิสแต๊นท์ จำกัด ที่ต้องการซื้อเฉพาะทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัท โดยไม่ใช่การระดมทุนแบบ StartUp ตามที่ได้ตกลงกันไว้
“การประชุมครั้งนี้ ดิฉันได้แจ้งในที่ประชุมว่า ต้องการขอเอกสารงบการเงินต่างๆ บัญชีรายรับ-รายจ่ายของปี 2562 ซึ่งไม่เคยได้รับมาตลอด ตั้งแต่ที่ทั้งสองคนเข้ามาบริหารงาน”
24 เมษายน 2562
“นางสาวอภินรา และนายจิรายุ ได้เรียกประชุมผู้ถือหุ้น 1/2562 เพื่อชี้แจงและทำการรับรองงบปี 2561 ดิฉันจึงได้แจ้งในที่ประชุมว่า ต้องการขอเอกสารงบการเงินต่างๆ และการเข้าถึงรายรับ-รายจ่ายของปี 2562 ทั้งหมดที่ดิฉันได้เคยร้องขอไว้หลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่เคยได้รับเลย พร้อมทั้งดิฉันเสนอว่า มีบริษัทสนใจซื้อทรัพย์สินของบริษัทเป็นเงิน 20 ล้าน โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ เช่นเดียวกันกับบริษัท เอเชียพลัส แอสซิสแต๊นท์ จำกัด และไม่ต้องการนำทีมบริหาร คือ อภินรา จิรายุ รวมทั้งตัวดิฉัน แต่นางสาวอภินรา และนายจิรายุ ไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าว โดยแจ้งว่า ถ้าต้องซื้อทรัพย์สินของบริษัท จะต้องนำตนทั้งสองคนไปบริหารต่อด้วย โดยไม่ได้สนใจดิฉันเลย”
7 พฤษภาคม 2562
นางสาวอภินรา และนายจิรายุ ได้ส่งหนังสือเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น 1/2562 โดยวาระที่ 4 ของการประชุม นางสาวอภินรา ได้นำเสนอข้อเสนอของบริษัท เอเชียพลัส แอสซิสแต๊นท์ จำกัด อีกครั้ง ที่มีการแก้ไขรายละเอียดบางข้อ และได้นำเสนอให้ทำการโหวตมติที่ประชุมทันที เนื่องจากต้องให้คำบอกกล่าวผู้ซื้อเป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนเวลา 17.00 น. มิเช่นนั้น ข้อเสนอจะถือเป็นโมฆะ
“โดยที่ดิฉันไม่เคยเห็นข้อเสนอฉบับล่าสุดมาก่อนเข้าที่ประชุม ทั้งๆ ที่เป็นเอกสารสำคัญในการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น โดยนางสาวอภินราอ้างว่า ต้องการแก้ไขสถานะทางการเงินของบริษัทอย่างเร่งด่วน โดยนางสาวอภินรา และนายจิรายุ เห็นด้วยกับการขายทรัพย์สินของบริษัท แต่ดิฉันได้คัดค้านการซื้อขายนั้นในที่ประชุม และพยายามจะนำเสนอข้อเสนอใหม่ ว่ามีบริษัทอื่นที่ต้องการซื้อทรัพย์สินของบริษัทในราคา 25 ล้านบาท แต่ก็ไม่มีผู้ใดสนใจ ”
“การประชุมเริ่มเวลา 14.30 น.และเสร็จสิ้นเวลา 16.40 น. ต่อมาเวลา 17.07 น. นางสาวอภินราได้ส่งอีเมล์มาให้ดิฉัน โดยแนบเช็คที่สแกนว่า เอเชียพลัส แอสซิสแต๊นท์ จำกัด สั่งจ่ายเงินจำนวน 3 ล้านบาท ให้บริษัท ยูดริ้งค์ ไอไดรฟ์ จำกัด ซึ่งออกโดยธนาคารธนชาติ สาขาราชดำริ ซึ่งทางธนาคารสาขานี้ได้ปิดทำการเวลา 15.30 น. ซึ่งเชื่อว่า เช็คฉบับนี้ได้ถูกจัดเตรียมไว้ ก่อนที่ประชุมจะมีมติในการซื้อขายเลยหรือไม่?”
14 พฤษภาคม 2562
“ดิฉัน (นางสาวสิรโสมย์) ได้ส่งจดหมายไปยังบริษัท เพื่อขอให้กรรมการอีก 2 ท่าน คือ นางสาวอภินรา และนายจิรายุ เรียกประชุมผู้ถือหุ้นโดยด่วนที่สุด เพื่อนำข้อเสนอจากผู้ซื้อหุ้นในราคา 25 ล้านอีกครั้ง”