อาการ
ปวดท้องน้อย เป็นอาการที่ผู้หญิงหลายคนมักจะมองข้ามอยู่บ่อยครั้ง เพราะคิดว่าเป็นอาการปวดท้องทั่ว ๆ ไป คล้ายกับการปวดประจำเดือนที่ไม่นานก็หาย การ
ปวดท้องน้อย สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ มีทั้งแบบเรื้อรัง และทันทีทันใด ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ต่างกัน โดยจะมีอาการที่แสดงออกมาดังต่อไปนี้
ความแตกต่างของอาการ
ปวดท้องน้อย แบบเรื้อรังและทันทีทันใด
•การ
ปวดท้องน้อย เรื้อรัง (Chronic pelvic pain) โดยส่วนใหญ่จะเริ่มจากปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ กระทั่งปวดตลอดเวลา หรืออาจจะปวดหน่วง ๆ เป็นช่วง ๆ ไม่สม่ำเสมอ บางรายปวดร่วมกับการมีประจำเดือน ตามหลักเมื่อสตรีมีประจำเดือนไม่ควรจะปวด หรือปวดเพียงเล็กน้อยพอรู้สึก ถ้าปวดมากมักจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นจากโรคอื่น ๆ เช่น เนื้องอกมดลูก (ถ้าก้อนโตมาก ๆ อาจคลำได้ก้อนที่บริเวณท้องน้อย หรือมีอาการท้องโตคล้ายคนท้อง) ซีสต์ที่รังไข่ และ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่ อาการปวดมักจะเป็นต่อเนื่องกันมากกว่า 3-6 เดือน มีอาการเลือดออกกะปริบกะปรอย หรือมีประจำเดือนออกมาก หรือนานผิดปกติ บางรายอาจมีอาการปวดขณะถ่ายปัสสาวะ หรือร่วมเพศ และอาจคลำเจอก้อนเนื้อที่ท้องน้อย
•
ปวดท้องน้อย เฉียบพลัน (Acute pelvic pain) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อยเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด และมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นลม สาเหตุจากการขาดเลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะในช่องท้องที่เป็นสาเหตุ หรืออาจเกิดจากอวัยวะที่เป็นสาเหตุได้รับความเสียหาย และมักเกิดจากสาเหตุเพียงอย่างเดียว ที่พบได้บ่อย ๆ เช่นการอักเสบต่าง ๆ ได้แก่ มดลูกอักเสบ ปีกมดลูกอักเสบ ลำไส้อักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบหากเกี่ยวข้องกับมดลูกอักเสบ โดยทั่วไปสังเกตได้จากการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ อาจมีอาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย มีอาการปวดหลังร่วมด้วย
แหละถ้าใครไม่อยากจะมีอาการ
ปวดท้องน้อย ก็สามารถปกป้องและป้องกันตัวเองได้จากการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และรู้จักผ่อนคลายความเครียดเพื่อให้ประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งในขณะมีประจำเดือนควรทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เพื่อไม่ให้ลำไส้เกิดการบีบรัดเกินไป เพราะมันสามารถช่วยให้อาการ
ปวดท้องน้อย ทุเลาลงได้นั้นเองค่ะ