หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ความสำคัญของนักการเงิน และ Model Cash flow  (อ่าน 7 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 6 ม.ค. 20, 13:22 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 


ธรรมชาติของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็น ธุรกิจประเภท Project Base คือ ทำงานเป็นโครงการๆ ไป โดยมุ่งหวังกำไรสูงสุด และ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคสูงสุด ในทุกโครงการ
 
ดังนั้นการวางแผนทางการเงิน (Set Up Financial Model) และ การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน (Cash flow Feasibility Study) จึงสำคัญมาก
หลักสูตร ศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินโครงการอสังหาฯ Cash Flow (RE121)

ศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินโครงการอสังหาฯ Cash Flow

เพราะต้องการกำไรทั้งระยะสั้นและยาว เมื่อเจ้าของโครงการ เห็นที่ดินแปลงหนึ่ง และ คิดทำโครงการ การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินก็เริ่ม นักการเงินมีหน้าที่ รวบรวมข้อมูลทั้งหมด ทั้งจากฝ่ายจัดซื้อ ออกแบบ ก่อสร้าง (จำนวนทุน, สินเชื่อ, ต้นทุนที่ดิน, ต้นทุนก่อสร้าง, Specificationวัสดุ, Positioning สินค้า,จำนวนที่ทำได้) ทั้งจากฝ่ายขายและการตลาด (Market Research, Unit Size, Unit Price, Target Group, Market Plan, Sell Plan) และ นำมาวิเคราะห์ว่า โครงการนี้หากลงมือทำแล้ว จะมีผลตอบแทนทางการเงินคุ้มค่าแก่การลงทุนหรือไม่ และ วิเคราะห์ต่อไปอีกว่า ระหว่างดำเนินโครงการจะมีความอ่อนไหวกับปัจจัยที่มามีผลกระทบอย่างไรบ้าง  (Sensitivity Analysis) โดยเอาข้อมูลต่างๆมา Run Cash flow และ เลือกใช้ หรือ หา Ratio การเงินเพื่อประกอบการตัดสินใจ เช่น ค่า PB, DPB, NPV, Cash flow, Discounted Cash flow, IRR, WACC, BP, D/E, ROE, ROI, PI, EBIT, EBITDA เป็นต้น โดยเบื้องต้น Ratio ต่างๆมีความหมายและคำนวณได้ดังนี้

PB- Payback period คือ ระยะเวลาคืนทุน = จำนวนปีก่อนจะคุ้มทุน + (ต้นทุนคงเหลือปีนั้น/มูลค่า Cash flow ปีที่คุ้มทุน) หรือ DPB: Discount Payback period: วิธีระยะเวลาคืนทุนแบบคิดลด จะพิจารณาค่าของเงินที่แตกต่างตามเวลาด้วย
NPV-Net Present Value มูลค่าปัจจุบันของ Cash flow = CFปี1+ (CFปี1/ ((1+r)^1))+ (CFปี2/ ((1+r)^2))+ (CFปีn/ ((1+r)^n)) โดยที่ R คือ Return อัตราผลตอบแทน และ NPV >0 คือ มูลค่าปัจจุบันมากกว่าทุน NPV < 0 คือ น้อยกว่าทุน และ NPV=0 คือ มูลค่าเท่าทุน
IRR- Internal Rate of Return ประมาณการผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี ของโครงการ IRR=WACC คือ เท่าทุน IRR>WACC คือกำไร น่าลงทุน และ IRR < WACC คือ ขาดทุนไม่ควรลงทุน
WACC-Weighted Cost of Capital ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของเงินทุน
BP Break-even Point จุดที่รายรับจากการขาย= รายจ่ายดำเนินงาน   เป็นตัวบอกความเสี่ยงการลงทุนจากยอดขาย
D/E Ratio หรือ Dept / Equity Ratio อัตราส่วน หนี้สินต่อทุน โดยที่ D/E≥2 ความเสี่ยงสูง, D/E≤1 ยิ่งดี
ROE Return On Equity อัตราผลตอบแทนต่อส่วนทุน = Net Profit/Equity
ROI Return On Investment อัตราผลตอบแทนต่อการลงทุน =Net Profit/ (Equity+Loan)
PI Profitability Index ดัชนีกำไร= รวมDiscounted Cash flow ตามจำนวนปี/Equity *PI ควรมากกว่า 1 เสมอ
EBIT (Earnings Before Interest and Taxes) คือ กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี หรือมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า กำไรจากการดำเนินงาน (Operating Income) = Gross Profit-ต้นทุนขายและบริหาร
EBITDA (Earnings Before Interest Tax Depreciation and Amortization) กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย= Gross Profit-ต้นทุนขายและบริหาร-ค่าเสื่อมราคา-ค่าใช้จ่ายตัดจำหน่าย
 
รวมถึงฉายภาพ สถานการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้น (Scenario)  และ แผน Exit Way ของโครงการและบริษัท ทั้งหมดนี้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร ที่กล่าวมาเป็นเบื้องต้นที่นักการเงิน และ ผู้บริหารโครงการต้องทราบ
 
แต่ชีวิตจริงยังมีผู้ประกอบการ และ นักการเงินหลายรายพลาดเอาที่ดินมาทำโครงการ Run Financial Feasibility โดยไม่ได้คำนวณต้นทุนที่ดินด้วยซ้ำ ขาดทุนตั้งแต่คิด Project บางรายทำแล้วกำไร แท้จริง ขาดทุนกำไรไปกว่าครึ่ง บางรายไม่เข้าใจธรรมชาติของธุรกิจว่าควรมี Cash flow ไหลเข้าออกอย่างไร ก็ทำให้หมุนเงิน หรือ ตัดสินใจทำสิ่งต่างๆผิดพลาดเสมอ ควรกำไรก็ขาดทุนซ้ำแล้วซ้ำเล่า และยังมีอีกไม่น้อยที่ไม่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน รู้ตัวอีกที ก็ประสพความล้มเหลวทางการเงินแล้ว โชคดีหน่อยก็รอดแต่โดยโมเดลแล้วไปต่อลำบากครับ

Cr. ปราชญ์ อสังหาฯ
หลักสูตร ศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินโครงการอสังหาฯ Cash Flow (RE121)

[Tag] : นิติบุคคล , บ้านจัดสรร , อาคารชุด , การเงิน , การเงินอสังหา , ความเป็นได้ของ โครงการ , พัฒนาโครงการ , ความเป็นไปได้ทางการเงิน , Project Feasibility Study , Cash Flow
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  นิติบุคคล   บ้านจัดสรร  อาคารชุด  การเงิน  การเงินอสังหา   ความเป็นได้ของโครง 

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม