หน้า :
กระทู้: สัญญาณเตือนโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เริ่มกระทู้โดย: kob_2015 ที่ 18 พ.ย. 21, 16:27 น (https://sv1.picz.in.th/images/2021/10/12/uhYDcl.jpg) หลายๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า อัมพฤกษ์ อัมพาต (https://www.nakornthon.com/article/detail/tms-เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า-ช่วยฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต)กันเป็นประจำ แต่เชื่อว่ายังมีอีกหลายๆ คนที่อาจจะยังไม่รู้ว่าทั้ง 2 โรคนี้เหมือนหรือต่างกันยังไงบ้าง และเราจะมีวิธีป้องกันหรือรับมือกับโรคนี้ได้ยังไงบ้างวันนี้เราจะพาเพื่อนๆ ไปทำความเข้าใจกับโรคนี้กันครับ ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่า อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคที่ค่อนข้างน่ากลัวในกลุ่มของผู้สูงอายุ เพราะวัยนี้เป็นวัยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคทางสมองมากกว่าวัยอื่น หากเป็นแล้วจะทำให้เกิดอาการแขนขาอ่อนแรง ขยับตัวไม่ได้ เสี่ยงต่อการเป็นผู้ป่วยติดเตียง และยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ แต่ถึงแม้ว่าโรคนี้จะเป็นโรคที่ดูน่ากลัวแต่เราสามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ จะป้องกันและช่วยลดความเสี่ยงของโอกาสการเกิดโรคนี้ได้ยังไงมาดูกันครับ ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือ cerebrovascular accident (CVA) เป็นอาการของโรคหลอดเลือดในสมอง หรือ Stroke เกิดจากการที่เซลล์สมองขาดเลือด โดยมีสาเหตุจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน (ischemic stroke หรือ thrombosis) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมากถึง 80% และอีก 20 % คือสาเหตุจากการมีเลือดออกในสมอง (bleeding หรือ haemorrhage) ความแตกต่างของทั้ง 2 โรคนี้คือ โรคอัมพฤกษ์ คือ ภาวะที่แขน หรือขาอ่อนแรง แต่ยังพอใช้งานได้ เกิดความรู้สึกชาตามอวัยวะต่างๆ เป็นบางครั้ง ส่วนโรคอัมพาต คือ ภาวะที่แขน หรือขาไม่มีแรง ใช้งานไม่ได้ กล่าวคืออัมพฤกษ์จะยังสามารถขยับร่างกายได้ แต่อัมพาต ไม่สามารถขยับได้เลย การป้องกันโรค อัมพฤกษ์ อัมพาต - งดการดื่มสุรา และสูบบุหรี่ - หมั่นออกกำลังกายเพื่อรักษาน้ำหนักให้ตรงตามเกณฑ์เสมอ - หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ควรควบคุมให้น้ำตาลในเลือด และความดันโลหิตเป็นปกติ - รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และลดอาหารที่มีรสเค็ม หรือหวานจัด - หมั่นตรวจสุขภาพ และพบแพทย์เป็นประจำเพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ สัญญาณเตือนโรค อัมพฤกษ์ อัมพาต - มีอาการชา หรือแขนขาอ่อนแรง - ตามัว หรือมองไม่เห็น - พูดไม่เข้าใจ หรือพูดไม่รู้เรื่อง - ปวดศีรษะอย่างรุนแรง **หากมีอาการดังกล่าวควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที |